บทความวิชาการ
พัฒนาความรู้ ควบคู่การปฏิบัติงานจริง
25 เม.ย. 61 | พระพุทธศาสนา
3036

ผู้แต่ง :: พุธทรัพย์ มณีศรี


พัฒนาความรู้ ควบคู่การปฏิบัติงานจริง

                การเดินทางไปปฏิบัติและดูงานการปฏิบัติศาสนกิจของพระธรรมทูต รุ่นที่ 20 ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ณ แดนพุทธภูมิ ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม ถึงวันที่ 5 เมษายน 2557 นั้น

          นอกจากได้ฟังด้วยหู ดูด้วยตา กล่าวคือได้ฟังวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและพระธรรมทูตบรรยายและอภิปราย ได้ดูสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์แล้ว ยังต้องแบ่งกลุ่มกันศึกษาตามเรื่องที่ได้กำหนดไว้ด้วย

           ทั้งนี้ ได้กำหนดให้ศึกษาเป็น 7 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 การศึกษา กลุ่มที่ 2 การจัดองค์ความรู้ กลุ่มที่ 3 การส่งทอดทางวัฒนธรรม กลุ่มที่ 4 กรรมฐาน กลุ่มที่ 5 การจัดองค์กร กลุ่มที่ 6 รูปแบบการทำงานของพระธรรมทูต และกลุ่มที่ 7 พุทธศิลปกรรม

          แต่ละกลุ่มก็มีผู้ฝึกสอน (Coach) และมีผู้ให้คำปรึกษา (Mentor) ประจำกลุ่มด้วย

          ทั้งนี้ ในแต่ละกลุ่มก็มีการปรึกษาหารือในการทำงานกลุ่มกันอย่างใกล้ขิด

ได้นำเสนอผลงานของกลุ่มภายในรถระหว่างการเดินทาง และนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยพระธรรมทูตทั้งหมดและคณาจารย์ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ได้รับทราบความคืบหน้า ผลการดำเนินการและให้ข้อสังเกตเป็นระยะ ๆ อีกด้วย

การจัดทำรายงานกลุ่มนี้ นอกจากประโยชน์จากการค้นคว้าหาความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มและระหว่างพระธรรมทูตด้วยกันแล้ว

พระธรรมทูตยังได้เรียนรู้วิธีการทำงานเป็นทีมอีกด้วย

เพราะงานพระธรรมทูตนั้น ในแต่ละวัดที่ไปประจำ อาจมีพระธรรมทูตมากกว่า 1 รูป

การทำงานเป็นทีมจะช่วยให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แม้ว่าวัดที่ไปประจำบางวัดจะมีพระธรรมทูตเพียงรูปเดียว แต่ต้องทำงานร่วมกับพระธรรมทูตวัดอื่นซึ่งอยู่ในเมืองเดียวกัน รัฐเดียวกันหรือประเทศเดียวกัน

ขอเรียนกับท่านผู้อ่านเพื่อความเข้าใจด้วยว่า คำว่า “วัด” ในต่างประเทศนั้น บางแห่งเป็นเพียงการตั้งชื่อเพื่อเรียกขานเท่านั้น ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่มีโบสถ์ ไม่มีวิหาร ใด ๆ ทั้งสิ้น

เพราะกฎหมายของบางประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรป บางวัดนั้นมีบ้านเช่าเพียงหลังเดียวเท่านั้น

การศึกษาและการจัดทำรายงานกลุ่มนี้ ได้สร้างความอดทนและความวิริยะอุตสาหะเป็นอย่างสูง

เพราะแม้มีศาสนกิจที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น การเดินทางและการเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ การปฏิบัติงานด้านสาธาณูปการ รวมทั้งการฟังการบรรยายและการอภิปรายเป็นคณะในตอนกลางคืน ทำให้เวลาในการสอบถาม ศึกษาและค้นคว้ามีน้อยมาก

แต่ก็ถือเป็นการสร้างความกดดันและความแข็งแกร่งให้แก่พระธรรมทูตเหล่านี้ ที่จะเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่จะต้องพบในภายภาคหน้าต่อไป

ผู้เขียนในฐานะผู้ฝึกสอนกลุ่มที่ 5 การจัดองค์กร ได้สัมภาษณ์พระมหาอภิสิทธิ์ วิริโย ถึงประโยชน์ที่

ได้รับจากการทำงานกลุ่ม ซึ่งท่านก็ได้ชี้แจงว่า

 สิ่งที่อาตมามองเห็นประโยชน์จากการจัดทำรายงานการจัดองค์กรของพระธรรมทูตสายอินเดีย-

เนปาล  ได้เห็นการจัดรูปแบบโครงสร้างองค์กร ซึ่งแบ่งหน้าที่ในการบริหาร โดยมุมมองวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลถึงอนาคตและค่อนข้างรัดกุม ยึดแบบของพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง โดยนำเอาวิธีการบริหารของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์เคยใช้และได้ผลดีมาแล้ว ทั้งนี้ พระเดชพระคุณฯ พระเทพโพธิวิเทศ ได้นำมาเป็นแบบอย่างในการบริหารเชิงพุทธและการจัดการเชิงพุทธ ท่านได้จัดรูปแบบองค์กรพระธรรมทูตสายต่างประเทศอินเดีย-เนปาลตามวิธีการของพระพุทธเจ้า ซึ่งอาตมาเห็นว่าพระธรรมทูตควรนำแบบอย่างที่พระพุทธเจ้าได้ทำไว้ก็ดี หรือที่พระเดชพระคุณฯ พระเทพโพธิวิเทศ  หัวหน้าพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล ก็ดี ซึ่งประสบความสำเร็จแล้ว นำมาปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น และแก้ไขสถานการณ์ตามภูมิภาคและท้องถิ่นนั้น ๆ”  

 

 


การปรึกษาหารือภายในกลุ่มที่วัดไทยสารนาถ เมืองพาราณสี

 

พระมหาอภิสิทธิ์ วิริโย นั่งซ้ายมือของผู้เขียน

 

 

ภารกิจอีกประการหนึ่งซึ่งมีความสำคัญไม่น้อย คืองานสาธารโณปการหรืองานก่อสร้าง

   หลายท่านอาจสงสัยหรือไม่เข้าใจว่า เหตุใดพระธรรมทูตจึงจำเป็นต้องเรียนรู้และปฏิบัติด้าน

การก่อสร้างเองด้วย

            เรื่องนี้มีความจำเป็นครับ เพราะพระธรรมทูตต้องไปประจำต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องมีความรู้ด้านการวางผังพัฒนาพื้นที่วัด รู้จักคุณสมบัติและรู้จักการใช้วัสดุก่อสร้างให้เหมาะสมกับอาคาร

          นอกจากนั้น การทำงานร่วมกันยังเป็นการละลายพฤติกรรมอีกด้วย

 

          พระธรรมทูตได้ไปช่วยงานสาธารณูปการณ์หลายวัด เช่น ที่วัดไทยพุทธคยา วัดไทยลุมพินี วัดเชตวันมหาวิหารและวัดไทยสิริราชคฤห์


มจร และ มมร ช่วยงานเทปูนเพื่อก่อสร้างหอวิปัสสนาวีระภุชงค์ ที่วัดไทยพุทธคยา

 

ที่ทำคัญที่สุดก็คือ คณาจารย์หลายรูปก็ได้ลงไปร่วมในการปฏิบัติด้วย

เห็นแล้วชื่นใจในความร่วมมือร่วมใจกันครับ

          โดยเฉพาะที่วัดไทยพุทธคยานั้น พระธรรมทูตที่เข้ารับการอบรมหลักสูตรพระธรรมทูต รุ่นที่ 20 ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) ซึ่งไปศึกษาดูงานเช่นกัน ได้เข้ามาร่วมปฏิบัติงานสาธารณูปการด้วย

และเป็นที่น่าปลื้มปิติเป็นอย่างมากก็คือ ในวันที่ เมษายน ซึ่งเป็นคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระเทพโพธิวิเทศ เจ้าอาวาสวัดพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูต

                                                                                                                        

คณะสงฆ์ไทยจัดพิธีเจริญพระพรชัย ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา

 

สายอินเดีย-เนปาล ได้นำคณะสงฆ์ไทยจัดพิธีเจริญพระพรชัย ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา โดยพระธรรมปาโมกข์ เจ้าอาวาสวัดราชผา นำเจริญพระพุทธมนต์ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร

คณะสงฆ์ประกอบด้วยผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรพระธรรมทูตสายประเทศ รุ่นที่ 20 ประจำปี 2557 และคณาจารย์ จาก มจร 80 รูป จาก มมร 60 รูป พระธุดงค์สายวัดนาคปรก 56 รูป สายอุทยานธรรมดงยาง 113 รูป รวมทั้งสิ้น จำนวน 321 รูป และพุทธบริษัทพสกนิกรชาวไทยร่วมพิธีกันเป็นจำนวนมาก

เป็นนิมิตรหมายที่ดีที่ทั้งสองมหาวิทยาลัยสงฆ์ของไทย จะได้ร่วมมือร่วมใจพัฒนาพระสงฆ์ของไทยให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปในอนาคต

เห็นได้ว่าหลักสูตรการอบรมพระธรรมทูต รุ่นที่ 20 ของ มจร นั้น เป็นหลักสูตรที่เข้มข้นมาก

ทั้งนี้ โดยตั้งความหวังไว้ว่าเมื่อพระธรรมทูตเหล่านี้ได้ออกไปปฏิบัติศาสนกิจตามประเทศต่าง ๆ จะทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป และสามารถดำรงอยู่ร่วมทั้งปฏิบัติศาสนกิจให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้

ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ

 

                                                          พุธทรัพย์ มณีศรี

                                                          puthsup@gmail.com