บทความวิชาการ
วรรณคดีพระไตรปิฎก : คลังแห่งความคิดและจินตนาการ
29 ส.ค. 59 | พระพุทธศาสนา
1492

ผู้แต่ง :: สมิทธิพล เนตรนิมิตร

สมิทธิพล เนตรนิมิตร (2553)

       รู้กันอยู่ว่า พระไตรปิฎกเป็นหนังสือศาสนา จะเรียก “คัมภีร์พระไตรปิฎก” “วรรณคดี
พระไตรปิฎก” “วรรณคดีบาลี” หรือ “พระไตรปิฎกบาลี” ยังคงเป็นหนังสือ เป็นคัมภีร์ศาสนา
ที่หลายคนโยงไปหาความศักดิ์สิทธิ์ ถ้าหากใครอ่านพระไตรปิฎก ศึกษาพระไตรปิฎก อ้างพระ
ไตรปิฎก หรือแม้เพียงเอ่ยถึงพระไตรปิฎก มองไปว่าเป็นคนมีอัธยาศัย คนธรรมะธัมโม ดูดี
น่าเลื่อมใสศรัทธา หรืออะไรทำนองนั้น
       พระไตรปิฎกเป็นแหล่งประมวลพฤติกรรมของมนุษย์ รวมภาพชีวิตไว้หลายระดับ ให้
รูปแบบชีวิต ทั้งด้านบวก ด้านลบ บทเรียนจากธรรมชาติของมนุษย์ แม้ผ่านมาหลายยุคสมัย
เรื่องราวจากพระไตรปิฎกยังใช้บ่มเพาะเชาว์ปัญญาได้ไม่จบสิ้น การศึกษาพระไตรปิฎกหาที่จบ
ได้ยาก พูดซ้ำๆ กี่ครั้งกี่หน วกไปวนมาแค่ไหนก็ยังรู้สึกว่าฟังได้ ด้วยแง่มุมที่แต่ละคนศึกษามีไม่
เท่ากัน อีกหลายเรื่องหาข้อยุติยังไม่ได้ ที่ออกจะน่าเบื่อคือไม่มีศัพท์แสงหรือไม่มีเนื้อเรื่องหรือเนื้อหาที่น่าตื่นเต้นอย่างวิชาการ สมัยใหม่ จึงทำให้ไม่น่าสนใจ แต่ไม่มีใครยืนยันว่าอ่านพระไตรปิฎกเรื่องเดียวกัน เล่มเดียวกัน ในเวลาต่างกัน จะได้อรรถรสต่างกัน
ปัจจุบันพระไตรปิฎกมีอยู่หลายเวอร์ชั่น ที่เป็นภาษาของชาวตะวันออกก็มี ที่เป็นภาษา
ของชาวตะวันตกก็มี 
ดูเนื้อหาฉบับเต็ม

 

(ที่มา: สารนิพนธ์ ปี ๒๕๕๓)