บทความวิชาการ
การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท ๔ ใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต ๒๕(การบริหารการศึกษา), นางยุพิน ขุนทอง
04 เม.ย. 61 | สารนิพนธ์
1881

ผู้แต่ง ::

ชื่อผู้วิจัย :นางยุพิน ขุนทองข้อมูลวันที่ : ๐๔/๐๔/๒๐๑๘
ปริญญา :พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 พระครูสโมธานเขตคณารักษ์
 ธีระศักดิ์ บึงมุม
 -
วันสำเร็จการศึกษา :๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ 

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบระดับความคิดเห็น และเสนอแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท ๔ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จากกลุ่มตัวอย่าง ๓๔๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test แบบ Independent Sample) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test แบบ One-Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

 

    ผลการวิจัยพบว่า  

    การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท ๔ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕ โดยภาพรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุดมี ๒ ด้าน คือ ด้านความสามารถทางวิชาชีพ ด้านการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน รองลงมา คือ ด้านการจัดการการเรียนการสอน ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ และด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุดคือ ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ

                 ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นการบริหารบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท ๔ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕ ตามตำแหน่งและประสบการณ์ทำงาน โดยภาพรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติแตกต่างกัน

          ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท ๔ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕ ผู้บริหารและครูผู้สอนควรจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ปลูกฝังค่านิยมอันพึงประสงค์ ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการวางตนในฐานะเยาวชนของชาติ ผู้บริหารและครูผู้สอนควรผ่านการอบรมการเป็นผู้นำทางวิชาการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง เป็นบุคคลที่มีความรอบรู้อย่างสม่ำเสมอ เป็นผู้นำทางด้านหลักสูตร มีการประเมินตนเอง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมตามมาตรฐานวิชาชีพ อบรมพัฒนาอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำไปสู่การเป็นผู้บริหารและครูมืออาชีพ นำหลักอิทธิบาท ๔ ให้ผู้เรียนใช้อย่างจริงจังในวิถีการดำรงชีวิต เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในทุกๆ ด้าน มีการจัดบรรยากาศภายในห้องเรียนที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ มีการศึกษาค้นคว้าหาความรู้โดยผ่านสื่อออนไลน์เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว หลากหลายและทันสมัย จนทำให้องค์กรประสบผลสำเร็จมากที่สุดในทุกๆด้าน ครอบครัวและชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม พร้อมส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้เรียนมีคุณภาพ ปฏิบัติตนตามประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมไทยและพลโลก