บทความวิชาการ
ประสิทธิภาพการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ม.3 จ.แพร่
06 พ.ย. 56 | บทความวิจัย
2318

ผู้แต่ง :: นายสมจิต ขอนวงค์ และคณะ

ชื่อผู้วิจัย : นายสมจิต ขอนวงค์ และคณะ
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
วันสำเร็จการศึกษา : 2553

บทคัดย่อ
ชื่อรายงานการวิจัย : ประสิทธิภาพการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดแพร่

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมการสอนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดแพร่ ,ประสิทธิภาพการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดแพร่ และเปรียบเทียบประสิทธิภาพการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดแพร่

     กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาจำนวน 65 คน และนักเรียน 966 คน จากโรงเรียน 65 โรง

    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้มี 2 ชุด คือแบบสอบถามครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา และ แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของครูโดยนักเรียน

     วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ( %) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test, F- test ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่ของเชฟเฟ (Scheffe’s method)

     ผลการวิจัยพบว่า

     1. กิจกรรมการเรียนการสอนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดแพร่ พบว่า ครูนำกิจกรรมการเรียนการสอนไปใช้ ด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านวิธีการสอน ด้านสื่อการสอน ด้านประสิทธิภาพการสอน อยู่ในระดับปานกลาง

     2. ประเมินประสิทธิภาพการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดแพร่ พบว่าประเมินประสิทธิภาพการสอนของครู ด้านเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน วิธีการสอน สื่อการสอน และประสิทธิภาพการสอนอยู่ในระดับปานกลาง

     3. เปรียบเทียบตัวแปรและประสิทธิภาพการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดแพร่ ระหว่างกลุ่ม ตัวแปรโดยรวม พบว่า ครูที่มีเพศ อายุ เขตพื้นที่การศึกษา ประสบการณ์ วุฒิการศึกษา คณะที่จบการศึกษา เคยผ่านการอบรม และลักษณะของโรงเรียนต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ส่วนเพศนักเรียนไม่แตกต่างกันในการประเมินประสิทธิภาพการสอนของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ