บทความวิชาการ
การศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่มีในภาษาไทย
06 พ.ย. 56 | บทความวิจัย
3805

ผู้แต่ง :: ผศ.ประพันธ์ กุลวินิจฉัย

ชื่อผู้วิจัย : ผศ.ประพันธ์ กุลวินิจฉัย
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
วันสำเร็จการศึกษา : 2553

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่มีต่อภาษาไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของภาษาไทย ศึกษาประวัติภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทยและเพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบอิทธิพลภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่มีในภาษาไทย โดยมีวิธีการดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ มีขั้นตอนดังนี้ ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพระไตรปิฏก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ธรรมบท พุทธธรรม วิสุทธิมรรค กรรมทีปนี ศัพท์วิเคราะห์ภาษาบาลี และการวิเคราะห์สรุปข้อมูลในคัมภีร์พระไตรปิฏกเป็นหลัก

     สรุปผลการศึกษาพบว่า ความเป็นมาของภาษาไทยที่มีความโดดเด่นในหลักภาษาระเบียบวิธีที่มีพร้อมเช่น อักขวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์และฉันทลักษณะแต่ที่พิเศษกว่าภาษาอื่นคือมีความไพเราะด้วยเสียงวรรณยุกต์ถึง ๕ ระดับอันเป็นความสุนทรีของภาษาไทย

     ประวัติความเป็นมาของภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่เข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทยโดยนักปราชญ์ของชาติสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะกับภาษาไทยเช่น การตัดเสียง การเพิ่มเสียง การกลายความหมาย ที่ทำให้มีความสวยงามทางภาษาไทย และศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบอิทธิพลภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่มีในภาษาไทย ในหมวดต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อสังคมไทย เช่น หมวดศาสนาและพิธีกรรม หมวดราชาศัพท์และหมวดวิชาการทั่วไป ซึ่งได้วิเคราะห์เกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่พบในสังคมไทย เช่น การสะกดคำ รากศัพท์ การออกเสียง และความสำคัญของคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

     ข้อเสนอแนะ

     ๑. ควรเผยแพร่คุณลักษณะของภาษาบาลี เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รู้ ว่าเป็นภาษาทางศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ และทรงใช้ในการเผยแผ่พระธรรมคำสอน

     ๒. องค์กรรัฐและศาสนาควรจัดให้มี หลักสูตรภาษาบาลีชั้นต้น ชั้นกลางและชั้นสูง ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาจนถึงอุดมศึกษา