บทความวิชาการ
แนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาและครูในการส่งเสริมระบบสารสนเทศโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายโสธร เขต ๒๘(การบริหารการศึกษา), นางสาวกัลยกร ทองโสม
04 เม.ย. 61 | สารนิพนธ์
1642

ผู้แต่ง ::

ชื่อผู้วิจัย :นางสาวกัลยกร ทองโสมข้อมูลวันที่ : ๐๔/๐๔/๒๐๑๘
ปริญญา :พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 สิน งามประโคน
 อินถา ศิริวรรณ
 -
วันสำเร็จการศึกษา :๑๕ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

          การวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาและครูในการส่งเสริมระบบสารสนเทศโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายโสธร เขต ๒๘” มีวัตถุประสงค์หลัก ๒ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพสถานศึกษาในการส่งเสริมระบบสารสนเทศโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายโสธรเขต ๒๘ และ ๒) เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในการส่งเสริมระบบสารสนเทศโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายโสธร เขต ๒๘ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: F-test)  ผลการวิจัยพบว่า

 

          ๑.สภาพสถานศึกษาในการส่งเสริมระบบสารสนเทศโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายโสธรเขต ๒๘ จำนวน ๕ ด้าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

          ๒.ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในการส่งเสริมระบบสารสนเทศโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายโสธรเขต ๒๘ ได้แก่ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้มีห้องสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการและบริหารข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน ส่งเสริมให้มีห้องเก็บอุปกรณ์เครื่องมือสื่อการเรียนการสอนของโรงเรียน และจัดสรรงบประมาณจัดซื้ออุปกรณ์ในการบริหารระบบสารสนเทศของโรงเรียน จัดทำทะเบียนบันทึกข้อมูลความเสียหายของทรัพย์สินส่วนรวมจากการกระทำของผู้เรียนโต๊ะ เก้าอี้ ห้องน้ำ ห้องส้วม อุปกรณ์อื่นๆ จัดทำทะเบียนบันทึกข้อมูลในการบำเพ็ญประโยชน์และรักษาทรัพย์สมบัติส่วนรวมของผู้เรียน เช่น การซ่อมโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์อื่นๆ และจัดทำทะเบียนบันทึกข้อมูลในการใช้ห้องสมุดของผู้เรียนแต่ละสัปดาห์ของนักเรียนที่เข้าไปใช้บริการห้องสมุดอย่างมีความชัดเจน เช่น แยกนักเรียนชาย นักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย เป็นต้น มีขั้นตอนในการบริการงานวิชาการที่ชัดเจน เช่น การกำหนดเป้าหมายและกระบวนการตรวจสอบที่แน่นอน มีเทคนิควิธีการวัดประเมินผลและเทียบโอนที่ชัดเจน เช่น การวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนของผู้เรียน เป็นต้น และมีการวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา เช่น การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียน เป็นต้น จัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบการจัดการศึกษาที่ชัดเจน มีนโยบายวัตถุประสงค์ของแผนที่ชัดเจนและมีการดำเนินงานตามกระบวนการอย่างเป็นระบบ เช่น การวางงแผนข้อมูลการดำเนินงานที่มีข้อมูล เป็นต้น ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูกำหนดรูปแบบการนำเสนอข้อมูลระบบสารสนเทศชัดเจน เช่น การทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ บทความ กราฟฟิก ตาราง และแผนภูมิ เป็นต้น และมีบุคลากรรับผิดชอบในการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศเช่นระดับรองผู้อำนวยการโรงเรียน