บทความวิชาการ
พัฒนาการความเชื่อและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อเรื่องบุญและบาป ในนบทเพลงลูกทุ่งอีสาน
23 มิ.ย. 59 | พระพุทธศาสนา
1319

ผู้แต่ง :: ผศ.สมชัย ศรีนอก

ผศ.สมชัย ศรีนอก (2553)

ความนำ

         เพลงลูกทุ่งอีสาน คือ ศิลปะพื้นบ้าน เป็นศิลปวัฒนธรรมแขนงหนึ่งของชาวอีสาน ซึ่ง
มีมาตั้งแต่โบราณกาลโดยจัดอยู่ในวัฒนธรรมด้านดนตรี และการแสดงพื้นบ้านของชาวอีสาน
ที่มีขึ้นเพื่อให้ชาวบ้านได้นำมาร้องมารำในยามมีงานบุญต่างๆ ในหมู่บ้าน หรือในงานวัดบางครั้งก็นำมาร้องในยามที่ชาวบ้านมีความสุขหรือมีความทุกข์ใจ ชาวบ้านก็จะนำเอาเพลงลูกทุ่งอีสานมาเล่นกันให้สนุกสนานเพลิดเพลินใจ โดยเฉพาะในช่วงหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวการแสดงหมอลำลูกทุ่งอีสานเป็นการสร้างความบันเทิงใจที่ผู้ร้องจะนำเอาเรื่องราวในบทเพลงลูกทุ่งอีสานความเป็นอยู่หรือสภาพของสังคม ตลอดจนเหตุการณ์ทั่วไปมาแต่งเป็นเรื่องราวแล้วนำไปขับร้องให้เป็นเนื้อหาสาระทำนองของหมอลำเพื่อให้ผู้ฟังได้เกิดความเข้าใจและบันเทิงใจสนุกสนานไปกับจังหวะเสียงแคนของหมอแคนและท่ารำของผู้แสดงที่มีทั้งหญิงและชายแสดงร่วมกัน
ปัจจุบันสังคมคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจและรู้จักกับเพลงลูกทุ่งหมอลำมากขึ้น ผู้วิจัยได้
ตั้งข้อสังเกตว่าเพลงลูกทุ่งอีสาน นี้เป็นคำร้อยกรองที่ฟังแล้วมีเนื้อหาสาระเป็นคติสอนใจได้ทุก
เรื่องราว ฟังแล้วได้ทั้งความคิดและความสนุกสนาน และอีกประการหนึ่งเกิดจินตนาการ เกิด
ความรักมาตุภูมิของตนเองตามไปด้วย จากการศึกษาพบว่าบทเพลงลูกทุ่งหมอลำที่มีเอกลักษณ์
ทั้งด้านทำนอง การร้อง และภาษาที่โดดเด่นนี้ ทำให้วรรณกรรมดังกล่าวนี้ทรงคุณค่าทางด้าน
จิตใจคือการกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้ดำรงตนเป็นคนที่ประพฤติดี มีสติสมาธิ และความสามัคคี
และมีบทบาทในวิถีชีวิตสังคมอีสานเป็นอย่างมาก  

(ที่มา: สารนิพนธ์ ปี ๒๕๕๓)