บทความวิชาการ
สงครามน้ำในลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จังหวัดเชียงใหม่ : หลักการและเครื่องมือในการจัดการความขัดแย้งเชิงพุทธ
26 ส.ค. 59 | พระพุทธศาสนา
790

ผู้แต่ง :: พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (2553)

๑. เกริ่นนำ

           “น้ำ” ถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในการอุปโภคบริโภค๑
ด้วยเหตุดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีกระแสพระราชดำรัสว่า “หลักสำคัญว่า
ต้องมี น้ำบริโภค น้ำใช้เพื่อการเพาะปลูก เพราะว่ามีชีวิตอยู่ที่นั้น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ
คนอยู่ไม่ได้ ถ้าขาดไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้”๒
ถึงกระนั้น เมื่อกล่าวถึง “น้ำ” ใน ค.ศ. ๑๙๙๕ อิสมาอิล เซราเจลดิน รองประธาน
ธนาคารโลกได้กล่าวว่า สงครามในศตวรรษนี้คือการต่อสู้เพื่อแย่งชิงน้ำมัน แต่สงครามใน
ศตวรรษหน้าจะกลายเป็นการต่อสู้เพื่อแย่งชิงน้ำ”๓ จากการตั้งข้อสังเกตในลักษณะดังกล่าวนั้น
ทำให้พบข้อเท็จจริงที่น่าสนใจว่า สงครามน้ำกำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศด้วยกัน กล่าวคือ
                                     ------------------------------------------------
๑ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, การประเมินผลโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค
และบริโภค, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง, ๒๕๓๗), หน้า ๒.
๒ ดูใน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รายงานการพิจารณาศึกษาปัญหาภัยแล้งและ
อุทกภัย, หน้า ๕๕.
๓ ดูเพิ่มเติมใน วันทนา ศิวะ (เขียน) ศิริลักษณ์ มานะวงศ์เจริญ (แปล), สงครามน้ำ, (กรุงเทพ
มหานคร: สวนเงินมีมา, ๒๕๔๖), หน้า ๑.
ดูเนื้อหาฉบับเต็ม

 

(ที่มา: สารนิพนธ์ ปี ๒๕๕๓)