บทความวิชาการ
แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ : ปัญหา อุปสรรค การแก้ไขและแนวทางการพัฒนา
17 เม.ย. 61 | พระพุทธศาสนา
2692

ผู้แต่ง :: พระมหาสุทัศน์ นักการเรียน (ติสฺสรวาที) และคณะ


 
พระมหาสุทัศน์ นักการเรียน (ติสฺสรวาที) และคณะ (2558)

แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ :
 ปัญหา อุปสรรค การแก้ไขและแนวทางการพัฒนา

The Action of Thai Qualifications Framework for Higher Education: 
   Problems Barrier Adjustment and Improvement

                                                    โดย  พระมหาสุทัศน์  นักการเรียน (ติสฺสรวาที)

                                  นางไฉไลฤดี  ยุวนะศิริ นางรุ่งทิพย์  กล้าหาญ

                       นางสาวปฏิธรรม  สำเนียง

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรค การแก้ไขและแนวทางการพัฒนาของการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยที่ผสมผสานระหว่างวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณลักษณะ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและประเด็นการเสวนา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วยผู้บริหารและคณาจารย์จากส่วนงานต่าง ๆ ทั้งในระดับคณะ วิทยาเขต  วิทยาลัย โครงการขยายห้องเรียนและหน่วยวิทยบริการ รวม ๕๑ แห่ง จำนวนทั้งสิ้น ๕๘๓  รูป/คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหาร ๘๔ รูป/คน และคณาจารย์  ๔๔๙ รูป/คน ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   จากนั้นจึงนำมาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้  โดยการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรจากค่าสถิติ F-test ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และ Chi-square พร้อมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากสนทนาในเวทีการเสวนาระดับคณะ วิทยาเขตและวิทยาลัย จำนวน ๑๐ ครั้ง

ผลการวิจัยพบว่า

ผู้บริหารหรืออาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการสอนที่แตกต่างกันมีความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕  ผู้มีประสบการณ์ในการสอนไม่เกิน ๕ ปี มีความสัมพันธ์กับระดับความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ แตกต่างกันกับผู้มีประสบการณ์ในการสอน ๑๐ – ๑๕ ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ผู้มีประสบการณ์ในการสอน ๖ – ๑๐ ปี มีความสัมพันธ์กับระดับความเข้าเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ แตกต่างกันกับผู้มีประสบการณ์ในการสอน ๑๖ ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕   และผู้มีประสบการณ์ในการสอน ๑๐ – ๑๕ ปี ไม่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ แตกต่างกันกับผู้มีประสบการณ์ในการสอน ๑๖ ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

อาจารย์หรือผู้บริหารที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับลักษณะการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕  โดยคุณวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาโทมีลักษณะการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ แตกต่างกันกับคุณวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาเอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

อาจารย์หรือผู้บริหารที่มีพฤติกรรมการหาความรู้เกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) ที่แตกต่างกันมีลักษณะการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.๐๑ ผู้ที่ศึกษาด้วยตนเองมีลักษณะการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ แตกต่างกันกับผู้เข้ารับการอบรม และผู้ไม่เคยหาความรู้มาก่อนเลย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และผู้เข้ารับการอบรมมีลักษณะการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ แตกต่างกันกับผู้ไม่เคยหาความรู้มาก่อนเลย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ เช่นเดียวกับการผู้ที่ผ่านการอบรมเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) มีลักษณะการปฏิบัติต่างจากผู้ที่ไม่เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.)  แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑

อาจารย์หรือผู้บริหารผู้ที่เคยมีประสบการณ์รับผิดชอบเขียนเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิะดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) มีลักษณะการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติแตกต่างจากผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์รับผิดชอบเขียนเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑

การแก้ไขและแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เหมาะสมและนำสู่รูปธรรมของการดำเนินงาน มีหลายรูปแบบ ดังนี้

๑. การศึกษาทำความเข้าใจก่อนดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ พร้อมตั้งคณะกรรมการตามหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อติดตามกำกับดูแลคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา  โดยการประชุมเพื่อทำความเข้าใจ แล้วตั้งคณะกรรมการติดตามประเมินผลการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตร  และจัดประชุมคณะกรรมการประจำหลักสูตรปีละอย่างน้อย ๔ ครั้ง เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัย  ตลอดจนจัดประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยสงฆ์ สรุปผลการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนก่อนเปิดเทอมทุกครั้ง

๒. เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การบริหารจัดการหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ   ต้องคำนึงถึงการมีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในทางปฏิบัติโดยมีการกระจายอำนาจจาก ส่วนกลางไปสู่ส่วนงานจัดการศึกษา

๓. สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคม และสถานประกอบการในการกำหนดนโยบายการบริหารหลักสูตรกระบวนการผลิตและพัฒนานิสิตกาลังคน  รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานบัณฑิต และการประสานภาคีเครือข่ายภาคเอกชน  ภาครัฐ  ท้องถิ่น เพื่อการพัฒนานิสิต

๔. ควรออกแบบจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย และมีระบบเทียบโอนผลการเรียนและระบบเทียบ ประสบการณ์การทำงานของบุคคลเพื่อเข้ารับการศึกษา   การกำหนดกลไกให้นิสิตมีกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสังคม  การจัดระบบการเทียบโอนผลการเรียน  การประกาศคุณธรรมนิสิตและการสนับสนุนให้อาจารย์ผลิตผลงานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานิสิตและจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน

๕. มีการระดมทรัพยากรทั้งจากภาครัฐและเอกชนในการจัดการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงการประสานประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

๖. การมีระบบการพัฒนาอาจารย์แต่ละหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อความ เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ศาสตร์สมัยใหม่และสถานการณ์ทางสังคม  โดยการแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร การยกย่องเชิดชูอาจารย์โดยการมอบรางวัลต่างๆ การจัดกิจกรรมประชุมวิชาการเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ผลงานวิชาการของอาจารย์และพัฒนานิสิต

จากผลการศึกษา คณะผู้วิจัยเสนอให้มหาวิทยาลัยจัดทำคู่มือการบริหารจัดการหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิะดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ ในการดำเนินการหลักสูตรรวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานต่างๆที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้กำหนดขึ้น  สำหรับใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานบริหารจัดการและพัฒนาหลักสูตรให้มีความหลากหลาย บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร

 

ABSTRACT

 

This research aimed at studying the current situations of barriers and its solutions together with the development guideline based on the Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF) in Mahachulalongkornrajavidayalaya University. The study is conducted by a Mixed Research Methods as the Qualitative and Quantitative. 

The instruments used in this research were questionnaires and discussion issues. The sample consisted of administrators and lecturers from various sections viz. faculties, campuses, Sangha colleges, Academic Service Units including 51 academic areas of a total 583 persons – 84 of administrators and 449 of lecturers.

The collected data were analyzed by the percentage and the Standard Deviation followed by the F – Test, the ANOVA and Chi-Square.   

The results revealed that the experienced administrators and lecturers have a different comprehended on the Thai Qualifications Framework which showed statistically significant at .05.

The lecturers who gained lower than 5 years of teaching experience, they have a different comprehended on the Thai Qualifications Framework between the lecturers who gained more than 10 – 15 years of teaching experience which showed statistically significant at .05.

 The lecturers who gained 6-10 years of teaching experience have a different comprehended on the Thai Qualifications Framework between the lecturers who gained more than 16 years of teaching experience which showed statistically significant at .05.

And followed by the lecturers who gained 10-15 years of teaching experience have a different comprehended on the Thai Qualifications Framework between the lecturers who gained more than 16 years of teaching experience which showed statistically significant at .05.

Regarding to the lectures and administrators who gained different educational backgrounds, they have a different comprehended on the Thai Qualifications Framework which showed statistically significant at .05.

Persons who graduated the master degree, they have a different comprehended on the Thai Qualifications Framework between ones who graduated a doctoral degree which showed statistically significant at .05.

The lecturers or administrators who have done a self-study of the Thai Qualifications Framework, they have followed the Qualifications Framework for Higher Education in the different way which showed statistically significant at .01.

Persons who have done a self-study of the Thai Qualifications Framework, they have a different comprehend from ones who have trained by the university staff, which showed statistically significant at .05.

In case of the trained persons, they have followed and comprehended the Thai Qualifications Framework more than ones who untrained, which showed statistically significant at .05. In addition, ones who have been trained the Thai Qualifications Framework; they have followed it, which showed statistically significant at .01.

The lecturers and administrators who experienced on the Thai Qualifications Framework, they have followed if differently from the inexperienced which showed statistically significant at .01.

The results can be summarized that the university attempted to manage which concerning on the PDCA. This can be seen clearly in the curriculum that based on the Thai Qualifications Framework.

An attempt to apply the National Qualifications Framework with Thai Qualifications Framework (TQF1), it has been made through a variety of mechanism.  

In addition, the MCU has applied the Thai Qualifications Framework in order to find the appropriate teaching strategies and used the proper way to evaluate students and curriculum. The university has created the link between the TQF and the Internal Quality Assurance and others organizations. In addition, the administrators attempted to design the guideline in order to expand and follow up the TQF based the process of PDCA.

The development guideline of curriculum management based on the Thai Qualifications Framework in the MCU, the administrators and lecturers should realize and follow the TQF respectively, by designing the curriculum that focus on the outcome and develop the students’ abilities. Therefore, the process of curriculum management should be based on the Deming Cycle viz. Plan, Do, Check and Act

 

ความสำคัญของปัญหา

การประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. ๒๕๔๒ ส่งผลกระทบให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับและเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการภาครัฐเป็นอย่างมาก มีการเน้นหนักในเรื่องการปรับปรุงหลักสูตรและการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเพื่อพัฒนาความคิดและการแก้ปัญหาของนักศึกษา ตลอดถึงการพัฒนาคุณค่าและวัฒนธรรมของไทย ประกอบกับยังมีการยกระดับของสถาบันราชภัฏและสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย รวมถึงการเปิดสอนหลักสูตรระดับอุดมศึกษาในวิทยาลัยชุมชนและสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีความเป็นอิสระมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้สถาบันอุดมศึกษามีความหลากหลาย ประชาชนมีโอกาสเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษากันได้อย่างทั่วถึง สถาบันอุดมศึกษามีอิสระในการจัดการศึกษาได้มากขึ้น ท่ามกลางสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาตามมา กล่าวคือ จะทำอย่างไรให้สังคมเชื่อมั่นได้ว่าคุณวุฒิที่บัณฑิตได้รับจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เหล่านั้นมีคุณภาพและมาตรฐานที่เท่าเทียมกันหรือเทียบเคียงกันได้อย่างน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศด้วยการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษา

สิ่งหนึ่งที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพและความมีมาตรฐานของคุณวุฒิดังกล่าว ได้แก่ คุณภาพของบัณฑิตที่ได้รับคุณวุฒินั้นๆ ซึ่งสามารถพิจารณาจากผลลัพธ์การเรียนรู้ของบัณฑิตทางด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะด้านต่างๆ ในการทำงานและการประกอบอาชีพ รวมทั้งคุณลักษณะอื่นๆ ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในฐานะที่เป็นหน่วยงานกํากับและส่งเสริมการดําเนินการของสถาบันอุดมศึกษาจึงได้ดําเนินการโครงการจัดทํากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย (Thai Qualifications Framework for Higher Education; TQF:HEd) เพื่อเป็น เครื่องมือในการนํานโยบายที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเกี่ยวกับมาตรฐาน การศึกษาของชาติในส่วนของมาตรฐานการอุดมศึกษาไปสู่การปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษามุ่งเน้นเป้าหมายการจัดการศึกษาที่ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของนักศึกษา ซึ่งเป็นการประกันคุณภาพบัณฑิตที่ได้รับคุณวุฒิแต่ละคุณวุฒิ และสื่อสารให้สังคม ชุมชน รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศเข้าใจได้ตรงกันและ เชื่อมั่นถึงผลการเรียนรู้ที่บัณฑิตได้รับการพัฒนาว่า มีมาตรฐานที่สามารถเทียบเคียงกันได้กับสถาบันอุดมศึกษาที่ดีทั้งในและต่างประเทศ[1]

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ทำงานวิจัย เพื่อศึกษากรอบแนวคิดคุณลักษณะบัณฑิตของประเทศไทย และเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ ให้อยู่ในระดับสากลร่วมกับผู้เชี่ยวชาญออสเตรเลียและได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยขึ้น เพื่อศึกษาและพิจารณาแนวทางการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต และพบว่าประเทศต่างๆ เหล่านั้นได้จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพสถานศึกษาทั้งภายในและภายนอกเช่นเดียวกับประเทศไทยแต่ที่ได้พัฒนาก้าวล้ำไปกว่า คือ การจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติเพื่อสนับสนุนการประกันคุณภาพบัณฑิต นอกจากนี้ในหลายประเทศกรอบมาตรฐานคุณวุฒิไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเท่านั้นแต่ยังได้รวมถึงระดับอาชีวศึกษาและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอีกด้วย

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยมีหลักการสำคัญ คือ มุ่งเน้นที่มาตรฐานสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ของบัณฑิต (Learning Outcomes) ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำเชิงคุณภาพ เพื่อประกันและสื่อสารให้หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจและมั่นใจถึงกระบวนการผลิตบัณฑิต  โดยยึดหลักความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.. ๒๕๔๕ ตลอดจนมาตรฐานการศึกษาของชาติและมาตรฐานการอุดมศึกษา โดยมุ่งให้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา เป็นเครื่องมือในการนำแนวนโยบายในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาของชาติ และมาตรฐานการอุดมศึกษาไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา มีแนวทางที่ชัดเจนในการนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรการปรับเปลี่ยนกลวิธีการสอนของอาจารย์ การเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อให้มั่นใจว่า บัณฑิตจะบรรลุมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่มุ่งหวังได้จริง  ทั้งยังมุ่งที่จะประมวลกฎเกณฑ์และประกาศต่างๆ ที่ได้ดำเนินการไว้แล้วเข้าไว้ด้วยกันและเชื่อมโยงกันอยู่ในเอกสารฉบับเดียว ซึ่งจะสามารถอธิบายให้ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความหมายและความมีมาตรฐานในการจัดการศึกษาของคุณวุฒิหรือปริญญาในระดับต่างๆ  มุ่งให้คุณวุฒิหรือปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาใดๆ ของประเทศไทย เป็นที่ยอมรับและเทียบเคียงกันได้ทั้งในสถาบันอุดมศึกษาของในและต่างประเทศ เนื่องจากกรอบมาตรฐานคุณวุฒิจะช่วยกำหนดความมีมาตรฐานในการจัดการศึกษาในทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบ โดยเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดหลักสูตร ตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย โดยมั่นใจถึงผลผลิตสุดท้ายของการจัดการศึกษา คือ คุณภาพของบัณฑิตจะมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่มุ่งหวัง สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุขและภาคภูมิใจ เป็นที่พึงพอใจของนายจ้าง และเป็นคนดีของสังคม ช่วยเพิ่มความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศชาติได้

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภายใต้สถานะของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ได้จัดให้มีกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ขณะเดียวกัน เป็นมหาวิทยาลัยที่โครงสร้างการบริหารมีการขยายส่วนงานภายใต้สังกัดในฐานะ คณะ วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ โครงการขยายห้องเรียนและหน่วยวิทยบริการ ในพื้นที่หลายจังหวัดทั่วประเทศ การมีส่วนงานภายใต้สังกัดจำนวนมากและอยู่ในลักษณะกระจาย รูปแบบการจัดการเรียนการสอนมีหลักสูตรกลางหลักสูตรเดียวแต่นำไปเปิดสอนทั่วประเทศภายใต้การบริหารจัดการของส่วนงานจัดการศึกษาแต่ละแห่ง โดยมีอาจารย์ในส่วนงานนั้นๆ เป็นผู้สอน ก่อให้เกิดความหลากหลายด้านอาจารย์ วิธีการสอน วิธีการวัดผลประเมินผล มคอ.๓  มคอ.๕ และ มคอ.๗

ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ถึงแม้ว่ากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จะถูกนำมาใช้ในฐานะที่เป็นชุดเครื่องมือในพัฒนาคุณภาพบัณฑิต แต่ยังพบว่ากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ยังไม่สามารถขับเคลื่อนให้มีการบริหารเชิงคุณภาพได้ทั่วทั้งองค์กรของมหาวิทยาลัยได้อย่างแท้จริง โดยมีหลายหลักสูตรไม่สามารถดำเนินการตามกรอบมาตรฐานได้ครบกระบวนการ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน และบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษา ในภาพรวมของหลักสูตรและมหาวิทยาลัย

ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เพื่อนำไปสู่การศึกษาแนวทางในพัฒนาการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เพื่อให้ผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการบริหารหลักสูตรกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น และเป็นเครื่องมือในการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยเชิงคุณภาพในอนาคตต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย

๑. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคของการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๒. เพื่อศึกษาการแก้ไขและแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

ผลที่ได้รับจากการวิจัย

๑. การศึกษาวิจัยทำให้ทราบ แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ รวมทั้งปัญหา อุปสรรค การแก้ไขและแนวทางการพัฒนาของมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๒.  มหาวิทยาลัยนำผลที่ได้จากการศึกษาไปประกอบการวางแผนพัฒนาการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

คำสำคัญ 

                 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สภาพและแนวทางการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ อาจารย์

แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้เป็นกรอบคิดในการวิจัย

                 แนวคิดการพัฒนาหลักสูตร  แนวคิดการบริหารหลักสูตร การออกแบบการสอนแบบย้อนกลับ แนวคิดการบริหารคุณภาพและการประกันคุณภาพภายในด้วยวงจรเดมมิ่ง (PDCA) และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

ระเบียบวิธีการวิจัย

     การวิจัยครั้งนี้จะเป็นการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : ปัญหา อุปสรรค การแก้ไขและแนวทางการพัฒนา ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมในหลายมิติ คณะผู้วิจัยจึงเลือกใช้ระเบียบวิธีการวิจัยที่ผสมผสานระหว่างวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณลักษณะ 

 

กลุ่มตัวอย่างการวิจัย

     อาจารย์และผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากส่วนงานจัดการศึกษา ๕๑ แห่ง คือ คณะ ๕ คณะ วิทยาเขต ๑๐ แห่ง วิทยาลัยสงฆ์ ๑๒ แห่ง โครงการขยายห้องเรียน ๕ แห่ง และหน่วยวิทยบริการ ๑๙ แห่ง จำนวน ๗๔๓ รูป/คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ตัวแทนผู้บริหารและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากส่วนงานระดับคณะ ๕ แห่งในส่วนกลาง วิทยาเขต ๔ แห่ง คือ ภาคเหนือ ๑ แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑ แห่ง ภาคกลาง ๑ แห่ง ภาคใต้ ๑ แห่ง และวิทยาลัยสงฆ์ ๔ แห่ง คือ ภาคเหนือ ๑ แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑ แห่ง ภาคกลาง ๑ แห่ง ภาคใต้ ๑ แห่ง แห่งละ ๑๐ รูป/คน รวม ๑๓ ส่วนงาน ๑๓๐ รูป/คน

 

เครื่องมือการวิจัย

     ๑. การศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติระดับอุดมศึกษา ใช้การกำหนดประเด็นการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  การสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูล

     ๒. การศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติระดับอุดมศึกษา  ใช้แบบสอบถามทั้งลักษณะเลือกตอบและเขียนตอบ เป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูล 

 

ขั้นตอนการวิจัย

     ๑. การสร้างประเด็นการสนทนากลุ่มและเวทีการเรียนรู้ โดยการสังเคราะห์จากเอกสารงานวิจัยและกรอบแนวคิดที่กำหนดไว้ 

     ๒.การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  การสนทนากลุ่มผู้บริหารและอาจารย์ของส่วนงานจัดการศึกษา เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

     ๓. พัฒนาเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถาม  จากข้อมูลสภาพจริงที่ได้จากการลงภาคสนามในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในส่วนงานต่าง ๆ

     ๔. กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วยผู้บริหารและคณาจารย์จากส่วนงานต่าง ๆ ทั้งในระดับคณะวิชา  วิทยาเขต  วิทยาลัยสงฆ์  และหน่วยวิทยาบริการ  จำนวนทั้งสิ้น ๕๘๓  รูป/คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหาร  ๘๔   รูป/คน และคณาจารย์  ๔๔๙ รูป/คน

     ๕. การวิเคราะห์ข้อมูล นำค่ามาวิเคราะห์ผลด้วยใช้สถิติพื้นฐาน  ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   จากนั้นจึงนำมาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้  โดยการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรจากค่าสถิติ F-test ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวน(ANOVA) และ Chi-square พร้อมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากสนทนาในเวทีการเสวนาระดับคณะ วิทยาเขตและวิทยาลัยสงฆ์ จำนวน  ๑๐  ครั้ง

 

สรุปและอภิปรายผลการวิจัย  

     ผู้บริหารหรืออาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการสอนที่แตกต่างกันมีความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕  ผู้มีประสบการณ์ในการสอนไม่เกิน ๕ ปี มีความสัมพันธ์กับระดับความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ แตกต่างกันกับผู้มีประสบการณ์ในการสอน ๑๐ – ๑๕ ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ผู้มีประสบการณ์ในการสอน ๖ – ๑๐ ปี มีความสัมพันธ์กับระดับความเข้าเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ แตกต่างกันกับผู้มีประสบการณ์ในการสอน ๑๖ ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕   และผู้มีประสบการณ์ในการสอน ๑๐ – ๑๕ ปี ไม่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ แตกต่างกันกับผู้มีประสบการณ์ในการสอน ๑๖ ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

     อาจารย์หรือผู้บริหารที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับลักษณะการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕  โดยคุณวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาโทมีลักษณะการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ แตกต่างกันกับคุณวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาเอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

     อาจารย์หรือผู้บริหารที่มีพฤติกรรมการหาความรู้เกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) ที่แตกต่างกันมีลักษณะการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.๐๑ ผู้ที่ศึกษาด้วยตนเองมีลักษณะการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ แตกต่างกันกับผู้เข้ารับการอบรม และผู้ไม่เคยหาความรู้มาก่อนเลย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และผู้เข้ารับการอบรมมีลักษณะการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ แตกต่างกันกับผู้ไม่เคยหาความรู้มาก่อนเลย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ เช่นเดียวกับการผู้ที่ผ่านการอบรมเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) มีลักษณะการปฏิบัติต่างจากผู้ที่ไม่เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.)  แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑

     อาจารย์หรือผู้บริหารผู้ที่เคยมีประสบการณ์รับผิดชอบเขียนเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิะดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) มีลักษณะการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติแตกต่างจากผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์รับผิดชอบเขียนเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑

การแก้ไขและแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เหมาะสมและนำสู่รูปธรรมของการดำเนินงาน มีหลายรูปแบบ ดังนี้

๑. การศึกษาทำความเข้าใจก่อนดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ พร้อมตั้งคณะกรรมการตามหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อติดตามกำกับดูแลคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา  โดยการประชุมเพื่อทำความเข้าใจ แล้วตั้งคณะกรรมการติดตามประเมินผลการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตร  และจัดประชุมคณะกรรมการประจำหลักสูตรปีละอย่างน้อย ๔ ครั้ง เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัย  ตลอดจนจัดประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยสงฆ์ สรุปผลการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนก่อนเปิดเทอมทุกครั้ง

๒. เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การบริหารจัดการหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ   ต้องคำนึงถึงการมีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในทางปฏิบัติโดยมีการกระจายอำนาจจาก ส่วนกลางไปสู่ส่วนงานจัดการศึกษา

๓. สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคม และสถานประกอบการในการกำหนดนโยบายการบริหารหลักสูตรกระบวนการผลิตและพัฒนานิสิตกาลังคน  รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานบัณฑิต และการประสานภาคีเครือข่ายภาคเอกชน  ภาครัฐ  ท้องถิ่น เพื่อการพัฒนานิสิต

๔. ควรออกแบบจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย และมีระบบเทียบโอนผลการเรียนและระบบเทียบ ประสบการณ์การทำงานของบุคคลเพื่อเข้ารับการศึกษา   การกำหนดกลไกให้นิสิตมีกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสังคม  การจัดระบบการเทียบโอนผลการเรียน  การประกาศคุณธรรมนิสิตและการสนับสนุนให้อาจารย์ผลิตผลงานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานิสิตและจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน

๕. มีการระดมทรัพยากรทั้งจากภาครัฐและเอกชนในการจัดการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงการประสานประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

๖. การมีระบบการพัฒนาอาจารย์แต่ละหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อความ เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ศาสตร์สมัยใหม่และสถานการณ์ทางสังคม  โดยการแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร การยกย่องเชิดชูอาจารย์โดยการมอบรางวัลต่างๆ การจัดกิจกรรมประชุมวิชาการเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ผลงานวิชาการของอาจารย์และพัฒนานิสิต

     จากผลการศึกษา คณะผู้วิจัยเสนอให้มหาวิทยาลัยจัดทำคู่มือการบริหารจัดการหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิะดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ ในการดำเนินการหลักสูตรรวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานต่างๆที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้กำหนดขึ้น  สำหรับใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานบริหารจัดการและพัฒนาหลักสูตรให้มีความหลากหลาย บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร

 

เอกสารอ้างอิง

             ๑. ภาษาไทย

                ๑) หนังสือและเอกสาร

กรมวิชาการ. “ จากนโยบายรัฐบาลถึงการปฏิรูปการศึกษา. ” วารสารขาราชการครู ๑๖ ,

                  (กุมภาพนธ์-มีนาคม ๒๕๓๙).

กรมวิชาการ. แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ ๒.

                  กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษา, ๒๕๔๕.

กาญจนา คุณารักษ์. “หลักสูตรและการพัฒนา.” นครปฐม: ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

                  วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, ๒๕๔๐.

คณะกรรมการการอุดมศึกษา. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๕๒ และแนวทาง

     ปฏิบัติ. เอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการ

      ปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒.

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงศ์. การพัฒนาหลักสูตร: หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์

      กลีนเพรส, ๒๕๓๙.

จำรัส นองมาก. การประกันคุณภาพการศึกษาอย่างถูกต้องและมีความสุข. กรุงเทพมหานคร: ฟิสิกส์

                  การพิมพ์, ๒๕๔๕.

ธำรง  บัวศรี. ทฤษฎีหลักสูตร ภาค ๒. พระนคร: มงคลการพิมพ์, ๒๕๐๔.    

 

                ๒) งานวิจัย

กฤตพร ชูเส้ง, สุวดี ประดับ, พรรณี วิศิษฏ์วงศกร และศิราภรณ์ ชวเลขยางกูร, “คุณลักษณะของ

     บัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของ

     สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย”. รายงานวิจัย คณะเทคโนโลยีคห

      กรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. ๒๕๕๔.

ทัศนีย์ ประธาน และคณะ. “ศึกษาคุณลักษณะมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ

              ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ของนักศึกษาชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่”.   

                  รายงานวิจัย. เอกสารประกอบการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ ๔ วันที่ ๑๐

                  พฤษภาคม ๒๕๕๖.

 

             ๒. ภาษาอังกฤษ

Beauchamp, R.H., Education in Japan : A Source Book. New York : Garland, 1975.

Douglass , Herl R. Modern Administration of Secondary School . Boston : Ginn and

      Co , 1954.

Saylor, Galen J. and William M.Alexander , Planning Curriculum for Better School.

      New York : Holt , Rinehart and William , Inc . 1974.



[1] คณะกรรมการการอุดมศึกษา, กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๕๒ และแนวทางปฏิบัติ, (เอกสารแนบท้าย ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒), หน้า ๑.

(ที่มา: บทความวิจัย)