ฮือฮา!มจร.วิจัย'วิปัสสนาฯรักษาความดัน'
23 ก.พ. 59 | ข่าวมหาวิทยาลัย
509
|
ข่าวมหาวิทยาลัย |
|
ฮือฮา!มจร.วิจัย'วิปัสสนาฯรักษาความดัน' |
วันที่ ๒๓/๐๒/๒๐๑๖ |
เข้าชม : ๑๑๔๕ ครั้ง |
ฮือฮา!มจร.วิจัย'วิปัสสนาฯรักษาความดัน'
"ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเดินจงกรม-นั่งสมาธิเพียง ๓๐ นาที ทำให้ความดันโลหิตลดลงได้"
ผลวิจัยทึ่งทำสมาธิช่วยแก้โรคความดันได้ | เดลินิวส์
„ผลวิจัยอาจารย์ มจร.พบ การปฏิบัติธรรม วิปัสสนา ตามหลัก “สติปัฏฐาน 4” ช่วยลดความดันโลหิตได้ หวังเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยโรคความดัน วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 11:00 น. วันนี้ (22ก.พ.) ผู้สื่อข่าว รายงานว่า จากการสัมมนาวิจัยพุทธศาสนานานาชาติ ครั้งที่ 7 จัดโดยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์และวิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ซึ่งมีนักวิจัยด้านพระพุทธศาสนาจาก 17 ประเทศเข้าร่วมงาน ที่วิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติ วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน โดยภายในงานมีการบรรยายพิเศษเกี่ยวพระพุทธศาสนาแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนา และการนำเสนอผลงานวิจัยทางพระพุทธศาสนา ซึ่งงานวิจัยที่สร้างความฮือฮาให้แก่ผู้เข้าร่วมงานมากที่สุด คือ ผลการศึกษาผลของการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อระดับความดันโลหิต ของนางจุฑามาศ วารีแสงทิพย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มจร. โดย นางจุฑามาศ กล่าวว่า จากหลายงานวิจัย พบว่า ความเครียดต่างๆ เป็นสาเหตุสำคัญให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และ โรคหลอดเลือดหัวใจตามมา จึงตั้งข้อสังเกต ว่า การปฏิบัติธรรมนั้นช่วยให้จิตใจสงบและมีสมาธิ และทำวิจัยนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานที่เป็นลักษณะและวิธีการของการเจริญสติปัฏฐาน 4 ซึ่งเป็นหลักคำสอนที่สำคัญในพุทธศาสนาว่า จะมีผลดีต่อการลดความดันโลหิตหรือไม่ โดยวิธีการวิจัย จะศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ในพระไตรปิฎก โดยใช้วิธีการของยุบหนอ-พองหนอ และได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากผู้ปฏิบัติธรรมที่ศูนย์ปฏิบัติธรรม มจร.วังน้อย และศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานนานาชาติ วัดมหาธาตุยุวราชยุวราชรังสฤษฎิ์จากพุทธศาสนิกชนที่มีอายุ17-77ปี มีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติที่สามารถเดินจงกรมและนั่งปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานในเวลาที่เท่า ๆ กันอย่างต่อเนื่องได้นาน 30นาที จํานวน 25 คน 45 นาทีจํานวน 20 คน และ 60นาทีจํานวน 20 คน ตามลำดับ รวมทั้งสิ้น 65 คน โดยจะวัดความดันโลหิตและชีพจรก่อนและหลังการปฏิบัติ นางจุฑามาศ กล่าวต่อไปว่า ผลจากการศึกษา พบว่า ก่อนเดินจงกรมและหลังนั่งเป็นระยะเวลาติดต่อกันอย่างละ 30, 45 และ 60 นาที ตามลำดับมีชีพจรเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อมาเมื่อกลุ่มตัวอย่างก่อนเดินจงกรมและหลังนั่งเป็นระยะเวลาติดต่อกันอย่างละ 45 นาที พบว่า มีค่าความต่างระหว่างค่าความดันตัวล่างกับตัวบน หรือค่า Pulsepressure เฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 เมื่อทำต่อเนื่องกันทั้งการเดินจงกรมและการนั่งสมาธิ ตามเวลาดังกล่าว ทำให้มีการปรับอินทรีย์อย่างสมดุลย์ เป็นผลทำให้สามารถลดการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติจนทำให้ชีพจร และค่าความดันของผู้ปฏิบัติเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามลำดับ เวลาของการปฏิบัติโดยค่าที่ลดลงของความดันโลหิตจากผลงานวิจัยครั้งนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ 10 มิลลิเมตรปรอท นางจุฑามาศ กล่าวด้วยว่า ผลงานวิจัยครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับความดัน โดยล่าสุดในการประชุมอเมริกันโซไซตี้ อ๊อฟ เนโพรโลยี(AmericanSociety of Nephrology) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือน พ.ย.2558 ยังนำผลงานวิจัยดังกล่าวไปเผยแพร่ออนไลน์ผ่านทางนิตยสารออนไลน์ของการประชุมครั้งนี้ที่ชื่อว่าคิดนี่วีค (KidneyWeek) ด้วย โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมสมาคมแพทย์โรคไตของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีแพทย์จากทั่วโลกเข้าร่วมประชุม.“
อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/education/381263
.
ขอขอบคุณ : ภาพ/ข่าว จาก โพสต์นิวส์ , นิดหน่อย ธัมมิกา-www.mcu.ac.th
|
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ |
|