บทความวิชาการ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านตามความเห็นของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
14 ธ.ค. 59 | พระพุทธศาสนา
7101

ผู้แต่ง :: พัฒน์นรี อัฐวงศ์ และคณะ

เข้าชม : ๑๔๐๙๘ ครั้ง

''ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านตามความเห็นของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่''
 
พัฒน์นรี อัฐวงศ์ และคณะ (2556)

 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านตามความเห็นของนิสิต

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

Factors Affecting the reading Behavior according to the Opinion of The Students of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Phrae Campus

 

พัฒน์นรี  อัฐวงศ์: ศศ.บ.(การจัดการทั่วไป (บัญชี)),

กศ..(การบริหารการศึกษา) 

ผศ.ฉวีวรรณ  สุวรรณาภา: ศศ..(การพัฒนาชุมชน),

..(การประถมศึกษา), กศ..(บริหารการศึกษา)

ธีรวัฒน์  จันทร์จำรัส: พธ.บ.(สังคมศึกษา),

ศศ..(รัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง)

 

บทคัดย่อ

 

               การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาความเห็นของนิสิตเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความเห็นของนิสิตเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ จำแนกตามอายุและระยะเวลาในการอ่าน

            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย            วิทยาเขตแพร่ ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ จำนวน ๓๗๑ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ F-test

              ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

               . ผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ชั้นปีที่ศึกษา ชั้นปีที่๑ มากที่สุด รองลงมาได้แก่ นิสตปีที่ ๓ ปีที่ ๒ และปีที่ ๔ สาขาวิชาที่ศึกษา เป็นนิสิตสาขาวิชารัฐศาสตร์ มากที่สุด รองลงมาคือ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา สาขาวิชาสังคมศึกษา และสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ อายุของนิสิต ได้แก่ อายุ ๒๐-๓๐ ปี มากที่สุด รองลงมา อายุ ๓๑-๔๐ ปี อายุ ๔๑ ปีขึ้นไป และต่ำกว่า ๒๐ ปี ตามลำดับ ระยะเวลาในการอ่าน พบว่า ๑-๒ ชั่วโมงขึ้นไป รองลงมา ๓๐ นาที และมากกว่า ๒ ชั่วโมงขึ้นไปตามลำดับ ระยะเวลาในการอ่านต่อสัปดาห์ พบว่า ๓ ครั้ง/สัปดาห์ รองลงมา ๑ ครั้ง/สัปดาห์ มากกว่า ๕ ครั้ง/สัปดาห์ ๒ ครั้ง/สัปดาห์ ๔ ครั้ง/สัปดาห์ และ ๕ ครั้ง/สัปดาห์

               . ความเห็นของนิสิตเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรมการอ่านโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านประเภทหนังสือ พบว่า นิสิตอ่านหนังสือ หนังสือพิมพ์ และหนังสือความรู้ทั่วไป อ่านอยู่ในระดับปานกลาง และหนังสือภาษาต่างประเทศ เช่น บาลี สันสกฤต ภาษาอังกฤษ มีการอ่านอยู่ในระดับน้อย  ด้านจุดมุ่งหมายในการอ่าน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก คือ มีการค้นคว้าหาความรู้ สารประโยชน์จากการอ่าน และเพื่อความบันเทิง เพลิดเพลิน ผ่อนคลาย ด้านความรู้และภาษา อยู่ในระดับมาก คือ การนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง ด้านทักษะการอ่าน อยู่ในระดับมาก คือ มีการเรียนรู้โดยการขีดเส้นใต้เพื่อให้เกิดความจำ และพัฒนาทักษะการอ่านของตนเอง

               ๓. ความเห็นของนิสิตเกี่ยวกับปัจจัยที่สนับสนุนพฤติกรรมการอ่านโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านอยู่ในระดับมาก คือ สถานที่อ่านมีอากาศเย็นสบายและเหมาะสม และสภาพแวดล้อมในครอบครัว สนับสนุนในการอ่าน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านอยู่ในระดับมาก คือ การอ่านทำให้ผลการเรียนดี และมีความกระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้ และด้านแรงจูงใจส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่าน อยู่ในระดับมาก คือ มีความต้องการความรู้จากเรื่องที่อ่าน มีความต้องการในการติดตามข่าวสารบ้านเมืองให้เป็นปัจจุบัน และมีรางวัล คำชมเป็นสิ่งล่อใจ

               . นิสิตที่มีอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรมการอ่านโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

               . นิสิตที่มีอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุนพฤติกรรมการอ่านรวมโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

               . นิสิตที่มีระยะเวลาในการอ่านแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรมการอ่านรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

               . นิสิตที่มีระยะเวลาในการอ่านแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุนพฤติกรรมการอ่านรวมโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

 

Abstract

               This is a survey research which was conducted with the following objectives             1) To study opinions of students about the factor affecting the reading behavior of students of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Phrae Campus.  2) To compare the opinions of students about the factors affecting reading behavior of students of Mahachulalongkornrajavidyalaya University Phrae Campus.

Sample used in this research were 371 of students Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Phrae Campus who were studying in the academic year 2011. The research to was the constructed questionnaire. The statistics used to analyze the data were Percentage ( % ), Mean  (  ), Standard  Deviation  (S.D.)  and  by  F – test.

               The results of research can be summariged ad follows: 

   1. Most of the respondents were more males  than the femals, and most of them were the first year students followed by the third, the second and the fourth year students and most of them studied the field of Political Science followed by  Buddhism field, social studies field, and teaching English field. most of them were  20-30  years old followed by the  age of 31-40 years, 41 years up, and lower 20 years.  The period of time in reading was mostly 1-2 hour, followed by 30 minutes and more than 2 hours respectively.  For the frequency in reading, it was found that most of the students read 3 times a week, followed by 1 time a week, 5 times a week 2 times a week, 4 times a week and 5 times a week.

   2. As a whole, students opinions regarding the cause of reading behavior were in a high level.  For the types of books, it was found that student read books, newspapers and books of general knowledge in a moderate level, and they read Sanskrit and Pali English books in a low level.  Most of them had the purposes of reading in the high level which included searching for knowledge, use from reading, relaxation, enjoyment and entertainment. They were found with knowledge and language in the high level that is they utilized gained knowledge from reading in the real life.  They were also found with reading skills in the high with the level of learning by underlining for memory and developing their reading skills.

   3. Students opinions about the factors that support reading behavior, as a whole, were in a high level. For environment it was found that reading room is cool and appropriate. In addition, the family environment is important to encourage reading. For the academic achievement, it affected reading behavior in a high level: The reading resulted in better academic achievements and enthusiasm in search of knowledge. For motivation, it affected reading behavior in a high level. That is there is a need of knowledge from the topics read and the follow up of up-to-date information with the reward and praise as motivation.

   4. The students with different ages had different opinions about the factors that were the causes of reading, as a whole and for each aspect, which was statically significant at .05 level.

   5. The students with different ages, as a whole and for each aspect, had different opinions about the factors supporting reading behaviors that was statically significant at .05 level.

   6. The students who had a different period of time in reading expressed, as a whole and for each aspect, different opinions about the factors that were the causes of reading behaviors that was statically significant at .05 level.

   7. The student who had a different period of time in reading, as a whole and for each aspect, expressed different opinions about the factors supporting reading behaviors that was statically significant at .05 level.

 

บทนำ

 

การอ่านเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาแต่โบราณกาล ที่มนุษย์นำมาใช้ตั้งแต่เกิดจนตาย หากมนุษย์ ไม่มีนิสัยในการอ่านแล้ว วัฒนธรรมการอ่านก็คงสูญสิ้นไปนาน ไม่สืบทอดมาจนบัดนี้ วัฒนธรรมการอ่านเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดภาษา การเมือง การประกอบอาชีพ การศึกษา กฎหมาย ต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนอาศัยหนังสือและการอ่านเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่และพัฒนาให้คุณค่าแก่สังคม หนังสือทำให้การเมืองเปลี่ยนแปลงไปได้หากมีคนอ่านเป็นจำนวนมาก หนังสือและผู้อ่าน จึงอาศัยกันและกันเป็นเครื่องสืบทอดวัฒนธรรมของมนุษย์ ในสังคมที่เจริญแล้ว จะเห็นได้ว่า ในกลุ่มคนที่ไม่มีภาษาในการพูด การเขียน ไม่มีหนังสือไม่มีการอ่าน วัฒนธรรมของสังคมนั้นมักล้าหลัง ปราศจากการพัฒนา การอ่านจึงก่อให้เกิดคุณค่าทางสังคมในทุก ๆ ด้าน การอ่านยังเป็นหนึ่งในทักษะทางภาษาที่ต้องฝึกฝนอยู่ตลอด และไม่มีวันสิ้นสุด ตามวัยและประสบการณ์ของผู้อ่าน เพราะการอ่านจะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้มนุษย์ได้รับความรู้ ความคิด และความบันเทิงใจ แต่ในปัจจุบันจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม สังคมและเวลาที่มีจำกัด จึงทำให้มนุษย์ห่างเหินกับการอ่าน

ดังนั้น คณะผู้วิจัยเห็นความสำคัญของการอ่าน จึงศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านตามความเห็นของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมการอ่านของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ เพื่อให้สอดคล้องกับการส่งเสริมการอ่านให้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ชั้นปีที่ ๑ ชั้นปีที่ ๒ ชั้นปีที่ ๓ และชั้นปีที่ ๔ ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ จำนวน ๓๗๑ รูป/คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม

            นิยามศัพท์

               ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่าน หมายถึง ปัจจัยที่เป็นสาเหตุทางพฤติกรรมการอ่านและปัจจัยที่สนับสนุนพฤติกรรมการอ่านตามความเห็นของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

               ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรมการอ่าน หมายถึง ความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อประเภทหนังสือ จุดมุ่งหมายในการอ่าน ความรู้และภาษา และทักษะการอ่านของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

               ปัจจัยที่สนับสนุนพฤติกรรมการอ่าน หมายถึง ความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแรงจูงใจในการอ่านของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

   พฤติกรรมการอ่าน หมายถึง ความถี่และระยะเวลาในการอ่านหนังสือของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

   การอ่าน หมายถึง การทำความเข้าใจใจความจากตัวหนังสือของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

   นิสิต หมายถึง นิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นปีที่ ๑–๔ ทุกสาขาวิชา ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

 

 

 

วิธีการวิจัย

 

             การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ

               ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่          

   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ชั้นปีที่ ๑ ชั้นปีที่ ๒ ชั้นปีที่ ๓ และชั้นปีที่ ๔ ในปีการศึกษา ๒๕๕๓ จำนวน ๓๗๑ รูป/คน

  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล  เป็นแบบเลือกตอบ ที่ผู้วิจัยดำเนินการสร้างขึ้นและตรวจสอบคุณภาพตามกระบวนการของการสร้างแบบสอบถาม ๔ ตอน สถิติที่ใช้ใน

การวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  T-test และ F-test

 

ผลการวิจัย

 

               ๑. ความเห็นของนิสิตเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรมการอ่านโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านประเภทหนังสือ พบว่า นิสิตอ่านหนังสือ หนังสือพิมพ์ และหนังสือความรู้ทั่วไป ยกเว้น หนังสืออ้างอิงและพจนานุกรม มีการอ่านอยู่ในระดับปานกลาง และหนังสือภาษาต่างประเทศ เช่น บาลี สันสกฤต ภาษาอังกฤษ มีการอ่านอยู่ในระดับน้อย  ด้านจุดมุ่งหมายในการอ่าน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก คือ มีการค้นคว้าหาความรู้ สารประโยชน์จากการอ่าน และเพื่อความบันเทิง เพลิดเพลิน ผ่อนคลาย ด้านความรู้และภาษา อยู่ในระดับมาก คือ มีการนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง ด้านทักษะการอ่าน อยู่ในระดับมาก คือ มีการเรียนรู้โดยการขีดเส้นใต้เพื่อให้เกิดความจำ และพัฒนาทักษะการอ่านของตนเอง

               ๒.  ความเห็นของนิสิตเกี่ยวกับปัจจัยที่สนับสนุนพฤติกรรมการอ่านโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านอยู่ในระดับมาก คือ สถานที่อ่านมีอากาศเย็นสบายและเหมาะสม และสภาพแวดล้อมในครอบครัว สนับสนุนในการอ่าน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านอยู่ในระดับมาก คือ การอ่านทำให้ผลการเรียนดี และมีความกระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้ และด้านแรงจูงใจในการอ่านส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่าน อยู่ในระดับมาก คือ มีความต้องการความรู้จากเรื่องที่อ่าน มีความต้องการในการติดตามข่าวสารบ้านเมืองให้เป็นปัจจุบัน และมีรางวัล คำชมเป็นสิ่งล่อใจ

               ๓. นิสิตที่มีอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่าน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

               ๔. นิสิตที่มีระยะเวลาในการอ่านแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการอ่านดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

วิจารณ์

 

               ความเห็นของนิสิตเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่าน จำแนกเป็น ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรมการอ่านและปัจจัยที่สนับสนุนพฤติกรรมการอ่าน พบว่านิสิตมีความเห็นว่าประเภทของหนังสือ ได้แก่ หนังสือ วารสาร จุลสาร นิตยสาร สารคดี ศิลปวัฒนธรรม ปรัชญา ศาสนา จิตวิทยา สังคม ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หนังสืออ้างอิง พจนานุกรม สารานุกรม ปทานุกรม หนังสือนวนิยาย นิยาย เรื่องสั้น บันเทิง หนังสือการ์ตูน หนังสือวรรณคดี และหนังสือเพื่อสุขภาพ นอกจาก หนังสือพิมพ์ และหนังสือความรู้ทั่วไปเป็นประเภทหนังสือที่นิสิตอ่านมาก ซึ่งสอดคล้องกับ กำธร สถิรกุลและสุมน อมรวิวัฒน์[1] กล่าวถึง หนังสืออ้างอิง หรือพจนานุกรม เป็นหนังสือที่ค้นคว้าเอาเฉพาะเรื่องที่ต้องการจึงมีผู้อ่านน้อยมาก ซึ่งแตกต่างจากหนังสือพิมพ์ เป็นหนังสือที่มีวัตถุประสงค์หลักในการให้ข่าวสารปัจจุบันแก่ผู้อ่าน จึงมีผู้นิยมอ่านเป็นจำนวนมาก จุดมุ่งหมายในการอ่านย่อมแตกต่างไปทุกครั้งที่อ่าน เช่น อ่านเพื่อค้นคว้าหาความรู้ เพื่อหาคำตอบในเรื่องที่ต้องการ เพื่อรับรู้ข่าวสารข้อเท็จจริง เพื่อเผยแพร่ในหมู่วิชาการ เพื่อความบันเทิง ผ่อนคลาย ความเครียดจากงาน ซึ่งสอดคล้องกับ พนิตนันท์ บุญพามี[2] การอ่านครั้งหนึ่ง ๆ อาจมีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้ เช่น อ่านเพื่อความรู้ เพื่อหาคำตอบในเรื่องที่ต้องการ เพื่อรับรู้ข่าวสาร ข้อเท็จจริง เป็นการเพิ่มพูนความรู้ทั่วไปและความรู้ในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ มีการรับรู้ ในการสังเคราะห์ วิเคราะห์ในเรื่องที่อ่าน รวมไปถึงมีการวิเคราะห์และจัดประเภทความรู้ที่ได้จากการอ่านรวมไปถึงการพัฒนาความรู้และความสามารถในการใช้ภาษา ซึ่งสอดคล้องกับ ถนอม  ล้ำยอดมรรคผล[3]  บุคคลเรียนภาษาที่ใช้ติดต่อในสังคมกว้าง เริ่มรู้จักภาษามาตั้งแต่เด็กจนเป็นผู้ใหญ่ สะสมความรู้และประสบการณ์ ดังนั้นการอ่านจึงต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจในภาษา ซึ่งสอดคล้องกับ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์[4] การสอนทักษะการอ่านแนวใหม่ จึงต้องพัฒนาให้เป็นผู้อ่านหนังสือแบบเรียนรู้ จะทำให้เกิดความเข้าใจ โดยการเขียนลงในกระดาษและเน้นย้ำด้วยปากกาเน้นสี เพื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจนและจดจำ

               นอกจากนี้ความเห็นของนิสิตเกี่ยวกับปัจจัยที่สนับสนุนพฤติกรรมการอ่านตามความเห็นของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ด้านสิ่งแวดล้อม คือ ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมการอ่าน ได้แก่ สถานที่อ่านควรมีอากาศเย็นสบายและเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับ สมบูรณ์ ศาลยาชีวิน[5] ได้กล่าวถึง ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่สนับสนุนพฤติกรรมการอ่าน การส่งเสริมจากสภาพแวดล้อมในครอบครัว จากผู้ใหญ่ การตอบคำถาม การเป็นตัวอย่างที่ดี การจัดซื้อ จัดหาหนังสือใหม่มาให้ และแนะนำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน เช่น การอ่านในที่ทำงาน อ่านในห้องสมุด มุมหนังสือ หรือมุมอ่านหนังสือพิมพ์ รวมทั้งควรแสวงหาโอกาสอ่านจากแหล่งหนังสือภายนอกเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับตนเอง และสภาพแวดล้อมทั่ว ๆ ที่ทำให้ผู้อ่านพร้อมที่จะอ่าน คือ ความสงบ สมาธิ หรือแม้แต่เสียงเพลงเบา ๆ แสงสว่าง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีภาพและเสียงประกอบ ล้วนเป็นสิ่งแวดล้อมที่พึงปรารถนา รวมไปถึงอุปกรณ์ช่วยในการอ่านของแต่ละบุคคล เช่น แว่นตา เป็นต้น การอ่านทำให้ผลการเรียนดี และมีความกระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้ ทำให้เกิดความพร้อมในการอ่าน และมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของรอกีเย๊า แมซา[6]  ได้ศึกษาทัศนคติต่อการอ่านหนังสือและพฤติกรรมการอ่านหนังสือตามผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม พบว่า ผลการเรียนที่แตกต่างกัน นักศึกษามีทัศนคติต่อการอ่านหนังสือและพฤติกรรมการอ่านหนังสืออยู่ในระดับปานกลาง สอดคล้องกับ เตชปญฺโญ ภิกขุ[7] ได้นำหลักสมาธิมาใช้กับการเรียนของเด็ก ถ้าเด็กมีสมาธิก็จะเรียนเก่ง มีความจำดีและคิดเก่ง ส่วนใหญ่พบว่า เด็กสมัยนี้มีสมาธิสั้น ซึ่งจะส่งผลถึงการเรียนและพฤติกรรมของเด็ก จึงต้องใช้ความรู้จากการอ่านมาพัฒนาให้สติปัญญาเจริญงอกงาม ดังนั้นการอ่านจึงเป็นการเสริมสร้างสติปัญญา และแรงจูงใจในการอ่าน ของแต่ละบุคคลนั้นย่อมแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ เช่น การความรู้จากเรื่องที่อ่าน เป็นสิ่งจูงใจ มีความต้องการในการติดตามข่าวสารบ้านเมืองให้เป็นปัจจุบัน และมีรางวัล คำชม หรือสิ่งล่อใจ ซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิดของวรรณี ลินอักษร[8] เป้าหมายของการจูงใจ คือการเสริมแรงด้วยรางวัล คำชม หรือสิ่งล่อใจต่าง ๆ ความสนใจ และความอยากรู้อยากเห็นเป็นตัวกำหนดเป้าหมาย สิ่งเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจในการอ่านของแต่ละบุคคล

 

ข้อเสนอแนะ

 

            ข้อเสนอแนะจากการวิจัยในครั้งนี้

            ผลการศึกษาเรื่องความคิดเห็นของนิสิตเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ เป็นประโยชน์โดยตรงกับมหาวิทยาลัยในการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านพัฒนาห้องสมุด และการจัดหาหนังสือเพื่อนำมาให้บริการในห้องสมุดของเพื่อเป็นประโยชน์ต่อนิสิต ด้านประเภทหนังสือ พบว่า การจัดหาและพัฒนาห้องสมุด ปรับปรุง เสนอแนะแนวทางในการจัดหาหนังสือเพื่อนำมาให้บริการแก่นิสิตนั้นจะต้องสำรวจความจำเป็นและต้องการในหนังสือแต่ละประเภท เช่น การนำเอาระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการพัฒนาระบบการจัดการในห้องสมุด ได้แก่ e-book เป็นต้น จุดมุ่งหมายในการอ่าน พบว่า จุดมุ่งหมายในการอ่านของแต่ละบุคคลนั้นย่อมแตกต่างกันไป แต่หนังสือบางประเภทให้ทั้งความบันเทิงและความรู้ ควบคู่กันไป ซึ่งคนส่วนใหญ่นิยม เช่น หนังสือนวนิยายวิทยาศาสตร์ หนังสือประวัติศาสตร์  เพื่อหาคำตอบข้อข้องใจให้กับตนเอง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารประโยชน์ที่ได้จากการอ่าน ด้านความรู้และภาษา พบว่า การอ่านให้เกิดความรู้ ผลพลอยได้ที่ได้จากการอ่านก็คือ ภาษา ความเข้าใจในสาระสำคัญของสิ่งหรือเรื่องที่ได้อ่านไป มีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เดิม และพัฒนาภาษาของตนเอง เช่น การนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในสังคมออนไลน์ เป็นต้น ด้านทักษะการอ่าน พบว่า การอ่านด้วยตนเองหรือการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นการพัฒนาสติปัญญา และมีการนำเสนอสิ่งที่ได้จากการอ่าน เช่น สามารถอ่านจับใจความได้อย่างรวดเร็ว วิพากษ์พิจารณาใคร่ครวญ เพื่อหาข้อเท็จจริงที่ได้จากการอ่าน ด้านสิ่งแวดล้อมในการอ่าน พบว่า สิ่งแวดล้อม สถานที่ในการอ่านเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนให้เกิดการอ่าน เช่น การส่งเสริมการอ่านของผู้ปกครองโดยการหาหนังสือ การแนะนำหนังสือที่ดีมีสารประโยชน์ให้ รวมไปถึงบรรยากาศที่สนับสนุนการอ่าน เช่น ความสงบ สมาธิของผู้อ่าน แสงสว่าง ความหลากหลายของหนังสือที่อ่าน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ผู้เรียนชอบอ่านหนังสือ และทำความเข้าใจในการอ่านได้อย่างท่องแท้  เนื่องจากมีความกระตือรือร้นและสนใจ โดยมีผลการเรียนเป็นสิ่งจูงใจ หรือมีการส่งเสริมการอ่านจากกิจกรรมของมหาวิทยาลัย จากอาจารย์สนับสนุนให้มีการศึกษาค้นคว้า เพื่อให้ผู้อ่านมีผลการเรียนที่ดีตามไปด้วย และด้านแรงจูงใจในการอ่าน พบว่า เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ผู้เรียนอ่านเกิดพฤติกรรมการอ่าน เป็นการเสริมแรง ความต้องการภายใน เช่น อยากรู้ อยากเห็น การเสริมแรงจากภายใน แรงจูงใจจากรูปร่าง เนื้อหา และลักษณะของหนังสือ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งจูงใจให้ผู้อ่านเกิดความต้องการอ่าน รวมไปถึงรางวัล คำชม หรือสิ่งล่อใจ ล้วนแล้วแต่สนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมการอ่านทั้งสิ้น

            ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป

               คณะผู้วิจัยมีความเห็นว่าการศึกษาความคิดเห็นของนิสิตเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่าน เป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อที่จะนำผลการศึกษามาพัฒนาห้องสมุดและจัดเตรียมหาหนังสือให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และนำเอาสื่ออิเล็กทรอนิกส์นำมาใช้ในสถานศึกษา เช่น ระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ  และให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อ จัดหาหนังสือให้สอดคล้องกับความต้องการ

 

กิตติกรรมประกาศ

 

                  ขอขอบคุณสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

ที่สนับสนุนงบประมาณ

 

เอกสารอ้างอิง

 

กำธร สถิรกุล และสุมน อมรวิวัฒน์.  สารานุกรมสำหรับเยาวชนไทย เล่มที่ ๑๖ : ประเภท

ของหนังสือ.  < http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=2652>,

            27  February 2007.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.  บทความการศึกษาตามอัธยาศัย : สอนทักษะการอ่านหนังสือ

  แนวใหม่.  ใน การศึกษาวันนี้,

  < http://dnfe5.nfe.go.th/localdata/webimags/story267teachskin.html>

               ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๓๓๖ วันที่ ๗๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๐.

เตชปญฺโญ ภิกขุ.  เคล็ดลับการฝึกสมาธิ.  <www.whatami.net>, 25 August 2009.

 

ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล.  การใช้ภาษาไทย หน่วยที่ ๙-๑๕.  นนทบุรี:

               มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๓.

พนิตนันท์ บุญพามี.  เทคนิคการอ่านเบื้องต้นสำหรับบรรณารักษ์.  นครราชสีมา:   

               สถาบันราชภัฎนครราชสีมา, ๒๕๔๒.

รอกีเย๊าะ แมซา.  ศึกษาทัศนคติต่อการอ่านหนังสือและพฤติกรรมการอ่านหนังสือ

            ตามผลการเรียนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลมหาสารคาม.

            มหาสารคาม: วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม, ๒๕๕๒.

วรรณี  แกมเกตุ.  การศึกษา สถานการณ์การอ่านและดัชนีการอ่านของคนไทย ปี ๒๕๕๒. 

            กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒.

สมบูรณ์ ศาลยาชีวิน.  จิตวิทยาเพื่อการศึกษาผู้ใหญ่.  เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์, ๒๕๒๖.



[1] กำธร สถิรกุล และสุมน อมรวิวัฒน์, สารานุกรมสำหรับเยาวชนไทย เล่มที่ ๑๖: ประเภทของหนังสือ, < http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=2652>, 27  February 2007.

[2] พนิตนันท์ บุญพามี, เทคนิคการอ่านเบื้องต้นสำหรับบรรณารักษ์, (นครราชสีมา: สถาบันราชภัฎนครราชสีมา, ๒๕๔๒), หน้า ๑๑-๑๒.

[3] ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล, การใช้ภาษาไทย หน่วยที่ ๙-๑๕, (นนทบุรี:  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๓), พิมพ์ครั้งที่ ๑๒, หน้า ๕๓๓-๕๓๙.

[4] เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, บทความการศึกษาตามอัธยาศัย: สอนทักษะการอ่านหนังสือแนวใหม่, ใน การศึกษาวันนี้, < http://dnfe5.nfe.go.th/localdata/webimags/story267teachskin.html> ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๓๓๖ วันที่ ๗ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๐.

[5] สมบูรณ์ ศาลยาชีวิน, จิตวิทยาเพื่อการศึกษาผู้ใหญ่, (เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์, ๒๕๒๖), หน้า ๑๙.

[6] รอกีเย๊าะ แมซา, ศึกษาทัศนคติต่อการอ่านหนังสือและพฤติกรรมการอ่านหนังสือตามผลการเรียนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลมหาสารคาม, (มหาสารคาม: วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม, ๒๕๕๒), บทคัดย่อ.

[7] เตชปญฺโญ ภิกขุ, เคล็ดลับการฝึกสมาธิ, <www.whatami.net>, 25 August 2009.

[8] วรรณี  แกมเกตุ, การศึกษา สถานการณ์การอ่านและดัชนีการอ่านของคนไทย ปี ๒๕๕๒, (กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒), บทคัดย่อ.

(ที่มา: บทความทางวิชาการ)