บทความวิชาการ
ศึกษาสถานการณ์และมาตรการการป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติดแก่นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดแพร่
06 พ.ย. 56 | บทความวิจัย
1893

ผู้แต่ง :: นางสาวอรอนงค์ วูวงศ์ และคณะ

ชื่อผู้วิจัย : นางสาวอรอนงค์ วูวงศ์ และคณะ
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
วันสำเร็จการศึกษา : 2553

บทคัดย่อ
ผู้วิจัย : นางสาวอรอนงค์ วูวงศ์ ผศ.ฉวีวรรณ สุวรรณาภา และ พระใบฎีกาอุดร อุตฺตรเมธี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแก่นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดแพร่ ศึกษาการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครองในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลจำนวน 715 คน คือ ผู้บริหาร 39 คน ครู286คน และผู้ปกครอง 390 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ( %) ผลการวิจัยพบว่าสถานการณ์และมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของผู้บริหารของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดแพร่ ที่ได้ดำเนินการมากที่สุดร้อยละ 100 คือ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบ มีการประสานงานระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองในด้านความประพฤติของนักเรียน เชิญหน่วยงานหรือผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและเฝ้าระวังนักเรียนเสพยาเสพติด มีการจัดโครงการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมให้กับนักเรียน มีโครงการการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้น่าอยู่ มีการรณรงค์จัดโรงเรียนให้เป็นเขตปลอดสารเสพติด และมีการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ รองลงมามีสมาคมผู้ปกครองและ จัดเวรยามทั้งกลางวัน กลางคืน ร้อยละ 97.00 มีการแนะแนวและติดตามประเมินผลผู้ที่มีปัญหาเสพยาเสพติด ร้อยละ 93.60 มีการประชุมประชุม 1-2 ครั้งต่อเดือน และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 90.90 ส่วนครูได้พบบุคคลในและนอกโรงเรียนเสพยาเสพติด

     สถานการณ์ยาเสพติดในโรงเรียนครู พบมากที่สุดคือนักเรียน ร้อยละ 23.20 รองลงมาคือชาวบ้าน ร้อยละ 15.52 ส่วนสารเสพติดที่พบมากเป็นบุหรี่ ร้อยละ 85.90 สุรา ร้อยละ 52.50 และสถานที่ในโรงเรียนที่นักเรียนมั่วสุม มากที่สุด คือ ห้องน้ำ ห้องส้วม ร้อยละ50 รองลงมาหลัง อาคารเรียน ร้อยละ 24.70 ครูพบคนแปลกหน้าเข้าไปในโรงเรียน ร้อยละ 50.00 และได้มีการเตือนให้เลิก ร้อยละ 61.10 และแจ้งให้ผู้บริหารทราบ ร้อยละ 47.00

     ครูโรงเรียนมัธยมในจังหวัดแพร่ มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด มากที่สุด ร้อยละ 100 โดยสอดแทรกความรู้ และวิธีการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในการเรียนการสอน รองลงมาครูมีส่วนร่วมร้อยละ 99.50 ในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการต่อต้านยาเสพติด มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้กับนักเรียน มีการจัดวิทยากร มาให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด และมีการขอความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน หน่วยงานราชการ เอกชน เพื่อช่วยกันดูแลบุตรหลานไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ร้อยละ 99.50 มีการจัดกิจกรรมประกวด คำขวัญ หรือเรียงความ เพื่อตระหนักถึงภัยของยาเสพติด มีการจัดป้ายนิทรรศการเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดและโทษของยาเสพติด และอื่น ๆ ร้อยละ 99.00 มีการจัดให้มีผู้นำทางศาสนา อบรมคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง มีการอบรมนักเรียนเป็นแกนนำเพื่อเป็นตัวแทนในการสอดส่องดูแลการเสพยาเสพติด ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ร้อยละ 98.50 มีการจัดนิเทศติดตามผล ร้อยละ 98.00 มีการให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำแก่นักเรียนที่มีปัญหาเพื่อหลีกเลี่ยงการเสพยาเสพติด มีการประชุมผู้ปกครอง 1 ครั้งต่อภาคการศึกษา ร้อยละ 95.50 ขอความร่วมมือในการป้องกันยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง มีการรณรงค์ให้ครู ลด ละเลิกการเสพยาเสพติด เช่น บุหรี่ เหล้า ฯลฯ เพื่อเป็นแบบอย่าง ร้อยละ 92.90 ช่วงโรงเรียนปิดเทอม หรือวันหยุด ทางโรงเรียนได้จัดโครงการอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาจิตใจของนักเรียนอย่างต่อเนื่องและมีการดูแลและประเมินผลนักเรียนที่ติดยาเสพติด ร้อยละ 86.40 มีการจัดโครงการพัฒนาอาชีพให้กับนักเรียนเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ร้อยละ 85.40

     ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการส่งเสริมให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีการรับฟังปัญหาของนักเรียน ร้อยละ 94.90 มีการตักเตือนนักเรียนให้ตระหนักถึงโทษของยาเสพติด ร้อยละ 94.30 ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนและเจ้าหน้าที่ในการช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ร้อยละ 93.50 มีการสอดส่องดูแลในการคบเพื่อน ร้อยละ 91.70 และดูแลพฤติกรรมด้านการเรียนของนักเรียนว่ามีผลการเรียนต่ำผิดปกติ ร้อยละ 87.70 มีการติดตามตรวจสอบการเดินทางไป กลับของนักเรียนจากโรงเรียน ร้อยละ 86.90 และได้รับคำปรึกษาจากโรงเรียนเมื่อเห็นนักเรียนมีพฤติกรรมที่ผิดสังเกต ร้อยละ 80.10