บทความวิชาการ
ธรรมะจรรโลงจิต
22 มิ.ย. 59 | พระพุทธศาสนา
1282

ผู้แต่ง :: ผศ. ประพันธ์ กุลวินิจฉัย

ผศ. ประพันธ์ กุลวินิจฉัย (2553)

             บทสวดมนต์ นับว่ามีอิทธิพลต่อสังคมไทยมาก เพราะเชื่อกันว่ามีอานุภาพในการ
ป้องกันรักษาผู้ท่องบ่นสาธยายอยู่เสมอไม่ให้ได้รับอันตราย จากภัยต่างๆ ในครั้งพุทธกาลเคย
มีภัยเหล่านี้คือ ทุพภิกขภัย โรคภัย อมนุสสภัย บางทีก็รวมไปถึงโจรภัย เป็นต้นมาเบียดเบียน
อยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นบทสวดมนต์จึงนิยมสวดกัน ในประเทศไทยได้รับแบบอย่างมา อย่างน้อยก็
นะโม ๓ จบ สำหรับเด็กๆ ชาวพุทธสวดกันเป็นเบื้องต้น อาจพูดได้ว่าไม่มีใครเลยที่สวดมนต์
ไม่ได้ ในสารนิพนธ์ฉบับนี้ขอนำเสนอ บทร้อยกรองเป็นภาษาไทยอาจใช้สวดเป็นทำนอง
สรภัญญะก็ได้แรงบันดาลใจให้เขียนเรื่องนี้มาจากบทสวดมนต์ของกระทรวงศึกษาธิการ
ที่ประพันธ์โดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้มอบมรดกที่มีคุณค่าไว้ให้เรา
ทั้งหลาย คือ บทสวด คุณานุคุณ มี พุทธคุณ ธรรมคุณและสังฆคุณ ที่นักเรียนและพุทธศาสนิกชน
ใช้สวดหน้าเสาธง และเทศกาลสำคัญต่างๆ เสมอ ตัวอย่างเช่น องค์ใดพระสัมพุทธ วิสุทธสันดาน.. (อินทรวิเชียรฉันท์) ธรรมะคือคุณากร ส่วนชอบสาทร ดุจดังประทีปชัชวาล.. (ฉบัง๑๖) และสงฆ์ใดสาวกศาสดา รับปฏิบัติมา.. (ฉบัง๑๖) บทสวดดังกล่าวมาได้ก้องอยู่ในโสตประสาทของข้าพระเจ้าตั้งแต่อยู่ชั้น ก. ไก่ หรือ อนุบาล สมัยก่อน จนทำให้รักในบทกลอน หรือแม้แต่บทเพลงต่างๆ โดยเฉพาะบทอาขยานที่ครูให้ท่องก่อนเลิกเรียนทุกวัน เป็นแนวทางให้ได้มีพื้นฐานการเรียนฉันทลักษณ์หรือคำประพันธ์ได้อย่างดี ซึ่งทำให้เพิ่มความรักในภาษาไทยขึ้นมาก บทสวดมนต์ทำนองสรภัญญะนี้แม้ไม่ได้สวดให้มีอานุภาพเพื่อปกปักษ์รักษาแต่ก็ถือว่าเป็นธรรมะเพื่อจรรโลงจิตใจให้มีพลังต่อสู้โรคภัยได้ส่วนหนึ่ง ดังนั้นในโอกาสที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

(ที่มา: สารนิพนธ์ ปี ๒๕๕๓)