การอบรมเชิงปฏิบัติธรรมสู่โรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน สำหรับคณะผู้บริหาร คณะครูและนักเรียนต้นแบบโรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ณ หอประชุมพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินฺทปญฺโญ) ๒๑ - ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๓ ในการนี้ พระเทพศาสนาภิบาล รองเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง พระอารามหลวง ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ได้เมตตามาเป็นประธานเปิดการอบรมและบรรยายพิเศษ เรื่อง ศีล 5 พัฒนาชีวิตและสังคม อีกด้วย พระเทพปวรเมธี, รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร ประธาน คปพ. ผจล.และประธานองค์การศึกษา วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส วัด มหาจุฬาลงกรณราชูทิศ เป็นประธานมอบเกียรติบัตร และกล่าวสัมโมทนียกถา ในพิธีปิดโดยมี ดร.รุ่งชีวา สุขศรี ผอ.โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา เป็นประธานอำนวยการจัดอบรม ในการอบรมพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว มีกิจกรรมประกอบด้วยการจัดทำ นวัตกรรมวิถีพุทธ การปฏิบัติธรรม การบรรยายให้ความรู้ เรื่องการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน การประชุมวางแผนการดำเนินงาน ดำเนินการโดย ส่วนวางแผนและพัฒนาการอบรม สถาบันวิปัสสนาะุระ
วันที่ 29- 30 สิงหาคม 2563 โรงเรียนพยุหะคีรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ได้จัดอบรมพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและอบรมคุณธรรมนักเรียน เพื่อพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธให้ยั่งยืน ในการนี้วิทยากรจากส่วนวางแผนและพัฒนาการอบรม สถาบันวิปัสสนาะุระ โดยพระมหาวิชาญ สุวิชาโน ผู้อำนวยการพร้อมด้วยพระวิทยากรจำนวน 3 รูปไปให้การอบรมตลอดโครงการ
วันนี้ (28ม.ค.63) ที่ห้องประชุมชั้นล่าง อาคารมวก. 48 พรรษา มจร วังน้อย พระนครศรีอยุธยา มจร “จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังความเห็นผู้มีประสบการณ์ในการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในระบบสุขภาพเพื่อสังคมสุขภาวะผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่” โครงการนี้สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) การนี้พระเทพเวที,รศ.ดร. (พล อาภากโร,ป.ธ.9) ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะภาค ๖ และรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มจร ได้มอบหมายให้ พระมหาราชัน จิตฺตปาโล,ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต เป็นประธานเปิดงาน ท่านได้กล่าวต้อนรับมีใจความสำคัญว่า “….ขออนุโมทนาคณะสงฆ์และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เขามาสนับสนุนงานกิจการคณะสงฆ์ ในนามพระเดชพระคุณพระเทพเวที ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความขอบคุณและอนุโมทนาอย่างยิ่ง การที่ทุกท่านมีประสบการณ์ตรงและให้เกียรติมาร่วมเวทีครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในระบบสุขภาพเพื่อสังคมสุขภาวะผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โครงการฯ นี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์และค้นหาตัวแบบการขับเคลื่อนงานดูแลสุขภาวะองค์กรสงฆ์และชุมชนผ่าน กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อพัฒนาผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะให้พระสงฆ์ดูแลสุขภาวะองค์กรสงฆ์และชุมชนผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่แบบมีส่วนร่วม และ เพื่อส่งเสริมให้คณะสงฆ์ในพื้นที่ต้นแบบเป็นแกนนำการขับเคลื่อนให้เกิดองค์กรสุขภาวะสู่การสร้างสังคมสุขภาวะภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ประธานได้กล่าวแนะนำมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สถาปนาโดยล้นเกล้าราชการที่ 5 มีปณิธานว่า “เป็นสถานศึกษาพระไตรปิฏกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์” จากการรายงานของผู้จัดการโครงการฯ เบื้องต้น การประชุมในวันนี้จึงมีความสำคัญที่ทุกท่านให้เกียรติสละเวลามาร่วมเวทีจะได้ช่วยวิเคราะห์สถานการณ์และค้นหาตัวแบบการขับเคลื่อนงานดูแลสุขภาวะองค์กรสงฆ์และชุมชนผ่าน กปท. และนำไปสู่การดำเนินการเพื่อเป้าหมายสำคัญในวันนี้ เกิดความรู้และนวัตกรรมการขับเคลื่อนงานสุขภาวะพระสงฆ์ และหวังใจอย่างยิ่งว่าการดำเนินการจะทำให้เป้าหมาย 3 ประการที่กำหนดไว้ คือ (1) ตัวอย่างเมนูโครงการฯ (2) คู่มือการบริหารจัดการโครงการ “ขอกล่าวคำว่ายินดีต้อนรับทุกท่านในฐานะเจ้าบ้าน ขอกราบขอบคุณครูบาอาจารย์ทุกรูปและอนุโทนาภาคีทุกท่าน” กิจกรรมมีการบรรยายหัวข้อ เรื่อง “การพัฒนาสุขภาวะพระสงฆ์ภายใต้แผนการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา”โดย พระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี และการเสวนา หัวข้อ เรื่อง “บทบาทของหน่วยงานภาคีเครือข่าย ความเชื่อมโยง และความร่วมมือในการพัฒนาสังคมสุขภาวะผ่านใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพในพื้นที่” ดำเนินรายการโดย นายวิสุทธิ บุญญโสภิต (พี่โต) รองผอ. สปสช. เขต 3 นครสวรรค์โดยมีผู้ร่วมเสวนา 8 ท่าน คือ (1) พระครูอมรชัยคุณ วัดอาศรมธรรมทายาท นครราชสีมา (2) พระมหาบวร ปวรธมฺโม วัดบุญนารอบ นครศรีธรรมราช (3) นายเสน่ห์ คล้ายบัว ผอ.รพ.สต.ปลายบาง นนทบุรี (4) นายอภิชาต หงษาวงษ์ ผู้แทนหน่วยร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน (5) นางรำพัน แสงมาลัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอธวัชบุรี ร้อยเอ็ด (6) นายพูนชัย ไตรภูธร ผู้แทน สปสช. เขต 9 นครราชสีมา (7) นางสาววันรพี สมณช้างเผือก ผู้แทน สปสช. เขต 8 อุดรธานี (8) ดร.ชัยยันต์ กองอรรถ ปลัด อบต.เกยไชย นครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีผู้แทนสำคัญอาทิ พระครูนนท์วีรวัฒน์ เจ้าคณะตำบลมหาสวัสดิ์ และเจ้าอาวาสวัดโคนอนมหาสวัสดิ์ พระครูโสภณประสิทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดม่วงสระน้อย และเจ้าคณะตำบลตะขบ เขต 3 พระจิรศักดิ์ สญฺญจิตฺโต เลขานุการเจ้าคณะอำเภอธวัชบุรี พระครูวิบูลสรภัญ รองเจ้าอาวาสวัดสูงเม่น แพร่ และนายชวาล แก้วลือ รองปลัดเทศบาลตำบลเกาะคา ลำปาง เป็นต้น ร่วมเวที และในช่วงบ่ายมีกิจกรรม เวที “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังความเห็นจากผู้มีประสบการณ์ 9 พื้นที่ต้นแบบ”ดำเนินรายการ โดย นางสาวมณีมัญช์ เชษฐสกุลวิจิตร รองผู้อำนวยการกองกลาง และคณะ นำกระบวนกรเพื่อชี้ชวน ใน 4 ประเด็น คือ (1) องค์ความรู้ และนวัตกรรม (2) ระบบบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล (3) ภาคีเครือข่ายการทำงาน (4) เหตุปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ โดยแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มพระสงฆ์ (2) กลุ่ม PM เขต สปสช. ที่ดูแลงานกองทุนระดับพื้นที่ (3) ผู้บริหารกองทุนในระดับพื้นที่จาก อปท. (4) ผู้ทรงคุณวุฒิและภาคีเครือข่าย และกิจกรรมท้ายสุดก่อนปิดการสัมมนา คือ กิจกรรม “รับฟังความเห็นและพิจารณา” (ร่าง) คู่มือเมนูโครงการสำหรับพระสงฆ์ในการดูแลสุขภาวะองค์กรสู่ชุมชนสุขภาวะผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และ (ร่าง) คู่มือการบริหารจัดการโครงการฯ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ปฏิธรรม สำเนียง อาจารย์ประจำวิทยาเขตนครสวรรค์ การนี้มีผู้แทนคณะสงฆ์,PM เขต สปสช. ที่ดูแลงานกองทุนระดับพื้นที่หรืองานพระสงฆ์,ผู้บริหารกองทุนในระดับพื้นที่จาก อปท.,ผู้ทรงคุณวุฒิ และภาคีเครือข่าย จำนวน 69 รูป/คน เข้าร่วมเวที หวังร่วมกันขับเคลื่อนงานพัฒนาพระสงฆ์เพื่อสร้างสังคมสุขภาวะผ่านกองทุนตำบล เชื่อวัดและพระสงฆ์เป็นศูนย์รวมจิตใจในชุมชน เมื่อพระสงฆ์ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างชุมชนสุขภาวะอย่างยั่งยืนต่อไป
วันจันทร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. กองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี จัดโครงการนิสิตจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม "ปลูกต้นไม้ เพื่อลมหายใจหอพักนิสิต" ตามนโยบายที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็น มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ด้วยการปลูกต้นไม้สร้างสิ่งแวดล้อมให้มีความร่มรื่น สร้างพื้นที่สีเขียวในทุกบริเวณของมหาวิทยาลัย กองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี เห็นถึงความสำคัญและส่งเสริมสนับสนุนให้นิสิตได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ตามบทบาทและหน้าที่ของนิสิต เช่น กาส่งเสริมให้นิสิตได้จัดทำโครงการปฏิบัติศาสนกิจในประเต็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งส่งเสริมให้นิสิตได้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม มีเป้หมายชัดเจนในการพัฒนานิสิตให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นไปตามนวลักษณ์ของบัณฑิตที่พึงประสงค์ และเป็นศาสนทายาทที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิสิตที่พักอยู่ในหอพักนิสิตของ มหาวิทยาลัย ในการดำเนินงานโครงการได้มีเจ้าหน้าที่และนิสิตที่พักอยู่ในหอพักร่วมกับฝ่ายอาคารสถานที่ดำเนินการจัดหาตันไม้ และร่วมแรงร่วมใจขุดหลุมเตรียมดินสำหรับปลูก และการจัดโครงการครั้งนี้ได้ผู้มีจิตศรัทธาทั่วไปให้ความสนับสนุน อุปถัมภ์ร่วมเป็นเจ้าภาพต้นไม้ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปลูกตันไม้จำนวนมาก โดยมี พระเดชพระคุณ พระราชปริยัติกวี, ศ.ดร. อธิการบดี มหาวิทยลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประธานเปิดโครงการนิสิตจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม "ปลูกต้นไม้ เพื่อลมหายใจหอพักนิสิต" และปลูกต้นไม้ร่วมกับผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ณ บริเวณหอพักนิสิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภาพ : MCU TV ________________________________ #MCUTV อาคารเรียนรวม ชั้น 4 ห้อง ซี 400 มจร วังน้อย อยุธยา โทร.035-248-000, 8057
พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงโปรดให้ หม่อมหลวงสราลี กิติยากร เป็นผู้แทนพระองค์ ประทานรางวัล "เสาอโศกผู้นำศีลธรรม" วันเสาร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 ณ หอประชุม มวก.48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ภาพ : MCU TV ________________________________ #MCUTV อาคารเรียนรวม ชั้น 4 ห้อง ซี 400 มจร วังน้อย อยุธยา โทร.035-248-000, 8057
เมื่อวันที่ 6 ม.ค. ที่ห้องประชุม 401 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้กับคณะผู้บริหารมจร. โดยดร.สุวิทย์ กล่าวว่า การพัฒนาจิตใจของคนเป็นสิ่งสำคัญในนโยบายของมหาวิทยาลัยสงฆ์ และอยากให้เน้นในเรื่องการพัฒนาปัญญามนุษย์ด้วย เรื่ปัญหาจำนวนนักศึกษาลดลง ส่วนตัวมองว่าไม่น่ากลัว เพราะจะได้เป็นโอกาสในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาให้มีคุณภาพ และการที่มจร.มีเป้าหมายในการเป็นมหาวิทยาลัยพระพุททธศาสนาของโลกด้วยแล้ว ปัญหาเรื่องจำนวนนักศึกษาจึงไม่ใช่ประเด็น เพราะเท่ากับว่ามจร.ได้เปิดรับนักศึกษาจากทั่วโลก นอกจากนี้ประเด็นหลักที่อยากให้มหาวิทยาลัยสงฆ์ให้ความสำคัญกับการสร้างทุนมนุษย์ และทุนทางสังคมกลับคืนมา เพื่อทำให้สังคมกลับสู่ภาวะปกติสุข ที่ตนมองว่าจะเป็นพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ส่วนเรื่องงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงฆ์ จะต่างจากมหาวิทยาลัยทั่วไป เช่น ควรจะมีการวิจัยเรื่องทักษะการใช้ชีวิต และอยากให้มหาวิทยาลัยสงฆ์วิจัยการเปลี่ยนสังคมไทยให้เป็นสังคมของพวกเรา และควรสร้างสมดุลระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับเทคโนโลยี และมนุษย์กับธรรมชาติ ดร.สุวิทย์ กล่าวด้วยว่า จากการที่ตนได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่วัดราชบพิธฯ พระองค์ทรงรับสั่งกับตนว่า จะทำอย่างไรให้มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งเป็นตักศิลา ซึ่งหมายถึง มหาวิทยาลัยและเป็นศูนย์กลางของศิลปวิชาการ ในอดีตของอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ซึ่งเมื่อตนดูจากนโยบาย และแนวทางการดำเนินงานของทั้งมจร. และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(มมร.) แล้ว มองว่า การเป็นตักศิลา ด้านพระพุทธศาสนาของมมร.และมจร. ไม่ใช่เรื่องยาก ภาพ : MCU TV ________________________________ #MCUTV อาคารเรียนรวม ชั้น 4 ห้อง ซี 400 มจร วังน้อย อยุธยา โทร.035-248-000, 8057
งานประสาทปริญญา ภาพ : MCU TV ________________________________ #MCUTV อาคารเรียนรวม ชั้น 4 ห้อง ซี 400 มจร วังน้อย อยุธยา