ผู้แต่ง :: ผศ.ดร.ประยูร สุยะใจ
ผศ.ดร.ประยูร สุยะใจ
(2553) |
บทนำ
“ หลวงตา ” วัย ๗๘ ปี เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ มุมานะเรียนจนจบปริญญาเอก
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ย้ำ “ไม่มีใครแก่เกินเรียน” ๑ จึงมีคำกล่าวเสมอว่า “No one too
old to learn”ในสถานการณ์โลกยุคโลกาภิวัตน์ การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นเครื่องมือหรือยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาสังคมไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) และสังคมแห่งความรู้ (Knowledge-based Society) และในบางยุคสมัยหรือบางสังคมก็พยายามพัฒนาไปสู่สังคมแห่งปัญญา (Intelligence Society) ซึ่งฐานความคิดเดิมอาจจะมีความเข้าใจว่า การศึกษาตลอดชีวิตเป็นเพียงกระบวนการ รูปแบบหรือโครงสร้าง หมายความถึงการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ การศึกษาตลอดชีวิตนั้นไม่น่าจะสามารถปฏิบัติได้ ปัจจุบันแนวคิดดังกล่าวน่าจะเปลี่ยนแปลงไป เป็นการจัดการศึกษาต้องจัดให้เป็นระบบการศึกษาตลอดชีวิต หรือส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต การศึกษาตลอดชีวิตเป็นเป้าหมายในการจัดการศึกษาให้กับประชาชน การศึกษาตลอดชีวิตเป็นกระแสหลักของการจัดการศึกษาทั่วโลก เพื่อพัฒนาประเทศและสังคมแห่งการเรียนรู้ไปสู่สังคมแห่งความรู้และสังคมแห่งภูมิปัญญา ซึ่ง
|
(ที่มา: สารนิพนธ์ ปี ๒๕๕๓) |
|
|