บทความวิชาการ
บทวิเคราะหการปรับบทบาทของหนวยงานภาครัฐ เพื่อการพัฒนาหมูบาน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
06 มิ.ย. 59 | พระพุทธศาสนา
814

ผู้แต่ง :: พระไพรเวสน์ จิตฺตทนฺโต

พระไพรเวสน์ จิตฺตทนฺโต (2552)

 

 

ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังหันมาให้ความสนใจ และจับกระแสการพัฒนาที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น

 

เหล้าเก่าในขวดใหม่ไม่น่าจะเป็นเครื่องมือที่นำพาชุมชน

ไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาตามแนวทางที่เป็นทางเลือกนี้ได้อย่างแท้จริง

บทความนี้ได้รับการเรียบเรียงขึ้นจากการค้นคว้าเอกสารทางวิชาการ และมุมมองการวิเคราะห์ในเชิง

วิพากษ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฉายภาพการปรับตัวของหน่วยงานภาครัฐ และชุมชนในการนำนโยบายการ

พัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งมีสาระสำคัญ ๒ ส่วน โดยเริ่มจากการมองย้อนกลับไป   อ่านต่อ

 

แนวคิดการพัฒนาที่เป็นทางเลือกและทางรอดใหม่ของสังคมไทยนี้คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งภาครัฐได้

น้อมนำแนวคิดการพัฒนาเชิงปรัชญาจากพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ไปกำหนดเป็น

แนวนโยบายในการพัฒนาประเทศเพื่อหลุดพ้นจากห้วงของภาวะวิกฤติ

การนำนโยบายการพัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติที่ถือเป็นรากฐานสำคัญ

เป็นกลไกที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริง คือ ชุมชน ซึ่งภาครัฐได้ป้อนทั้งเครื่องมือ และทรัพยากร

ลงไปในหน่วยงานระดับปฏิบัติในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างศักยภาพความเข้มแข็งให้กับชุมชน

ต่างๆ

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เชิงนโยบาย พบว่า การปรับตัวของหน่วยงานภาครัฐ และ

ชุมชนในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติยังมีประเด็นต้องทบทวนและพิจารณาหาวิธีการปรับปรุงหลายประการ

สำหรับการปรับตัวของหน่วยงานภาครัฐ พบว่า ประเด็นสำคัญที่ต้องทบทวนพิจารณาคือ ความเข้าใจ

ในวัตถุประสงค์ของนโยบาย โดยเฉพาะความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การคิดริเริ่มหาหนทางและ

กิจกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ และการบริหารจัดการทรัพยากร เป็นต้น

ส่วนการปรับตัวของชุมชน พบว่า มีการปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจมาจากประสบการณ์การเป็น

ผู้รับกิจกรรมการพัฒนา และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามยังพบประเด็นสำคัญที่ต้องทบทวน

พิจารณาคือ ข้อจำกัดเรื่องความเข้าใจวัตถุประสงค์ของนโยบาย โดยเฉพาะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความ

เพียงพอของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ ความคิดริเริ่ม และการรอพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอกชุมชน เป็นต้น

ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ ผู้กำหนดนโยบายได้พยายามปรับเปลี่ยนหน้าตาของนโยบายการ

พัฒนาสู่ความเข้มแข็งของชุมชนโดยการกระจายเงินไปยังชุมชนในแบบที่เคยทำมา ให้เป็นนโยบายการพัฒนา

ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งถือเป็น

(ที่มา: วิทยาลัยสงฆ์เลย)