มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : ความรู้ ประสบการณ์วิชาชีพ การปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตน
26 มิ.ย. 59 | พระพุทธศาสนา
1028
ผู้แต่ง :: พระครูสังฆรักษ์กิตติพงศ์ สิริวฑฺฒโน
พระครูสังฆรักษ์กิตติพงศ์ สิริวฑฺฒโน
(2553) |
วิชาชีพ (Profession) เป็นกิจกรรมให้บริการแก่สาธารณชนที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเป็นการเฉพาะ และมีมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ โดยผ่านการฝึกฝน อบรม ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบวิชาชีพ ซึ่งต่างจาก อาชีพ (Career)ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องทำให้สำเร็จ โดยมุ่งหวังค่าตอบแทนเพื่อการดำรงชีวิตเพียงอย่างเดียวดังนั้น วิชาชีพจึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง เพราะผู้ประกอบวิชาชีพต้องมี
ความรับผิดชอบอย่างสูง และมีผลกระทบต่อผู้รับบริการและสาธารณชน ทำให้ต้องมีการควบ
คุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดย
ผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา (Intellectual Method) ได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างเพียงพอ (Long Period of Training) มีอิสระในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ (Professional Autonomy) หรือองค์กรวิชาชีพ (Professional Organization)
เป็นศูนย์กลางการกำหนดมาตรฐานเพื่อการควบคุมในการประกอบวิชาชีพ วิชาชีพทางการศึกษา มีบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เช่นเดียวกับแพทย์ พยาบาล ทนายความ กล่าวคือ การสร้างพลเมืองของประเทศ การพัฒนา พลเมืองหรือทรัพยากรมนุษย์ และการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติ การ ประกอบวิชาชีพควบคุมทางการศึกษานั้น พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้เป็นวิชาชีพของครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และ บุคลากร ทางการศึกษาอื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ หากผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมโดย
|
(ที่มา: สารนิพนธ์ ปี ๒๕๕๓) |
|
|