www.weipinxgt.com www.hdf598.com www.rzkfqcg.com www.ywd100.com www.gzunitrade.com www.5aziyuan.com www.alsclean.com www.ynzsgc.com www.sdldtg.com www.i-sarima.com www.aijianbing.com www.xushiweigou.com www.haoyulongsp.com www.binqimotor.com www.kenminamipainting.com www.erli30.com www.cdhg88.com www.horse-home.com www.myjxzp.com www.dgselling.com www.chenlongjiancai.com www.zhongkuanwuliu.com www.huameide-sz.com www.shouxitongban.com www.scgcjx0207.com www.qdshengqian.com www.3w800.com www.kl-ad.com www.imshenghuo.com www.xxanlhw.com www.hfkaibo.com www.wlwservice.com www.jxguanghua.com www.zkld2009.com www.duanem.com www.hzwjzs.com www.chdlav.com www.lyxszl.com www.xinlaihuijiaju.com www.hrwholecare.com www.yingyang168.com www.honeywell-lk.com www.yushusanjiangyuanbao.com www.kangningyiyuan.com www.xzkjsxx.com www.jztushuguan.com www.gksswh.com www.jakjxx.com www.yyxlzw.com www.dwdzxx.com www.shszjzx.com www.skf-nsk-fag-ntn.com www.shanghailvhua.com www.yomandoors.com www.wenchengvote.com www.cn-sportsprotectors.com www.fuyixuantc.com www.jiayongdiant.com www.reshousuoj.com www.wuxitianzhile.com www.lsallx.com www.ravor-system.com www.jhbrq.com www.mirrvoll.com www.likekiwi.com www.hbclzqcj.com www.cqqfbxgm.com www.nmgdwjlw.com www.zmdjtzfw.com www.xunchengchaju.com www.gssx-pxgl.com www.sha-jing.com www.zysjmbj.com www.131701.com www.tlyhyy.com www.hbfbfz.com www.hljpadm.com www.fenxiangzhuan005.com www.jv001.com www.ruiyucnc.com www.zhuochenglaser.com www.zhaoshudeng.com www.facebook-france.com www.yuxianchu.com www.139yes.com www.lazonaentertainment.com www.eastofedens.com www.latelier-gourmet.com www.kaisyomaru.com www.tenglonghb.com www.bdsmfreevids.com www.gzshbzw.com www.ymgb0991.com www.setonohanayome.com www.attachmentmoms.com www.njmzyjg.com www.hi4r.com www.exotic-nails.com www.ef25.com www.lslcxx.com
ข่าวประชาสัมพันธ์
วันปิยะ!'มจร'นิมนต์'พระเขมร-มอญ'สวดมนต์ถวาย
22 ต.ค. 56 | ข่าวมหาวิทยาลัย
220
ข่าวมหาวิทยาลัย
วันปิยะ!'มจร'นิมนต์'พระเขมร-มอญ'สวดมนต์ถวาย
วันที่ ๒๒/๑๐/๒๐๑๓ เข้าชม : ๓๙๙๘ ครั้ง

วันปิยะ!'มจร'จัดเทศน์มหาชาติ 'พระเขมร-มอญ'สวดมนต์ถวาย : เชน นคร กรรมการศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยรายงาน

              วันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกปี พสกนิกร ชาวสยามจะพากันไปถวายบังคมสมเด็จพระปิยมหาราชพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว กันเนืองแน่น ทั้งหน่วยงานราชการ และเอกชน แม้ชาวมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  โดย สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียม ที่นายกสมาคมทุกคนต้องเดินทางไปถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้าที่หน้าพระลาน หน้าพระราชวังดุสิตทุกปีมิได้ขาด

              เหตุที่ประชาชนพากันไปถวายบังคมกันมากมายนั้น ก็เพราะมีความรู้สึกนึกถึงพระเดชพระคุณของพระพุทธเจ้าหลวงที่มีมาแต่อดีต โดยที่พระองค์ได้พัฒนาสยามประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาพสกนิกรของพระองค์เองและนานาอารยประเทศ จนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก้ ได้ประกาศยกย่องให้รัชกาลที่ ๕ เป็นบุคคลสำคัญของโลก มีผลงานดีเด่น ใน ๖ สาขาด้วยกัน คือ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา การพัฒนาสังคม และการสื่อสาร แม้พระนามว่า พระปิยมหาราชนั้น

              ก็เกิดแต่การที่พสกนิกรพร้อมใจกันถวาย โดยได้จารึกไว้ที่ฐานพระบรมรูปทรงม้า พระนามพิเศษนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงแสดงพระปาฐกถาที่สถานีวิทยุพญาไท ค่ำวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๕ ความว่า “ พระนามพิเศษนั้นอนุโลมตามประเพณีโบราณ อันถือว่าเป็นพระเกียรติยศสูงสุดซึ่งพสกนิกรจะพึงถวายได้ มีตัวอย่างปรากฏมาตั้งแต่พุทธศักราชได้สามร้อยเศษ คือพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ทรงยกย่องพระพุทธศาสนาให้เป็นศาสนาสำหรับประเทศอินเดีย พระองค์ทรงรับพระนามพิเศษว่าปิยะทัสสี ซึ่งแปลว่า อันเป็นที่รักของเทพยดา ในสมัยเดียวกันนั้น พระเจ้าดิส ครองอนุราธบุรีในลังกาทวีป ผู้ทรงรับพระพุทธศาสนาเป็นปฐม ก็ได้รับพระนามพิเศษว่า เทวานัมปิยะดิส ซึ่งแปลความเช่นเดียวกัน

              แม้ในพงศาวดารสยาม เคยมีประเพณีถวายพระนามพิเศษเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมาแต่ก่อน เช่นในสมัยเมื่อยังถือกันว่า ช้างเผือกเป็นนิมิตเครื่องมหาของพระเจ้าราชาธิราช พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดได้ช้างเผือกมาสู่พระบารมีศรีนคร ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินก็ยินดีถวายพระนามพิเศษว่า พระเจ้าช้างเผือก ดังเช่นถวายแด่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิกรุงศรีอยุธยาเป็นต้น เมื่อถวายพระบรมรูปทรงม้า ครั้งนั้นปรึกษากันว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระเดชพระคุณแก่ประเทศสยามถึงชั้นพระมหากษัตริย์ ซึ่งยอกย่องที่พงศาวดารว่าเป็นพระเจ้ามหาราชของประเทศ และการที่พสกนิกรพร้อมใจกันเฉลิมพระเกียรติ ด้วยความรักเห็นปานนั้นก็ไม่เคยมีมาในปางก่อน สมควรจะถวายพระนามพิเศษ จึงพร้อมกัน ถวายพระนาม “ปิยมหาราช” เป็นพระนามพิเศษ พระบรมรูปทรงม้ากับพระนามปิยมหาราชจึงเป็นอนุสรณ์สำคัญ ซึ่งเตือนใจให้ระลึกถึงพระเดชพระคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว และที่ชาวพระนครพากันถวายสักการบูชาทุกปีมิได้ขาด”

              หากจะว่าไปแล้ว ปัจจุบันมีพสกนิกรจำนวนมากไปถวายการสักการะทุกวันอังคาร อันเป็นวันที่ทรงพระราชสมภพ และสักการะด้วยดอกกุหลาบสีชมพู ซึ่งเป็นสีประจำวันอังคาร ทั้งนี้มิไยต้องกล่าวถึงเคหสถานบ้านช่อง ที่ตั้งพระรูปไว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลเกือบทุกหลัง

              พระราชกรณียกิจทางฝ่ายบ้านเมืองนั้น มีผู้เขียนไว้มากมาย แต่ในที่นี้ประสงค์จะพรรณนาก็แต่ด้านการพระศาสนา ซึ่งเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงเซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ (ผู้แต่งหนังสือพุทธประวัติ ประทีปแห่งเอเชีย) ความว่า “พระราชบิดาของฉัน ได้ทรงสละเวลาเป็นส่วนใหญ่ ในการศึกษาและคุ้มครองศาสนาของชาติ ส่วนฉันได้ขึ้นครองราชย์ในขณะอายุยังน้อย จึงไม่มีเวลาที่จะไปศึกษาอย่างพ่อ ฉันเองมีความสนใจในการศึกษาหนังสือหลักธรรมต่างๆ สนใจที่คุ้มครองศาสนาของเราและต้องการให้มหาชนทั่วไปมีความเข้าใจถูกต้อง ดูเหมือนว่า ถ้าชาวยุโรปเชื่อในคำสอนของคณะมิชชันนารีว่า ศาสนาของเราโง่งมงายและชั่วทราม คนทั้งหลายก็จะต้องถือว่าพวกเราเป็นคนโง่งมงายและชั่วทรามไปด้วย ฉันจึงรู้สึกขอบคุณบรรดาบุคคล เช่น ท่านเป็นตัวอย่าง ที่สอนชาวยุโรปให้ความคารวะแก่ศาสนาของเรา”

              ด้วยพระราชปณิธานนี้ สมเด็จพระปิยมหาราชจึงได้ทรงทุ่มเทการพระศาสนาคู่กับการพัฒนาประเทศชาติบ้าน เมืองให้เจริญรุ่งเรืองควบคู่กันไป ดังเห็นได้จากการสถาปนามหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ มหามกุฏราชวิทยาลัย ดังความปรากฏ ในประกาศพระราชปรารภ ในการก่อพระฤกษ์สังฆเสนาสน์ราชวิทยาลัยเมื่อพ.ศ.๒๔๓๙ ตอนหนึ่ง จึงขออัญเชิญมาว่า...ทรงพระราชดำริห์ว่า จำเดิมแต่ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ บรมราชาภิเษกแล้วมา ได้ทรงทนุบำรุงพระบรมพุทธสาสนา ให้ถาวรรุ่งเรืองเจริญขึ้นโดยลำดับ แต่พระสัทธรรมในพระบรมพุทธสาสนานี้ ย่อมมีเหตุปัจจัยอาศรัยกันแลกัน เมื่อพระปริยัติสัทธรรมเจริญแพร่หลายอยู่ พระปฏิบัติสัทธรรมจึ่งจะเจริญไพบูลอยู่ เมื่อพระปฏิบัติสัทธรรมไพบูลอยู่ พระปฏิเวธสัทธรรม จึ่งจะสมบูรณได้ พระปริยัติสัทธรรมย่อมเปนรากเหง้าเค้ามูลแห่งพระสาสนาๆจะดำรงแลเจริญขึ้น ก็ด้วยพระปริยัติสัทธรรม การที่จะบำรุงพระปริยัติสัทธรรม อันเปนรากเหง้าของพระพุทธสาสนา ให้ไพศาลบริบูรณยิ่งขึ้น ก็ย่อมอาศรัยการบำรุงให้มีแก่ผู้เล่าเรียน แลที่เล่าเรียนให้สดวกยิ่งขึ้น การเล่าเรียนพระปริยัติสัทธรรม ที่เปนไปอยู่ในเวลานั้น ก็ได้โปรดเกล้าฯให้จัดการบำรุงทั่วไปทุกพระอาราม แต่ยังหาเปนอันนับว่าบริบูรณแท้ไม่ เพราะเปนแต่สถานที่เล่าเรียนในชั้นต้น จึ่งพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งวิทยาลัยที่เล่าเรียนพระไตรปิฎกแลวิชาชั้นสูง ขึ้น ๒ สถานๆหนึ่ง เปนที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ได้ตั้งไว้ที่วัดบวรนิเวศวรวิหาร พระอารามหลวง พระราชทานนามว่ามหามกุฏราชวิทยาลัยเปนที่เฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระบรมชนกนารถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกสถานที่หนึ่งเปนที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ได้ตั้งไว้ที่วัดมหาธาตุราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงนี้ มีนามว่า มหาธาตุวิทยาลัย.....”

              ต่อมาภายหลัง พระราชทานนามใหม่เป็น “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เพื่อให้เป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศสืบไป เอาเฉพาะรูป ตัวหนังสือพิมพ์ใหม่ เมื่อทรงสถาปนามหาวิทยาลัยสงฆ์ ทั้งสองแห่งสำเร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า การปกครองคณะสงฆ์ในขณะนั้น ยังไม่เป็นระบบ ไม่เป็นไปตามหลักของการบริหาร พระองค์จึงทรงดำเนินการปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์เสียใหม่ ด้วยการตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๔๕ เรียกว่า พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑

              พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ศ.,ดร.,ป.ธ.๙) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรรมการมหาเถรสมาคม ระบุว่า “ พระราชบัญญัติฉบับนี้มีลักษณะเป็นธรรมนูญการปกครองคณะสงฆ์ที่กำหนดโครงสร้าง การบริหารกิจการคณะสงฆ์อย่างเป็นระบบ โดยกำหนดให้มีมหาเถรสมาคมขึ้นเป็นครั้งแรกในคณะสงฆ์ไทย มหาเถรสมาคมประกอบด้วยพระมหาเถระ ๘ รูป ทำหน้าที่เป็นองค์คณะที่ปรึกษาด้านการพระศาสนาแด่พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๕ ทรงมอบอำนาจบริหารให้แก่มหาเถรสมาคมในอันที่จะปกครองสังฆมณฑลทั่วราช อาณาจักร คำตัดสินของมหาเถรสมาคมนั้นให้ถือเป็นสิทธิขาด ส่วนการปกครองคณะสงฆ์ในหัวเมืองได้จัดอนุโลมตามวิธีปกครองพระราชอาณาจักร คือ มีเจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวง และเจ้าอาวาส ปกครองบังคับบัญชาในมณฑล เมือง แขวง และวัด ให้มีสายบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อกันโดยลำดับเหมือนระบบราชการ ทำให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันคือเกิดเอกภาพทางการบริหาร ซึ่งสอดคล้องกับระบบราชการของฝ่ายราชอาณาจักรในสมัยนั้น”

              อาจารย์แสวง อุดมศรี อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิชา การปกครองคณะสงฆ์ไทย ได้แสดงทัศนะไว้ว่า “การตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑(พ.ศ.๒๔๔๕) ออกมาประกาศใช้ ถือว่าได้ดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ทรงมีพระราชปรารภไว้อย่างชัดเจนว่า ถ้าการปกครองสังฆมณฑลเป็นไปตามแผนการปกครองอันเรียบร้อย พระศาสนาก็จะรุ่งเรืองถาวร และจะชักนำประชาชนทั้งหลายให้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสโนวาท ประพฤติสัมมาปฏิบัติและร่ำเรียนวิชาคุณในสังฆสำนักยิ่งขึ้นเป็นอันมาก ทั้งนี้ เพราะการปกครองในฝ่ายอาณาจักรนั้นได้รับการปรับปรุงพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไป ก่อนหน้านี้แล้วหลายสิ่งหลายประการจนปรากฏผลเป็นที่ประจักษ์กันโดยทั่วไป”

              นอกจากงานหลักของพระศาสนาทั้งสองงานที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวได้ทรงทุ่งเทพระกำลังกาย กำลังใจ และพระปัญญาในการฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการแล้ว พระองค์ยังได้ทรงชักชวนให้พระองค์เจ้ามนุษยนาคมาณพอุปสมบท เอาเฉพาะรูป และคำอธิบายด้านล่าง เอาเฉพาะรูป พระองค์เจ้ามนุษยนาคมาณพ พระองค์นี้ เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้เจริญในพระพุทธศาสนา ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้ก่อตั้งการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม ผู้ทรงนิพนธ์หนังสือนวโกวาท ซึ่งยังคงใช้เป็นหนังสือเรียนสำหรับผู้บวชใหม่ตราบจนปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปิยมหาราช ทรงครองราชย์ได้ ๒๕ ปี ซึ่งเรียกว่าปีรัชฎาภิเษก ทรงให้ปริวรรตพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรขอมในใบลานมาเป็นพระไตรปิฎกบาลีอักษร ไทยแล้วจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มหนังสือเป็นครั้งแรกในโลก จัดพิมพ์ทั้งหมด ๓๙ เล่มส่งไปยังห้องสมุดต่างประเทศทั้งหมด ๒๖๐ แห่ง พระเดชพระคุณของสมเด็จพระปิยมหาราช ในด้านการพระศาสนาที่ได้พรรณนามานี้ ยังมีอีกมากมาย หลายประการ จนไม่อาจสาธยายให้ครบถ้วนกระบวนความได้ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ๒๓ ตุลาคม เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่ง ควรที่พสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จะได้ร่วมใจกันน้อมรำลึกนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปิยมหาราช ตามคตินิยมที่พระพรหมบัณฑิต(ประยูร ธมฺมจิตฺโต ศ.,ดร.,ป.ธ.๙) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ให้ไว้ว่า “ดื่มน้ำให้นึกถึงคนขุดบ่อ ทานผลไม้ให้นึกถึงคนปลูกต้นไม้” สิ่งหนึ่งที่จะเป็นเครื่องยืนยันถึงการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีที่มีต่อ องค์ผู้สถาปนา ก็คือ การดำเนินตามรอยพระยุคลบาท ด้วยการเสียสละทุ่มเทการทำงานเพื่อความเจริญรุ่งเรื่องสถาพรของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งผลสำเร็จเป็นที่ตั้ง ให้สมดังพระราชปณิธานในการสถาปนามหาวิทยาลัยแห่งนี้

              วันที่ 23 ต.ค.ปีนี้ มจร ได้จัดงานวันปิยมหาราชรำลึกขึ้น ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา  โดยมีกิจกรรมคือช่วงเช้าพิธีถวายราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระพรหมบัณฑิต อธิการบดี เป็นประธานในพิธี และมีพิธีสงฆ์คือพระสงฆ์กัมพูชา ๑๐ รูปสดับปกรณ์  พระสงฆ์มอญ ๑๐ รูป เจริญพุทธมนต์ และถวายภัตตาหารเพลแก่พระสงฆ์และเลี้ยงอาหารกลางวัน จำนวน ๑,๐๐๐ รูป/คน ทั้งนี้โดยมีคณะสงฆ์มหายาน มณฑลยูนนาน ประเทศจีนร่วมเป็นเจ้าภาพ

              ภาคบ่ายมีการเทศน์มหาชาติ ๔ ภาค ถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์สมเด็จพระปิยมหาราช ทั้งนี้การเทศน์ทำนองภาคอีสานนั้นนายสมชัย ศรีนอก หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์ มจร ได้รายงานไว้ว่า การเทศน์มหาชาติทำนองอีสานนั้น ถือเป็นประเพณีนิยมที่ได้ปฏิบัติกันมาแต่ดั้งเดิมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการแบ่งเนื้อหาของเวสสันดรชาดกออกเป็น ๑๓ กัณฑ์ หรือ ๑๓ ผูก ที่ได้มีผู้ประพันธ์ไว้เป็นภาษาอีสาน เขียนด้วยอักษรธรรม จารลงในใบลานเก็บไว้เป็นผูกๆ ละ ๑ กัณฑ์

              การเทศน์มหาชาตินี้ต่างจากการเทศน์อย่างอื่น เพราะแต่ละกัณฑ์จะมีทำนองประจำ เรียกว่าทำนองประจำกัณฑ์ เช่นเกี่ยวกับการร่ายเวสสันดรชาดกในภาคกลาง หรือทำนองหลวง ที่มีทำนองเฉพาะในเนื้อเรื่องแต่ละเรื่องแต่ละตอน ประชาชนพุทธบริษัททางภาคอีสาน ยังยึดมั่นและยังนิยมจัดให้มีการเทศน์มหาชาติทำนองอีสาน หรือลำพระเวสน์ในพิธีงานบุญมหาชาติอยู่อย่างเหนียวแน่น

              พระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้อ่านกัณฑ์เทศน์ในใบลาน มีจำนวนน้อยที่สามารถใช้ทำนองให้ถูกต้องในแต่ละกัณฑ์แต่ละตอนและนับวันที่จะ หายากขึ้นมาลำดับ เพราะพระสงฆ์ผู้มีความชำนาญในการเทศน์มหาชาติทำนองอีสานและเทศน์ได้อย่างถูก ต้องนั้น ล้วนเป็นพระสงฆ์ที่มีอายุพรรษามากแล้ว หรือไม่ก็มรณภาพไปแล้วหลายรูป ยกตัวอย่าง พ.กวี,และอาจารย์สำรวย เป็นต้น พระภิกษุหนุ่มและสามเณรน้อยทั้งหลาย ก็ไม่มีโอกาสได้ฝึกอบรมเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมการเทศน์มหาชาติทำนองอีสานอันมี ค่ายิ่งนี้ไว้ได้ เพราะไม่มีการฝึกอบรมอย่างเป็นกิจจะลักษณะเพื่อการอนุรักษ์อย่างจริงจังและ ยังไม่มีพระเทศน์ที่มีชื่อเสียงเหมือนดังภาคกลาง

              อย่างไรก็ตามผู้เขียนในฐานะที่เป็นคนภาคอีสานจึงมีความสนใจวรรณกรรมทางภาค อีสานมีความเห็นว่าควรที่จะอนุรักษ์การเทศน์มหาชาติทำนองอีสานนี้ไว้ ก่อนที่ผู้รู้ทั้งหลายจะหมดหรือหายไปจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยเงื่อนไข ของกาลเวลาฉะนั้นผู้เขียนจึงขอใช้บทความนี้นำเอารูปแบบของการเทศน์แบบ ทำนองอีสานมาเผยแพร่ โดยมีวัตถุประสงค์คือ

              เพื่อหาความต้องการในการสร้างนันทนาการในการเทศน์มหาชาติทำนองอีสาน ๒. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของภาคอีสาน ๓. เพื่อเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่บูรพาจารย์ที่ท่านได้สืบสาน ๔. เพื่อเป็นการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม การคลายเครียดในสังคมที่หาจุดรวมหรือจูนกันไม่ได้เช่นในยุคปัจจุบัน วรรณกรรมเท่านั้นที่เป็นร่องรอยอันน่าภาคภูมิใจของแต่ละภาค หากทุกคนมีความภูมิใจและเข้าถึงศิลปะของแต่ละชีวิตโดยใช้หลักการที่ว่านำ ความรู้สู่ชีวิตและใช้ชีวิตแบบศิลปะแล้วชีวิตเราจะมีจุดยืนบนหลักการแห่ง ความมีความสุข นักวรรณกรรมได้เคยกล่าวไว้ว่า ถ้าจะดูสังคมให้ดูวรรณกรรม และในขณะเดียวกันถ้าจะดูวรรณกรรมให้ดูสังคม เรื่องการเทศน์มหาชาติหรือบุญผะเวสน์ทางภาคอีสาน ลาวคำหอม เคยกล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า "คึดฮอดบ้านบุญผะเวสน์คือสิหลาย คือสิมีกัณฑ์หลอนแห่นำลำฟ้อน ทศพรกัณฑ์ต้นมหาพนใกล้สิเที่ยง เป็นมะลึกคึกครื้นอย่าลืมอ้ายผู้คึดนำ"

              ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของทศชาติชาดก พระเวสสันดรชาดก ความเป็นมาและรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดงานประเพณีบุญผะเวสน์ตามความเชื่อ ของคนอีสาน วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของดีคนอีสาน การเขียนและการอ่านอักษรธรรม การเทศน์แหล่ของพระจะเริ่มจากกัณฑ์มาลัยหมื่น มาลัยแสน สังกาสหลวง ทศพร หิมพานต์ ทานกัณฑ์ วันประเวส ชูชก จุลพน มหาพน กุมาร มัทรี สักกบรรพ มหาราช ฉกษัตริย์ นครกัณฑ์ ด้วยการปริวรรตเนื้อเรื่องของกัณฑ์เทศน์มหาชาติทำนองอีสานในคัมภีร์ใบลานจาก อักษรธรรมเป็นอักษรไทย

              ประเพณีการเทศน์มหาชาติ การมีเทศน์มหาชาติ ทางภาคอีสานนิยมทำกันหลังฤดูทำนาเสร็จคือราวเดือนอ้าย (ตั้งแต่วันสารทไทยเป็นต้นไปบางแห่งก็ทำช่วงสงกรานต์ )ส่วนจำนวนวันที่จัดนั้น จัดเสร็จภายใน ๑ วันกับ ๑ คืนตามคตินิยม ( ถือกันเป็นประเพณีว่า ถ้าใครฟังจบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ในวันเดียวย่อมได้บุญแรง ถ้าไม่บรรลุโลกุตรธรรม ก็จะได้พบพระศรีอริยเมตไตรย ) จัดเฉพาะกลางวันรวม ๓ วันบ้าง ทั้งนี้แล้วแต่ความสะดวกเป็นสำคัญ เมื่อมีการเทศน์มหาชาตินิยมประดับประดาสถานที่เทศน์ให้เป็นเสมือนป่า เพื่อให้คล้ายป่าเมืองกบิลพัสดุ์ โดยจัดให้มีต้นกล้วย ต้นไม้ประดับตามประตูวัด และที่ธรรมาสน์เทศน์

              คาถาพัน คาถาพัน หมายถึง คาถาภาษาบาลี ที่ยกขึ้นมานำความทั้งมีจำนวน ๑๐๐๐ คาถา เช่นในกัณฑ์ทานกัณฑ์ก็บอกไว้ตอนจบว่า " ทานกัณฑ์ นิฏฐิตํ ประดับด้วยพระคาถา ๒๐๙ คาถา " คำว่าคาถา หมายถึง ฉันท์บทหนึ่ง มีถ้อยคำ ๔ วรรค วรรคหนึ่งมี ๘ คำ คาถาหนึ่งจึงมีคำ ๓๒คำเป็นพื้น ส่วนมากจะมีการเดินคาถาพันตั้งแต่เช้ามืด ตั้งแต่เวลาตีห้าเลย เพราะกลัวว่าจะไม่จบภายในหนึ่งวัน

              มหาเวสสันดรชาดก มหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกเรื่องใหญ่ กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรได้บำเพ็ญบารมีอย่าง สูงสุด ยากเกินกว่าจะมีผู้ใดทำได้ คือให้บุตรและภรรยาแก่ผู้ที่มาขอนอกจากนั้นยังบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่อื่นๆ ครบถ้วนทั้ง ๑๐ ประการ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "มหาชาติ" และการเทศน์เรื่องพระเวสสันดรก็เรียกว่าเทศน์มหาชาติมหาเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องสูงส่ง แสดงให้เห็นถึงการเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนของพระเวสสันดร เพื่อเป็นทางนำไปสู่พระโพธิญาณ เมื่อได้บรรลุพระโพธิญาณแล้วก็มิได้รับประโยชน์เฉพาะตน แต่ได้นำมาสั่งสอนเพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลกด้วย มหาเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องที่คนไทยรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแต่ไม่มีหลักฐานเหลือมา

              หนังสือเวสสันดรชาดก เพิ่งมามีลายลักษณ์อักษรแน่นอนเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต แต่งขึ้นเมื่อปีขาล จุลศักราช ๔๔ คือพ.ศ. ๒๐๒๕ เรียกชื่อว่า "มหาชาติ" เป็นคำคละกันมีทั้งโคลงฉันท์ กาพย์ ร่าย มีวัตถุประสงค์แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการสวดในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา ต่อมา ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดให้รุจนามหาเวสสันดรชาดกขึ้นอีก เมื่อจุลศักราช ๙๖๔ คือพ.ศ. 2145 เรียกชื่อว่า "กาพย์มหาชาติ" เป็นคำประพันธ์ชนิดร่ายยาว วัตถุประสงค์แต่งขึ้นเพื่อใช้สำหรับเทศน์หนังสือกาพย์มหาชาติให้จบในวัน เดียวไม่ได้ จึงมีผู้แต่งกัณฑ์ต่างๆขึ้นใหม่ เพื่อย่นย่อให้สั้นเข้าและเทศน์จบภายในวันเดียวปรากฏว่ามีผู้แต่งมากมายหลาย สำนวน คำประพันธ์ที่ใช้ก็ใช้ร่ายยาวเป็นพื้นแต่เรียกชื่อกันใหม่ว่า"มหาชาติกลอน เทศน์มหาชาติกลอนเทศน์นี่เองที่รวมกันเข้าเป็น"ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก"คือ ท่านนักปราชญ์ เลือกเฟ้นเอากลอนเทศน์ที่สำนวนดีมารวมกันเข้างานนี้เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๙และสำเร็จเรียบง่ายบริบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ในรัชกาลที่ ๕ และใช้เป็นแบบเรียนสืบเนื่องกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน

              อานิสงส์ของการฟังเทศน์มหาชาติ การแสดงเทศนา เรื่อง พระเวสสันดรชาดก ตามธรรมเนียมประเพณีที่เคยปฏิบัติกันสืบมาทั้งหมดพันพระคาถา พระโบราณาจารย์ได้แสดงถึงอานิสงส์ การตั้งใจฟังเทศน์มหาชาติให้จบเพียงวันเดียวครบบริบูรณ์ ๑๓ กัณฑ์ เป็นเหตุให้สำเร็จความปรารถนาทุกประการดังนี้ ๑.เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วจะได้พบพระศรีอาริย์พุทธเจ้าในอนาคต ๒.เมื่อดับขันธ์จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เสวยทิพย์สมบัติอันมโหฬาร ๓.จักไม่ตกนรกเมื่อตายไปแล้ว ๔.เมื่อถึงพุทธกาลพระศรีอาริย์พุทธเจ้า เทพบุตร เทพธิดา จะได้จุติลงไปเกิดเป็นมนุษย์ ๕.ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนา ก็จักได้บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา

              สรุปว่าเมื่อถึงเดือนสี่เป็นฤดูมีดอกไม้ตามชายทุ่ง ชาวป่าแถวอีสานบานสะพรั่งเช่นดอกคูณ ดอกมันปลา ดอกลำดวน ตามปกติฝนก็มีมาบ้างแล้วจั๊กจั่นเรไร มีการขับร้องตามชายทุ่งและชายป่าฟังเสนาะมาก มีการเขียนไว้ในหนังสือเทศน์มาลัยหมื่นมาลัยแสนว่า พระผู้จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ในอนาคตคือพระศรีอริยเมตไตย์ ใครอยากจะพบเห็นท่าน และร่วมในศาสนาของท่านจะต้องไม่ฆ่าพ่อฆ่าแม่ ฆ่าสมณะชีพราหมณ์ ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน และจะต้องฟังเทศน์พระเวสสันดรให้จบให้สิ้นในวันหนึ่งวันเดียว ดังนั้นปราชญ์แห่งภาคอีสานเห็นว่าเป็นเรื่องดี จึงได้บรรจุบุญมหาชาตินี้ลงในฮีตที่ ๔ (ในเดือน ๔) บุญนี้ยิ่งใหญ่มากเพราะกระทำกันตั้งแต่ในวังหลวงเป็นต้นจนถึงชาวบ้านและทำ กันทั่วประเทศ ไม่ว่าพิธีอื่นหรือบุญอื่นอันแตกต่างกันอย่างไร แต่คนไทยที่นับถือพระพุทธศาสนาจะต้องทำบุญพระเวสนี้ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า “บุญมหาชาติ”ซึ่งเป็นงานบุญที่คนอีสานรอคอยและเชื่อว่าแน่ว่าได้บุญมาก บุญนี้แม้แต่พฤกชาติยังน้อมใจรับการฟังธรรมและร่วมพิธีแห่กัณฑ์หลอนดังบทกวี ว่า

เหลียวเห็นฟ้าสว่างแจ้ง ก้ำฝ่ายบูรพา

เห็นแต่วาโยพัด หอบหนาวขึ้นมาพร้อม

เสียงระฆังก้อง แสงสีทองสาดสวยเด่น

เห็นพฤกษาพรั่งพร้อม ขจีดั้วรับลม

หนาวหัวใจกายเย็นจ้อย ลมวอยวอยเข้าเดือนยี่

รอเดือนสามเดือนสี่เข้า คิมหันฟ้อนรับกัณฑ์หลอน

 

ที่มา : คมชัดลึกออนไลน์วันที่ 22-10-2556


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ประกาศ รายชื่อผู้มีสิทธิ์นำเสนอผลงานพัฒนาศักยภาพนักพัฒนาระบบ ประเภทผลงาน การพัฒนารายวิชาการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดมหาชน (MCU MOOC)
    31 ส.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    43
  • ขอเชิญร่วมงานครบรอบวันสถาปนา 137ปี มหาจุฬาฯ กำหนดจัดงานวันที่ 13 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุมเธียเตอร์ โซน C อาคารเรียนรวม มจร จ.พระนครศรีอยุธยา
    30 ส.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    36
  • อนุมัติปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 3/2567
    28 ส.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    111
  • โลโก้งานวันครบรอบสถาปนา 137 ปี มจร
    28 ส.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    57
  • ศาสตราจารย์ ดร. พระพรหมวัชรธีราจารย์ องค์อธิการบดี ได้เมตตามาเป็นประธานเปิดโครงการปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
    24 ส.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    391