บทความวิชาการ
การศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของบุคลากรหน่วยงานของรัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี, สิบเอกณัฐพล ธาระวงศ์
17 เม.ย. 61 | สารนิพนธ์
1555

ผู้แต่ง ::

ชื่อผู้วิจัย :สิบเอกณัฐพล ธาระวงศ์ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๔/๒๐๑๘
ปริญญา :พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 พระสมุห์จักรกฤษ์จนฺทโก
 สมหมาย ชินนาค
 -
วันสำเร็จการศึกษา :๑๙ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

             การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของบุคลากรหน่วยงานของรัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ๓ประการดังต่อไปนี้คือ๑เพื่อศึกษาหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ในพระพุทธศาสนา๒เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ของบุคลากรหน่วยงานของรัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีและ๓เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของบุคลากรหน่วยงานของรัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ) โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สามารถสรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้

             ผลการวิจัยพบว่าหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์คือ แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการชีวิตให้มั่นคงมีประโยชน์สุขในปัจจุบัน ประกอบด้วยหลัก๔ประการคือ๑) อุฏฐานสัมปทาถึงพร้อมด้วยความหมั่นเพียร๒) อารักขสัมปทาถึงพร้อมด้วยการรักษา๓) กัลยาณมิตตาการคบเพื่อนที่ดีมีคุณธรรมและ๔) สมชีวิตาการดำรงชีพของตนพอเหมาะตามสมควรแก่ชีวิตหลักการทั้ง๔ประการนี้เรียกสั้น ๆ ได้ว่า “ขยันหารักษาดีมีกัลยาณมิตรใช้ชีวิตแบบพอเพียง

             พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ของบุคลากรหน่วยงานของรัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีทั้ง ๔ ด้าน คือ๑) ด้านความขยันหมั่นเพียร (อุฏฐานสัมปทา)๒) ด้านการบำรุงรักษา (อารักขสัมปทา)๓) ด้านการเลือกคบมิตร (กัลยาณมิตตตา)และ๔) ด้านความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม (สมชีวิตา)โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก

          แนวทางการประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของบุคลากรหน่วยงานของรัฐมี ๔ ด้าน คือ๑) ด้านความขยันมั่นเพียร (อุฏฐานสัมปทา) คือต้องมีความขยันหมั่นเพียรมีความอดทน มุ่งมั่น ขยันและรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลังความสามารถ๒) ด้านการบำรุงรักษา (อารักขสัมปทา)คือต้องรู้จักนำสิ่งของที่ชำรุดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ให้เป็นประโยชน์รวมทั้งรักษาสมบัติทั้งของตนเองและของส่วนรวม๓) ด้านการเลือกคบมิตร (กัลยาณมิตตตา)คือ ต้องเลือกคบเพื่อนที่ดีมีศีลธรรมคบคนที่สามารถปรึกษาหารือและ ๔) ด้านความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม (สมชีวิตา) คือทำหน้าที่ทุกอย่างด้วยความไม่ประมาทและดำรงชีวิตตามฐานะความเป็นอยู่และการรู้จักประมาณตนเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิต