ผลของการสร้างเสริมความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมตามแนวพุทธให้กับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
14 ธ.ค. 59 | พระพุทธศาสนา
1293
ผู้แต่ง :: อัญชลี โอ่งเจริญ และคณะ
เข้าชม : ๕๕๓๐ ครั้ง |
''ผลของการสร้างเสริมความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมตามแนวพุทธให้กับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา''
|
|
อัญชลี โอ่งเจริญ และคณะ
(2556) |
ผลของการสร้างเสริมความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมตามแนวพุทธ
ให้กับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
Study of the Result to Bring up Self and Social Responsibility according to Buddhist Pupils Principle of Matthayom 1-3 for Phraprariyadtidhamma School
Watsothornvararam Chachoengsao Province
อัญชลี โอ่งเจริญ:
ค.บ.(คอมพิวเตอร์ศึกษา), ค.ม.(การบริหารการศึกษา)
ภูริทัต ศรีอร่าม:
พธ.บ.(ปรัชญา), ศน.บ.(พุทธศาสนาและปรัชญา)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการสร้างเสริมความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมตามแนวพุทธสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา และเพื่อเปรียบเทียบผลการสร้างเสริมความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมตามแนวพุทธสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา ก่อนและหลังการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบฝึกกรรมฐานกับแผนการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมงานศิลปะ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นแบบวัดชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 อันดับ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .945 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้นของผู้สอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่และร้อยละ ตอนที่ 2 แบบวัดความรับผิดชอบ โดยตรวจให้คะแนนแบบวัดความรับผิดชอบ ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม หลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มและทดสอบผลความคงทนของการทดลอง เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมทั้งหมดแล้วเป็นระยะเวลา 1 เดือน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสร้างเสริมความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมตามแนวพุทธสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบฝึกกรรมฐานกับแผนการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมงานศิลปะ โดยหลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความรับผิดชอบสูงกว่าก่อนการทดลอง เมื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบก่อนการทดลองและหลังการทดลองแล้วพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. เปรียบเทียบผลของการสร้างเสริมความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมตามแนวพุทธสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบฝึกกรรมฐานกับแผนการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมงานศิลปะ ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ดาวน์โหลด
|
(ที่มา: บทความทางวิชาการ) |
|
|
|
|