วิสัยทัศน์การศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
25 ก.พ. 58 | พระพุทธศาสนา
1809
ผู้แต่ง :: นายปัญจะ เกสรทอง (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
นายปัญจะ เกสรทอง (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
(2548) |
วิสัยทัศน์ของกระทรวงศึกษาธิการ
โดยนายปัญจะ เกสรทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มุ่งพัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม คิดเป็น
ทำเป็น พึ่งตนเองได้ รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สรรค์สร้างสังคมที่
สงบสุข มีความรัก ความเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มี
ความรอบรู้ มีความสามารถที่เป็นสากล ดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
กระทรวงศึกษาธิการจะขยายโอกาสทางการศึกษา อำนวยการให้มีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อย่างน้อย ๑๒ ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายสำหรับเด็กและเยาวชนไทยทุกคน และพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ทุกระดับ โดยเน้นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางให้เรียนอย่างมีความสุข และเน้นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง
ให้มากที่สุด จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย ให้ความสำคัญต่อการศึกษา
สำหรับผู้ด้อยโอกาส และการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างกว้างขวางทั่วถึงและมีคุณภาพมุ่งส่งเสริมให้
เยาวชนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยและมีความสามารถให้ภาษาไทยได้อย่างดี รวมทั้งให้ใช้ภาษาอื่นที่เป็น
ภาษาสากลได้อย่างน้อย ๑ ภาษา ส่งเสริมให้มีความรู้ ความสามารถมีลักษณะวิสัยทางวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี เห็นคุณประโยชน์และรักที่จะใช้พลังงานธรรมชาติและเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้อง
กับวิถีชีวิต ส่งเสริมให้มีความภูมิใจในความเป็นไทย มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรักศิลปวัฒนธรรมไทย
และวิถีชีวิตแบบไทย เห็นความดีงาม ความชาญฉลาดของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสนใจ
ศึกษาค้นคว้า พัฒนาวิทยาการทั้งที่เป็นภูมิปัญญาไทยและที่เป็นสากล
จัดและส่งเสริมให้สถานศึกษา สถาบันทางศาสนา พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเป็นศูนย์กลาง
การเรียนรู้ของชุมชนที่มีความสะอาด สงบ ร่มรื่น และมีสื่อสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่ดี ใช้ได้สะดวก
เปิดโอกาสให้ประชาชนใช้บริการได้อย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านความหลากหลายและระยะเวลาให้
สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
ทำนุบำรุง ส่งเสริม พัฒนาการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและการกีฬา ให้ศาสนาและ
วัฒนธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคน และเป็นหลักสำคัญส่วนหนึ่งในการจัดการศึกษา
จัดการศึกษาโดยให้ชุมชน ท้องถิ่นมีความเป็นเจ้าของ เปิดโอกาสและสนับสนุนให้
เอกชน องค์กรเอกชนจัดการศึกษาให้ทุกระดับ กระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่ท้องถิ่นและ
สถานศึกษา ปรับระบบการบริหาร การจัดการและการปฏิรูปการศึกษา ให้สอดคล้องกับหลักการ
ศึกษาไทยและความต้องการของผู้เรียน ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
|
(ที่มา: ศูนย์สารสนเทศ สป.ศธ.) |
|
|