บทความวิชาการ
การศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี
08 พ.ย. 59 | พระพุทธศาสนา
1971

ผู้แต่ง :: พระมหาบัณฑิต ปณฺฑิตเสวี

พระมหาบัณฑิต ปณฺฑิตเสวี (2556)

 

การศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรม

แผนกธรรม-บาลี  ในจังหวัดอุบลราชธานี

A Study of Monks and Novices’ Opinion toward the Education of Dhamma and Pali in Ubonrathathani 

 

พระมหาบัณฑิต ปณฺฑิตเสวี, ดร.

พธ.บ., ศศ.ม.

 

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี  ๒) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลีในจังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง คือ พระภิกษุสามเณรที่กำลังศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี  จำนวน ๔๐๐ รูป กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตาราง เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๑๕๐ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามพระภิกษุสามเณรเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งออกเป็น ๓ ตอนคือ ตอนที่ ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถามพระภิกษุสามเณรเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี ตอนที่ เป็นการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี  เป็นแบบสอบถามที่มีมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ ตอนที่ ๓ เป็นแบบสอบถามปลายเปิดแสดงความคิดเห็น ปัญหาและ อุปสรรค ต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย                ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)

 

 

 

 

             ผลการวิจัยพบว่า

๑) ความพึงพอใจของพระภิกษุสามเณรเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมทั้ง ๓ ด้าน อยู่ในระดับน้อย แต่เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการบริหารจัดการของสำนักเรียน

๒) ความพึงพอใจของพระภิกษุสามเณรเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี ได้เสนอแนะเกี่ยวกับปัญหา  และอุปสรรค ต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี สามารถแยกออกเป็นรายข้อได้ดังนี้ ๑) อยากให้โรงเรียนปริยัติธรรมทุกสำนักเรียนได้มีการสอนบาลี และอยากมีครูสอนบาลีด้วย  ๒) เสริมการเรียนการสอนนอกสถานที่ให้เต็มที่ มากกว่าเดิมยิ่งขึ้นไป  ๓) อยากจะให้มีสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี โดยใช้โปรแกรมเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาบาลี เพื่อความเข้าใจในการท่องจำ พระภิกษุ สามเณร ผู้เรียน ๔)  การจัดการเรียนการสอนสำหรับครูคฤหัสถ์ ที่สอนตามโรงเรียนปริยัติธรรมควรปฏิบัติตนต่อพระภิกษุสามเณร เช่น ไม่ควรตีตัวเสมอท่าน และไม่ควรแสดงกิริยาต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสมออกมา ให้รู้จักเคารพต่อเพศ พระภิกษุ และสามเณร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ แห่งพระพุทธศาสนา

 

Abstract

 

The objectives of this research are 1) to study opinions of monks and novices towards studying  Dharma in Pali in Ubonratchathani Province 2) to study problems and obstacles of teaching and learning Dharma in Pali in the province. The methodology used in this research is the questionnaire gathering information from sampling groups including 400 monks and novices studying at Mahachulalongkornrajavidyalaya  University, Ubonratchathani Campus and the Dharma in Pali Schools. The sampling group of 150 is specified by Krejcie and Morgan table. The tools used for collecting data are the questionnaires for monks and novices studying Dharma in Pali in the province which is divided into 3 sections : Section I. General Information of Respondents; Section II. Opinion of Respondents on studying Dharma in Pali in the province. This section is designed in weighting scale of 5 levels; Section III. Open-Ended Questionnaire on opinions of respondents on problems and obstacles in studying Dharma in Pali in the province. The data is analyzed by software packaged program for social science research. Statistics used on data analysis are frequency distribution in percentage, mean, and standard deviation

             Research Findings

1) Satisfaction level of monks and novices studying Dharma in Pali in all 3 areas of sections 2 of the research is averagely low. However, if each section is taken to consideration, the highest score is in the area of school management

2) Monks and novices studying Dharma in Pali in the province have expressed problems, obstacles and needs of their study as the following : 1) Pali teaching and Pali teachers  are necessary in all Dharma schools;   2) Supplementary Pali teaching outside classroom should be promoted; 3) More information technology, media and program on teaching Pali for understanding and reciting  should be provided to learners specially monks and novices; 4) Laymen as Pali teachers should properly behave and respect monks and novices as symbols of Buddhism

 

บทนำ

 

                 การจัดการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลีในเขตจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบันนี้ ถือได้ว่า เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสอบผ่านเพียงอย่างเดียว ในขณะเดียวกันการศึกษาต่อแผนกธรรมและบาลี ถือว่า เป็นขบวนการศึกษาขั้นต้น จึงเข้าใจว่า ยังไม่ถึงที่สุดของการบวชเรียน จึงเรียนควบคู่ไปกับการศึกษาสายสามัญ เพราะส่วนหนึ่งมีความเข้าใจว่า การศึกษาภาษาบาลีเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่สามารถดำรงชีพหรือนำไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัวได้ จึงทำให้บทบาทในการจัดการเรียนการสอนทั้งสองแผนกค่อนข้างจะลำบาก ครูผู้สอนไม่มี รวมถึงปัจจัยที่เอื้ออำนวยการต่อการเรียนการสอนไม่พร้อม จึงทำให้ขาดแรงจูงใจในการเรียน เมื่อนักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายตำราเรียน ครูผู้สอน จึงหันไปเรียนปริยัติสามัญแทน เช่น เรียนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ในสาขาวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก เพราะเข้าใจว่า วิชาการหรือศาสตร์ทางโลกย่อมเป็นหนทางในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ เมื่อไม่มีผู้เรียนการจัดการเรียนการสอนทั้งสองแผนกเริ่มกระท่อนกระแท่น มาเรียนบ้าง ไม่มาเรียนบ้าง หลบไปเล่นเกมส์ออนไลน์บ้าง ถึงแม้นจะมีการวางมาตรการในการบังคับใช้กับพระภิกษุสามเณรภายในวัด แต่ไม่สามารถระงับยับยั้งได้ ประเด็นสำคัญคือ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนการสอน เกมส์ออนไลน์จึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป รวมไปถึงการเข้าไปทำลายระบบการจัดการศึกษาปริยัติธรรม เมื่อนับจำนวนสำนักเรียนในเขตจังหวัดอุบลราชธานีแล้วนั้น มีเพียงประมาณ ๔-๕ สำนักเท่านั้น ที่ยังคงรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นเฉพาะการศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลีเอาไว้อย่างเหนียวแน่น

                 ดังนั้น ถึงแม้นจะมีการเรียนการสอนเข้มงวดมากเพียงใด ย่อมเป็นจุดบอดที่ทำให้พระภิกษุสามเณรหันหลังให้กับการศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม ถึงแม้นจะมีสำนักเรียนที่มีความเข้มงวดในการสอน ถึงแม้นจะวางเงินอัดฉีดสำหรับผู้ที่สอบได้จำนวนมากเพียงใดก็ตาม การดำเนินการยกระดับคุณภาพผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน หรือสวัสดิการต่างๆ แต่สิ่งสำคัญที่ผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม-บาลีกำลังประสบปัญหา คือ ทิศทางในการสอนไม่เป็นไปในแนวเดียวกันเพราะปัจจุบันแต่ละสำนักก็สอนไปตามแนวทางของตนเองผู้วิจัยมีความคิดเห็นว่า ควรมีการจัดทำหลักสูตรการสอนให้เหมือนกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกันไม่ใช่สำนักไหนจะสอนอะไรก็ได้ให้แก่ผู้เรียนของตน ซึ่งเกรงว่าการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมจะไม่มีมาตรฐานรวมทั้งควรอบรมการเรียนการสอนให้แก่ครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรมอย่างต่อเนื่องด้วยเมื่อเกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียนการสอนแล้ว ย่อมทำให้พระภิกษุสามเณรที่จะเข้ามาเป็น ศาสนทายาทนับวันยิ่งลดลงโดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จะต้องนำสามเณรจากต่างจังหวัดเข้ามาบวชเรียนแทนเพราะเด็กเข้าไปเรียนในโรงเรียนทั่วไปหมด นอกจากนี้ พระสงฆ์จะมีลดลง ดังนั้นทางวัดทั่วประเทศจะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต

                 อย่างไรก็ดี แม้ว่า จะมีการจัดการสอนด้านปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี เข้มงวดอย่างไร ก็ไม่สามารถลดจำนวนพระภิกษุสามเณรที่เลือกตัดสินใจที่จะศึกษาต่อในโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญลงได้ เพราะถ้าหากยังไม่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือทิศทางในการจัดการเรียนการสอนให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียนได้ นับวันผู้เรียนจะยิ่งจะลดลงจนไม่มีผู้สืบทอดเจตนารมณ์หลักภาษาที่เป็นรากเหง้าที่ก่อให้เกิดศาสนา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษางานวิจัยเรื่อง “การศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี”

 

วิธีการวิจัย

 

การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานีในครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ  (Quantitative Research)  ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการดำเนินการวิจัย ดังนี้

ตอนที่ ๑ ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม

ตอนที่ ๒ เป็นการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี

ตอนที่ ๓  ข้อเสนอแนะอื่น ๆ

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่พระภิกษุสามเณรที่กำลังศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลีจำนวน ๔๐๐ รูปกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan)

 

ผลการวิจัย

 

ผลการศึกษาทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี สามารถสรุปผลได้ดังนี้

             ๑.  ผลของการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าการศึกษาทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อ การศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนใหญ่เป็นสามเณรมากกว่าพระภิกษุ คือ สามเณร จำนวน ๑๔๖ รูป คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๓ มีอายุต่ำกว่า ๑๗-๒๗ ปี จำนวน ๑๔๘ รูป คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๗รองลงมา คือ อายุระหว่าง ๒๘ ๓๗  ปี จำนวน ๒ รูป คิดเป็นร้อยละ ๑.๓ จำแนกตามพรรษาระดับมากที่สุดคือ ต่ำกว่า ๕ พรรษา จำนวน ๑๓๘ รูป คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๒ รองลงมา ๕ - ๑๐ พรรษา จำนวน ๑๒ รูป คิดเป็นร้อยละ ๘.๐ จำแนกตามระดับการศึกษาทางโลกมีค่าเฉลี่ยมากสุดคือ มัธยมศึกษาจำนวน ๙๙ รูป คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๒ รองลงมา คือ ประถมศึกษา จำนวน ๔๙ รูป คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๗ และที่ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือปริญญาโท  จำนวน ๒ รูป คิดเป็นร้อยละ ๑.๓  จำแนกตามการศึกษาทางธรรมมีค่าเฉลี่ยมากสุดนักธรรมตรี จำนวน ๗๕ คนคิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐ รองลงมา คือ นักธรรมโท จำนวน ๓๘ รูป คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๓  และน้อยที่สุด คือ ป.ธ. ๓ และ ป.ธ. ๘ จำนวน ๒ รูป คิดเป็นร้อยละ ๑.๓

๒.  ผลการวิเคราะห์ การศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า การศึกษาทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อ การศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมทั้ง ๓ ด้าน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย ๒.๑๑

ส่วนใหญ่การศึกษาทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อ การศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี ทั้ง ๓ ด้าน อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการของสำนักเรียน  รองลงมา ด้านอาคารและสถานที่พัก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านครูผู้สอน

๓.  ผลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี

สามารถแยกเป็นมีรายละเอียด ดังนี้

๑.  อยากให้โรงเรียนปริยัติธรรมทุกสำนักเรียนได้มีการสอนบาลี และอยากมีครูสอนบาลีด้วย

๒.  เสริมการเรียนการสอนนอกสถานที่ให้เต็มที่ มากกว่าเดิมยิ่งขึ้นไป

๓.  อยากจะให้มีสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี โดยใช้โปรแกรมเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาบาลี เพื่อความเข้าใจในการท่องจำพระภิกษุ สามเณร ผู้เรียน

๔.  การจัดการเรียนการสอนสำหรับครูคฤหัสถ์ ที่สอนตามโรงเรียนปริยัติธรรมควรปฏิบัติตนต่อพระภิกษุสามเณร เช่น ไม่ควรตีตัวเสมอท่าน และไม่ควรแสดงกิริยาต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสมออกมา ให้รู้จักเคารพต่อเพศ พระภิกษุ และสามเณร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ แห่งพระพุทธศาสนา

 

อภิปรายผล

 

จาการสรุปผลการวิจัย  สามารถนำมาอภิปรายผลได้ดังนี้

๑) ผลของการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถามมีต่อ การศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนใหญ่เป็นสามเณรมากกว่าพระภิกษุ คือ สามเณร จำนวน ๑๔๖ รูป คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๓ มีอายุต่ำกว่า  ๑๗-๒๗ ปี จำนวน ๑๔๘ รูป คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๗  จำแนกตามพรรษาระดับมากที่สุดคือ ต่ำกว่า ๕ พรรษา จำนวน ๑๓๘ รูป คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๒ ระดับการศึกษาทางโลกมีค่าเฉลี่ยมากสุดคือ มัธยมศึกษาจำนวน ๙๙ รูป คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๒ การศึกษาทางธรรมมีค่าเฉลี่ยมากสุดนักธรรมตรี จำนวน ๗๕ คนคิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐

๒) ผลการวิเคราะห์ การศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานีพบว่า การศึกษาทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อ การศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมทั้ง ๓ ด้าน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย ๒.๑๑

 

ข้อเสนอแนะ

 

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี  ผู้ศึกษาวิจัยจึงขอเสนอแนะ ดังนี้

๑)  ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี

๒)  ศึกษาพัฒนาการเสริมสร้างวินัยนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี

๓)  ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการดำเนินงานส่งเสริมจริยธรรมในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี

 

กิตติกรรมประกาศ

 

การวิจัยเรื่อง “การศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี” ในการวิจัยในครั้งนี้ จะสำเร็จได้ก็เพราะอุปการคุณและสนับสนุนจากพระครูสารกิจโกศล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี พระครูสมุห์เฉวียน กตปุญฺโญ ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตอุบลราชธานี พระครูธรรมธรศิริวัฒน์สิริวฑฺฒโน ดร. ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ วิทยาเขตอุบลราชธานี พระใบฎีกาสุพจน์ ตปสีโล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และขอขอบใจท่าน พระสฤทธิ์ สุมโน ที่ให้ความช่วยเหลือในเรื่องการจัดเก็บแบบสอบถามและช่วยวิเคราะห์ข้อมูลในการทำงานวิจัยในครั้งนี้ให้เป็นผลสำเร็จ        

ขออนุโมทนาขอบพระคุณผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ขอขอบพระคุณเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ และขออนุโมทนาขอบคุณคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญทั้ง ๓ ท่าน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ ดร.ประมูล สารพันธ์ เป็นต้น จากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ กรุงเทพมหานครที่ให้ทุนทำการวิจัยและคอยช่วยเหลือชี้แนะแหล่งข้อมูลในการทำวิจัยด้วยไมตรีจิตอันดียิ่ง

                 ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้เสียสละแรงกายแรงใจ และช่วยสนับสนุนในการทำวิจัยเล่มนี้ด้วยดีตลอดมา ขอทุกท่านจงมีแต่ความสุขความเจริญ และได้รับแต่คุณงามความดีแห่งการวิจัยนี้โดยทั่วกัน

                 ประโยชน์และคุณงามความดีแห่งการวิจัยนี้ขอน้อมไว้เพื่อเป็นเครื่องสักการะบูชาคุณของพระรัตนตรัย ซึ่งมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์และโยมบิดามารดา ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทสรรพวิชาการความรู้ทั้งมวล

สุดท้ายผู้วิจัยขอกราบระลึกถึงพระคุณคุณพ่อคุณแม่ที่ให้กำลังใจในการทำงานวิจัยในครั้งนี้และขอขอบคุณพี่ ๆ น้อง ๆ และเพื่อน ๆ ทุกคนที่คอยห่วงใยและให้กำลังใจตลอดมา

 

เอกสารอ้างอิง

 

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.  ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคม.  พิมพ์ครั้งที่ ๕, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามเจริญพานิชย์, ๒๕๓๑.

พระมหานัธนิติ  สุมโน.  หลักการศึกษาพระปริยัติธรรม.  วัดใหญ่ชัยมงคล สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ๒๕๕๓.

เสรี  วงษ์มณฑา.  กลยุทธ์การตลาด: การวางแผนการตลาด.  กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จํากัด, ๒๕๔๒.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. การค้าพัสดุการจัดซื้อ.  กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๓.

อวยชัย ชบาและคณะ.  พฤติกรรมมนุษย์ในองค์กร.  หน่วยที่ ๘-๑๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๖, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๑.

(ที่มา: บทความทางวิชาการ)