ผู้แต่ง :: ผศ.ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
ภาพแห่งความรุ่งเรืองเมืองโบราณและพุทธสถานในคัมภีร์
ผศ.ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร |
ในยุคที่มีคัมภีร์สำเร็จรูป ทั้งหนังสือและอุปกรณ์เพื่อการสืบค้น ความรู้ในคัมภีร์ถูกประยุกต์ เข้ากับวิชาสมัยใหม่ ที่เคยฝากความรู้ในตำรา ตอนนี้อาจเกิดปัญหาได้หากตามไม่ทัน ยุคข้อมูล ไหลบ่าท่วมท้นยิ่งต้องพัฒนาข้อมูล จะศึกษาคัมภีร์ก็ต้องให้สอดคล้องกับวิทยาการสมัยใหม่ มอง ชาวพุทธที่เคร่ง บทความนี้อาจขวางกั้นทางพระนิพพาน เพราะไม้ใช่เรื่องปฏิบัติธรรม เป็นทางกั้นเป็นประวัติศาสตร์ เป็นดิรัจฉานกถา มีแต่เรื่องความโลภ ความโกรธ ความหลง แต่ ถ้าหากจะมองว่า เมืองโบราณยุคมหาชนบท แม้กาลเวลาล่วงเลยมา เรื่องราวในชมพูทวีป (อินเดียโบราณ) มีข้อมูลขยายได้ไม่รู้จัก จบ เมื่อเอ่ยถึงชื่อชมพูทวีป ก็คือ อินเดียเหนือ รวมบางส่วนในปากีสถานและอัฟกานิสถาน ด้าน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดภูเขาในเปอร์เซีย(อิหร่าน) ด้านทิศตะวันออกติดภูเขาหิมาลัย(เนปาล) ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาระเบีย ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมชีพ คือ พุทธกาล ก่อน พ.ศ. ๘๐ มีปราชญ์ทั้งใน ซีกโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ยุคนั้น อาณาจักรเปอร์เซีย (อิหร่าน) เป็นยุคของไซรัส (Cyrus) และดาริอุส(Darius) จักรพรรดิอคาเมเนียน (Achaemenian Emperors) ทรงอำนาจเหนือแบก เตรีย (Bactria) มีเดีย (Media) บาบิโลเนีย (Babylonia) และอัซซีเรีย (Assyria) พุทธกาลตรงกับยุคอาณาจักรมคธ เป็นยุคมหาชนบท ด้านภูมิศาสตร์การปกครอง แบ่ง ออกเป็น คาม นิคม บุรี นคร มหานคร ชนบท และมหาชนบท ผู้ปกครองมีหลายตำแหน่ง ราชา อุปราชา เสนาบดี ผู้ตัดสินคดี กำนัน นายบ้าน ปุโรหิต เป็นต้น ที่เป็นภัยคุกคามประชาชน มีภัย ประวัติศาสตร์อินเดียส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องเล่า บางส่วนมีในคัมภีร์ปุราณะ๑ มีทั้งเรื่อง ลึกลับและตำนาน ระบุราชวงศ์โบราณ ๒ วงศ์ ได้แก่ ๒ อาทิจจวงศ์ (สุริยวงศ์) กับ โสมวงศ์ (จันทวงศ์) ผู้เป็นต้นอาทิจจวงศ์ ได้แก่ มนู (Manu) ผู้สืบต่อจากมนู ได้แก่ ราม (Rama) มีผู้สืบ ทอดมากกว่า ๖๐ รุ่น๓ ทายาทของราม ได้แก่ กุสะ (Kusa) และลวะ (Lava) ผู้สร้างเมืองกุสาวดีและเมืองสาวัตถี เมืองกุสาวดีก็คือเมืองกุสินารา๔ เมืองที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระพุทธเจ้า ทรงมีกำเนิดในอาทิจจวงศ์ ทรงเป็นอาทิจจพันธุ เผ่าพันธุ์แห่งดวงอาทิตย์ ทรงเป็นโคตมโคตร ด้านภูมิศาสตร์ ยุคมหาชนบท แบ่งได้ ๑๖ แคว้น รูปแบบการปกครองมี ๒ ระบบ คือ มีราชา(Monarchical States) กับ ไม่มีราชา (Kingless State, Republication) ผู้นำมีอยู่หลาย ชนเผ่า ได้แก่๕ วงศ์หรยัญกะ (พิมพิสาร), วงศ์โกศล (ปเสนทิโกศล), วงศ์อวันตี (ปัชโชต), วงศ์ วังสะ (อุเทน), คันธาระ(ปุกกุสาติ), โสวีระ (โรรุวนคร), และกุกกุฏวดีนคร (มหากัปปินะ) ผู้มีอำนาจแย่งชิงความเป็นใหญ่กัน ระบุ ว่า :- การแย่งชิงอำนาจ ไม่ว่าจะทำสงครามหรือทำในลักษณะอื่น ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในสังคม แห่งความโลภ์โมห์โทสัน ปัญหาความรุนแรงไม่ต่างกับยุคนี้ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ฆ่าอำพรางคดี อาชญากรทางเพศ ฆ่านักบวช ฯลฯ การละเมิดไม่พ้นศีล ๕ เช่นที่ระบุว่าประชาชนโค่นล่มราชวงศ์ - ด้านการปกครอง ระบอบปกครองของกลุมที่คัดเลือกผู้นำ เป็นอมาตยาธิปไตย (Aristocracy) มาจากกลุ่ม ชนชั้นสูง คือ ลิจฉวี เมืองเวสาลี, ศากยะ เมืองกบิลพัสดุ์, มัลละ เมืองปาวา และเมืองกุสินารา, ภัคคะ เมืองสุงสุมารคีรี, โกสิยะ เมืองรามคาม และเมืองเทวทหะ, โมริยะ เมืองปิปผลิวัน, กาลา มะ เมืองเกสบุตร, และกลุ่มที่สืบทอดอำนาจ เป็นราชาธิปไตย (Monarchy) ศากยวงศ์ ได้ชื่อว่าเป็นคณะราชา เลือกผู้นำเหมือนพวกลิจฉวีบรรพบุรุษของ ชาวมัลละ เมืองปาวา สืบทอดไปจากพวกลิจฉวี ต้องคัดเลือกผู้นำ มีกฎเกณฑ์บริหารองค์กร ผู้ไม่ มีวาระหรือพ้นเลยกำหนดหน้าที่บริหาร หรือถ้าไม่ถึงคราวบริหารจะไปค้าขาย ศากยวงศ์ไม่ได้ปกครองเป็นอิสระ อยู่ในเขตโกศล พระเจ้าสุทโธทนะได้รับคัดเลือก ให้บริหาร ผู้ที่ได้รับเลือกต่อมา คือ ภัททิยะ คนต่อมาคือ มหานามะ พี่ชายของอนุรุทธ์ ศากยวงศ์ ล่มสลายเพราะวิฑูฑภะบุกทำลายช่วงปลายพุทธกาล ผู้นำลิจฉวี มีตำแหน่งเป็นราชา จำนวน ๗,๗๐๗ ผู้บริหารองค์กรมีอยู่หลายตำแหน่ง คืออุปราช เสนาบดี นักกฎหมาย (มหาอมาตย์ตัดสินคดี) กำนัน และนายบ้าน มีผู้บริหารจำนวน เท่ากัน๑๙ ๗,๗๐๗ คน มัลละเป็นเครือญาติของลิจฉวี มีวาระการบริหาร มีสำนักงานว่าการเป็น โรงประชุม เรียกว่า สัณฐาคาร (Mote-Hall) ดังบรรยายว่า คราวที่พวกศากยะเพิ่งสร้าง สัณฐาคารเสร็จ นิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อพวกมัลละเพิ่งสร้างสัณฐาคารเสร็จ นิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จเป็นปฐมฤกษ์ คราวใกล้ปรินิพพาน ท่านพระอานนท์ ไปแจ้งข่าว พวกมัลละให้ทราบที่สัณฐาคาร ว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพาน ยุคนั้น ผู้นำหรือคนที่มีสถานะสังคมเดียวกัน มีความสัมพันธ์ในกลุ่มเดียวกัน ราชากับ ราชา พ่อค้ากับพ่อค้า ธิดาทั้ง ๔ ของพระเจ้าเจตกะ เมืองเวสาลี สมรสกับผู้มีอำนาจอีกหลาย เมือง เจ้าหญิงประภาวดีสมรสกับพระเจ้าอุทัย เมืองสินธุ-โสวีระ เจ้าหญิงปัทมวดี สมรสกับพระ เจ้าทธิวาหนะ เมืองจัมปา เจ้าหญิงมฤควดี สมรสกับพระเจ้าสตนิกะ เมืองโกสัมพี เจ้าหญิงสิวะ สมรสกับพระเจ้าปัชโชต แคว้นอวันตี พระเจ้าพิมพิสาร เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เกี่ยวดองกับพระเจ้าปเสนทิโกศลเมือง สาวัตถี แคว?นโกศล เพราะทรงเป?นพระสวามีของพระภคินีกัน (อญฺญฺมญฺญํ ภคินีปติกา) นางสุชาดา น้องของนางวิสาขา เมืองสาเกต เป็นสะใภ้ของอนาถปิณฑิกเศรษฐี คหบดี ชาวเมืองสาวัตถี ความสัมพันธ์ของอิสรชน กลายเป็นประวัติศาสตร์ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมาย... พระเจ้าพิมพิสารมีความสัมพันธ์กับนิครนถ์นาฏบุตรมากน้อยเพียงใด อชาตศัตรูกับพระเทวทัตเกี่ยวข้องกับนิครนถ์หรือไม่ อภัยราชกุมารโอรสพระเจ้าพิมพิสาร อุปถัมภ์นิครนถ์ ถูกเสี้ยมสอนให้ พระพุทธศาสนาตั้งมั่นที่ราชคฤห์ เหตุใดพระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่สาวัตถีมากกว่าที่ราชคฤห์ เงื่อนไข ๕ อย่างของพระเทวทัตสัมพันธ์กับวัตรปฏิบัติของนิครนถ์ได้อย่างไร นิครนถ์นาฏบุตรเสียใจอาพาธที่แคว้นสักกะ ไฉนไปสิ้นชีพที่เมืองของมัลลกษัตริย์ เอ. สังกรเรย์ (A. Sankararey) มองว่า ประชาธิปไตยที่แท้ เกิดขึ้นและหมดสิ้นไปแล้ว ในอินเดีย พร้อมพระพุทธศาสนา (True democracy began and ended in India with Buddhism) เมืองศูนย์กลางการศึกษาก่อนพุทธกาล คือ ตักกสิลา ตั้งอยู่ในแคว้นคันธาระ(ปัจจุบัน ตั้งอยู่ในปากีสถาน) เป็นศูนย์กลางการศึกษาของพราหมณ์ เมืองพาราณสี แคว้นกาสี เคยเป็น ศูนย์กลางการศึกษาอินเดียตะวันออกมาก่อนพุทธกาล ศูนย์กลางการศึกษาในพุทธกาลอยู่ที่เมือง ราชคฤห์ ในแคว้นมคธ เมืองเวสาลี ในแคว้นวัชชี และเมืองสาวัตถี ในแคว้นโกศล ชาดก แหล่งประวัติศาสตร์อินเดีย ระบุแว่นแคว้นบ้านเมืองหลายแห่ง เช่น เมืองกปิละ เมืองกาลิงคะ เมืองสีพี เมืองมหิงสกะ เมืองโรรุวนคร อุตตรปัญจาลนคร อริฏฐปุรนคร เมืองสินธุ เมืองโสวีระ เมืองพาราณสี แคว้นกาสี เป็นสังเวชนียสถานแห่งหนึ่ง เป็นสถานที่ แคว้นสินธุ และแคว้นโสวีระ ตั้งอยู่ในรัฐปัญจาป ปัจจุบันตั้งอยูู่ในปากีสถาน บุคคล และสถานที่ ในพุทธประวัติ ปรากฏในมหาชนบท ๑๖ แคว้น :- ๑. แคว้นอังคะ จัมปาเป็นเมืองหลวง ปัจจุบัน คือ รัฐพิหารตะวันออก บุคคล/สถานที่ เมืองจัมปา เมืองภัททิยะ (บ้านบิดานางวิสาขา, เมณฑกเศรษฐี) เมือง อัสสปุระ เมืองอาปณะ คัคคราโบกขรณี พระโสณโกฬิวิสะ พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น ๒. แคว้นมคธ ราชคฤห์หรือคิริพชะเป็นเมืองหลวง ปัจจุบัน คือ ราชคีร์ (Rajgir) รัฐ พิหารเหนือ พระเจ้าอชาตศัตรูย้ายเมืองหลวงไปที่ปาฎลีบุตร ปัจจุบัน คือ ปัฏนะ ๓. แคว้นกาสี พาราณสีเป็นเมืองหลวง ปัจจุบันคือ พาราณสี หรือ Banaras/Banares ๔. แคว้นโกศล สาวัตถีเป็นเมืองหลวง ปัจจุบันคือสาเหตมาเหต หรือ อูธ (Outh) หรืออโยธยา ๖. แคว้นมัลละ เมืองหลวงคือกุสาวดี มี ๒ เขต ได้แก่ มัลละเหนือ ๘. แคว้นวังสะ โกสัมพีเป็นเมืองหลวง ปัจจุบันคือหมู่บ้านโกสัม (Kosam) ในอัลลาฮาบาด (Allahabad) ๙. แคว้นกุรุ อินทปัตถ์เป็นเมืองหลวง ปัจจุบัน คือ เดลี และบริเวณใกล้เคียง ๑๐. แคว้นปัญจาละ หัสตินาสปุระเป็นเมืองหลวง มี ๒ เขต ปัญจาละเหนือกับปัญจาละใต้ ๑๑. แคว้นมัจฉะ สาคละเป็นเมืองหลวง (วิราฏะนคร) ปัจจุบันตั้งอยู่ในรัฐราชสถานและ บริเวณใกล้เคียง ๑๒. แคว้นสุรเสนะ มถุราเป็นเมืองหลวง ปัจจุบันเหลือแต่ซากเมืองโบราณ ตั้งอยู่ห่าง ตัวเมือง เรียกว่า มโหลิ ๑๓. แคว้นอัสสกะ โปตนะเป็นเมืองหลวง(โปตลี) ปัจจุบันอยู่ในแคว้นมหาราษฎร์ ๑๔. แคว้นอวันตี อุชเชนีเป็นเมืองหลวง มี ๒ เขต คือ อวันตีเหนือ (อุชเชนี) และอวัน ติทักขิณาปถะ (มาหิสสติ) ปัจจุบันคืออุชเชน ๑๕. แคว้นคันธาระ (non-Aryan) ตักกสิลาเป็นเมืองหลวง ปัจจุบัน ชื่อบ้านเมืองต่าง ๆ ผิดเพี้ยนกร่อนหาย ก่อนพุทธกาลเรียกชื่ออย่างหนึ่งพุทธกาลเรียก อีกชื่อหนึ่ง บ้านเมืองซึ่งไม่ใช่มหาชนบท มี สักกะ เมืองกบิลพัสดุ์, โกลิยะ เมืองเทวทหะ, และวิเท หะ เมืองมิถิลา ระบุว่า โขมทุสสะ จาตุมา สามคาม เวธัญญา อุลมปะ สักกระ และสีลวดี เป็นอาณานิคมศากยวงศ์ เส้นทางคมนาคม ภาคกลาง ภาคใต้ อุตราบถ ตะวันออก ตะวันตก ภาคกลาง มีบทบัญญัติลงโทษผู้กระทำความผิด มีกฎหมายควบคุมสังคม ผู้ฝ่าฝืนย่อมถูกลงโทษ พวกลิจฉวี เมืองเวสาลี เป็นนักกฎหมาย กฎหมายลิจฉวี เรียกว่า วัชชีธรรม (โปราณํ วชฺชิธมฺมํ ) หลักปฏิบัติที่มีแต่โบราณ การทำโทษผู้กระทำผิดมีอยู่หลายวิธี ผู้นำ(ราชา)สั่งให้จับ กุมผู้ละเมิดลงอาญา ใช้วิธีเดียวกับที่นายนิรยบาลลงโทษสัตว์ในนรกภูมิ หลายวิธี :- เฆี่ยน ด้วยแส่, เฆี่ยนด้วยหวาย, ตีด้วยไม้พลอง, ตัดมือ, ตัดเท้า, ตัดมือและเท้า, ตัดใบหู, ตัดจมูก, ตัดใบ หูและจมูก, วางก่อนเหล็กแดงบนศีรษะ, ถลกหนังศีรษะขัดให้ขาวเหมือนสังข์, เอาไฟยัดปากจนเลือด ไหลเหมือนปากราหู, เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันจุดไฟเผา, พันมือจุดไฟต่างคบ, ถลกหนังตั้งแต่คอถึง ข้อเท้าให้ลุกขึ้นเดินเหยียบหนังจนล้ม, ถลกหนังตั้งแต่คอ บั้นเอวจนถึงสัน ทำให้ดูเหมือนผ้าคากรอง, สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่า แล้วใช้หลาวแทง ๔ จุด, เอาไฟเผา, ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เกี่ยวเนื้อ วิธีลงโทษในที่นี้ เกี่ยวข้องกับกฎของพระเจ้าฮัมมูราบี (The Code of ปรากฏการณ์ในอดีต ทำให้เห็นความรุ่งเรืองและความผันแปร ตัวอย่าง ความยิ่งใหญ่ของจักรพรรดิมหาสุทัสสนะ ผู้มั่งคั่ง มีสมบัตินานัปการ เมือง กุสาวดี ทรงมีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล นคร ปราสาท เรือนยอด บัลลังก์ ช้าง ม้า รถ สตรี ผ้านุ่งห่ม ภาชนะสำหรับใส่อาหาร วิจิตรอลังการ ทรงมีจับจ่ายใช้สอยเหลือเฟือ มีสมบัติ ครอบครองมากมาย แต่คราวบริโภคใช้สอย ทรงใช่เพียงอย่างเดียว “ดูเถิด สังขารทั้งปวงล่วงไป ดับไป ปรวนแปรไป สังขารไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ระบบวรรณะอินเดียแปลกไม่เหมือนใคร วรรณะพราหมณ์มีบทบาท ด้านการศึกษา พวกศูทรและคนนอกวรรณะไม่มีโอกาสเรียนรู้คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (พระเวท) ที่ถือเป็นความรู้สูงสุดในสมัยนั้นด้วยประการใด ๆ เลย ดังข้อความ ว่า ในคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ ก็มีข้อห้ามไม่ให้ผู้ศึกษาพระเวทแล้วสาธยายพระเวทในที่มี คนวรรณะศูทรอยู่ด้วย ในชาดกมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับชายหนุ่มจัณฑาล ๒ คน อยากศึกษาศิลปวิทยา ถึงกับปลอม ตัวเป็นคนวรรณะพราหมณ์ ไปศึกษาอยู่ที่ตักกสิลา แต่ภายหลังถูกจับได้จึงถูกขับไล่ออกมา - ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนถูกปลูกฝังเรื่องวรรณะ ความเจริญก้าวหน้าของชีวิตจึงขึ้นต่อชาติกำเนิด เรื่อง นี้มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจ เป็นปัญหาสำคัญทุกยุคสมัย สังคมแบ่งคนตามเศรษฐกิจออก ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มมีตระกูลสูง กับกลุ่มมีตระกูลต่ำ กลุ่มแรกมีฐานะเศรษฐกิจดี ได้แก่ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณมหาศาล ตระกูลคหบดีมหาศาล อีกกลุ่มหนึ่ง มีฐานะเศรษฐกิจไม่ดี ได้แก่ ตระกูล จัณฑาล ตระกูลช่างสาน ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ ตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูล คนยากจน เศรษฐกิจสัมพันธ์กับการค้า อาชีพค้าขายมีความสำคัญ เมืองศูนย์กลางคือราชคฤห์มีพ่อ ค้าคหบดี (อมิตโภคา มหาปุญฺญฺา) ผู้สร้างเศรษฐกิจให้รุ่งเรืองในเมืองนี้มีถึง ๕ คน พระเจ้าปเสน ทิโกศลจึงขอตระกูลคหบดีจากราชคฤห์ให้ไปพัฒนาเศรษฐกิจที่สาวัตถี ธนัญชัยเศรษฐีปู่นางวิสาขา ย้ายจากราชคฤห์ไปอยู่ที่สาเกต สร้างเมืองเศรษฐกิจขึ้นมา ต่อมาเศรษฐกิจเมืองสาวัตถีมั่นคงกว่า เศรษฐกิจเมืองราชคฤห์ ข้าวเปลือก ๔ ทะนานของชาวมคธ เท่ากับข้าวเปลือก ๑ ทะนานของชาว ยุคนั้นมีการก่อตั้งสหกรณ์ถึง ๑๘ ประเภท คือ ช่างไม้ ช่างโลหะ ช่างศิลา ช่างทอ ช่าง ทำหนัง ช่างหม้อ ช่างทำงา ช่างย่อมผ้า ช่างทำเพชรพลอย ชาวประมง คนขายเนื้อ นายพราน และคนดักสัตว์ พ่อครัว คนขายขนมหวาน ช่างตัดผมและช่างทำยาสระผม ช่างร้อยพวงมาลัย และคนขายดอกไม้ ลูกเรือ ช่างทำเครื่องหวาย และช่างสานตะกร้า และช่างทาสี การดำเนินชีวิตในสังคมต้องมีวิชาความรู้ (ศิลปะ) แบ่งวิชาความรู้ตามสถานะคน มี ๒ ประเภท ได้แก่ วิชาชั้นต่ำ กับ วิชาชั้นสูง วิชาชั้นสูง มี ๑๐ วิชา เช่นวิชากฎหมาย แบ่ง อาชีพออกเป็นอาชีพชั้นต่ำสำหรับสามัญชน เช่น อาชีพถากไม้ กับอาชีพชั้นสูง ได้แก่ อาชีพทำนา อาชีพค้าขาย วิชาชีพสำหรับข้าราชการต้องอาศัยความชำนาญมีมากกว่า ๒๐ วิชาชีพ เช่น วิชาพลช่าง ในวินัยปิฎกระบุอาชีพมากกว่า อาชีพ ในมิลินทปัญหา ระบุมากกว่า ๘๐ อาชีพ สรุป บ่อยครั้ง บรรยายพุทธประวัติด้วยวิธีการที่พราหมณ์ใช้อ้างจำนวนปีหลายสิบปีหรือหลาย ร้อยปี อ้างจำนวนคนมากมายแห่แหนแวดล้อม คนจำนวนมากหันมานับถือพรรณนาระยะทาง แสนไกลหลายร้อยหลายพันโยชน์ บรรยายสรีระของผู้มีบุญญาธิการ องอาจสูงใหญ่ การอ้างตัว เลขจำนวนมากมาย หรืออ้างเรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์ เป็นวิธีเชิดชูเกียรติยศให้เห็นความ ยิ่งใหญ่อลังการ ทว่าสาระอยู่ที่คำสอน ไม่ใช่จำนวนตัวเลขหรือความอัศจรรย แต่มีคนไม่น้อยติด ที่ความอลังการ เข้าไม่ถึงคำสอน ความยิ่งใหญ่อลังการเกิดจากศรัทธา ศรัทธาไม่ชอบอธิบายเชิง เหตุผล เมื่อทราบจุดหมายแห่งศรัทธา แต่หาเหตุผลมาอธิบายปรากฏการณ์ยังไม่ได้ จึงต้องว่า ตามกันไป จนกว่ามีข้อมูลที่ดีกว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติท่ามกลางการปกครอง การศึกษา การดำเนินชีวิตของคนโลภ์โมห์ โทสัน บางครั้ง พระองค์ถูกกลั่นแกล้ง ถูกลอบทำร้าย ถูกใส่ความว่าร้าย แต่ปฏิบัติหน้าที่ผู้สอน ธรรมอย่างองอาจ ในสังคมที่มีความรุนแรง แม้พระองค์ไม่แสดงสิ่งเหนือวิสัยก็ประกาศคำสอนได้ คัมภีร์ มักระบุว่า พระองค์แสดงสิ่งเหนือสามัญวิสัย บางครั้งเสด็จไปโลกอื่น “เหมือนคู่แขนเข้า หรือเหยียด แขนออก” อรรถกถา ระบุว่า “พระโพธิสัตว์เสด็จไปเทวโลก ๔ ครั้ง” (มนุสฺสตฺตภาเวน...เทวโลกํ คโต ) ท่านพุทธทาสภิกขุ มองเรื่องนี้ว่า “มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีในพุทธศาสนาของเรา เพราะ ว่าในศาสนาอื่น ๆ หรือแม้ว่าไม่เกี่ยวกับศาสนาเป็นลัทธิอื่นนั้น เขาจะมีว่าศาสดาของเขา หรือ บุคคลสำคัญของเขาต้องเคยขึ้นไปบนเทวโลกทั้งนั้น แล้วในฝ่ายพุทธศาสนาถ้าพูดว่าเราไม่มีแล้ว มันก็แย่..” สิ่งเหนือสามัญ นำไปสู่การสร้างสรรค์คุณความดี เป็นเครื่องประโลมใจ พระพุทธเจ้า ไม่ปฏิเสธสิ่งเหนือสามัญ หรือ อิทธิปาฏิหาริย์ แต่ทรงเห็นความสำคัญอนุสาสนีปาฏิหาริย์มากกว่า ทรงสรรเสริญคำสอนที่มีความอัศจรรย์มากกว่าฤทธิ์เดชที่น่าอัศจรรย์ ทว่าฤทธิ์เดชน่าอัศจรรย์มอง เห็นได้ง่ายกว่าคำสอนที่มีความอัศจรรย์ แม้ผ่านพุทธกาล เลยกึ่งพุทธกาลมาแล้ว ผู้คนยังให้ความ สำคัญต่ออำนาจฤทธิ์เดชเวทมนตร์ มากกว่าสัมฤทธิผลแห่งคำสอน อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์คำสอน ควรรู้ปรากฏการณ์สังคม เพื่อค้นหาตัวแปร ยืนยันว่า “5Q” ทั้ง IQ. EQ. AQ. TQ. และ MQ. มีครบในพระไตรปิฎก สมกับที่ผู้รู้ บอกว่า พระไตรปิฎก เป็น คลังวรรณคดี “a vast body of Literature” |
(ที่มา: สารนิพนธ์) |