บทความวิชาการ
การรู้จำอักขระอักษรธรรมอีสานโดยใช้ตัวแบบฮิดเดนมาร์คอฟ
06 พ.ย. 56 | บทความวิจัย
2248

ผู้แต่ง :: นายนิรันดร เลิศวีรพล, นายสุรศักดิ์ ตั้งสกุล

ชื่อผู้วิจัย : นายนิรันดร เลิศวีรพล, นายสุรศักดิ์ ตั้งสกุล
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : วันสำเร็จการศึกษา : 2553

บทคัดย่อ

อักขระอักษรธรรมอีสาน เป็นอักขระที่ไม่ใช่มาตรฐานการพิมพ์ทั่วๆ ไปบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงยากที่จะนำมาเข้าสู่กระบวนการรู้จำ เนื่องจากรูปแบบการเขียนไม่แน่นอน ซับซ้อน และยืดหยุ่นตามลักษณะของภูมิภาคที่ผู้เขียนนั้นอยู่ ในการรู้จำจึงต้องอาศัยการสกัดลักษณะเฉพาะจากลักษณะเด่นหลาย ๆ อย่าง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถอธิบายเอกลักษณ์ที่สำคัญของอักขระแต่ละตัวได้อย่างครบถ้วนมากที่สุด งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาการรู้จำอักขระตัวอักษรธรรมอีสานจำนวน 91 ตัวๆ ละ 6 แบบ โดยใช้วิธีการปรับการกระจายของพิกเซลของตัวอักขระแบบไม่เชิงเส้นและคุณลักษณะเด่นของอักขระหลายวิธีร่วมกันโดยใช้ตัวแบบฮิดเดนมาร์คอฟชนิดต่าง ๆ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพ โดยมีการกำหนดจำนวนสถานะของตัวแบบในลักษณะที่แน่นอนและไม่แน่นอน ผลที่ได้จากการวิจัยพบว่าจำนวนสถานะที่เหมาะสมและน้อยที่สุดที่ให้ผลอัตราการรู้จำเฉลี่ยสูงสุดสำหรับตัวแบบชนิด Left-Right มีจำนวนสถานะอยู่ระหว่าง 20 - 40 สถานะ โดยมีอัตราการรู้จำเท่ากับ 98.9%