ข่าวประชาสัมพันธ์
มจร มอบพระไตรปิฎกฉบับสากลหนึ่งเดียวของโลก รวมหลักธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา 3 นิกายหลักไว้ในเล่มเดียว
06 พ.ค. 60 | ข่าวมหาวิทยาลัย
497
ข่าวมหาวิทยาลัย
มจร มอบพระไตรปิฎกฉบับสากลหนึ่งเดียวของโลก รวมหลักธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา 3 นิกายหลักไว้ในเล่มเดียว
วันที่ ๐๖/๐๕/๒๐๑๗ เข้าชม : ๖๑๑ ครั้ง

มจร มอบพระไตรปิฎกฉบับสากลหนึ่งเดียวของโลก รวมหลักธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา 3 นิกายหลักไว้ในเล่มเดียว ใช้เวลารวบรวมนานกว่า 7 ปี
ตีพิมพ์หนึ่งหมื่นเล่มกระจายทั่วโลก

พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย ฐานะประธานสมาคมวิสาขบูชาโลก CBT เปิดเผยว่า ปัญหาอย่างหนึ่งในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา คือ เรื่องของการรวบรวมหลักธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา มีความแตกต่างกันทั้งลักษณะทางกายภาพ ภูมิศาสตร์ และที่สำคัญคือคำสอนของแต่ละศาสดานั้นมีรากเง้าไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นนิกาย เถรวาท มหายาน และวัชรยาน จึงมีการถกเถียง ไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน ที่ผ่านมามีการแปลคำสอนไปคนละทิศละทางตามความเชื่อที่แตกต่างกัน ขาดการจัดเรียงเป็นหมวดหมู่ ขาดการยอมรับซึ่งกันละกันไม่มีเอกภาพ

อธิการบดี มจร กล่าวต่อว่า เมื่อการประชุมสมัชชาศาสนาโลกช่วง พ.ศ.2553 ที่ประชุมจึงมีมติให้มีคณะทำงานรวบรวมหลักธรรม คำสอน
ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละนิกาย ทั้ง 3 นิกาย ได้แก่ เถรวาท มหายาน และวัชรยาน นำมาเรียบเรียงไว้ด้วยกันอย่างถูกหลักวิชาการ ระดมผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาพุทธนิกายต่างๆทั่วโลก อาทิ ประเทศไทย จีน ญี่ปุ่น ศรีลังกา พม่า ทิเบต เป็นต้น เพื่อค้นหาคำสอนของพระบรมศาสดาแต่ละนิกาย หาแก่นนำมาบูรณาการกันจนลงตัวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ยอมรับซึ่งกันและกัน เช่น หลักไตรสิขา ศีล สมาธิ และปัญญา นิกายเถรวาทสอนว่าอย่างไร นิกายมหายานสอนว่าอย่างไร และนิกาย วัชรยานสอนว่าอย่างไร ค้นหาแก่นแท้ของคำสอน ความเชื่อของแต่ละประเทศ แต่ละนิกาย พระบรมศาสดาสอนว่าไว้อย่างไร จากนั้นนำมาเรียบเรียง แบบเข้าใจง่าย ด้วยภาษาอังกฤษภาษากลางก่อน โดยมีปีเตอร์ ฮาร์วีย์ ชาวประเทศอังกฤษ เป็นบรรณาธิการทั่วไป
และพระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. เป็นบรรณาธิการหลัก

“คณะทำงานได้ใช้เวลารวบรวม ถกเถียงกัน เป็นเวลานานกว่า 7 ปี ในที่สุดก็ได้หนังสือพระไตรปิฎกฉบับสากล (Common Buddhist Text : CBT ) ซึ่งรวบรวมจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนา รวบรวมคำสอนพระพุทธศาสนา 3 หมวด ได้แก่ หมวดพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ มีทั้งสิ้น 12 บท พร้อมเชิงอรรถชัดเจน รวบรวมไว้ในเล่มเดียวด้วยรูปเล่มสีแก่นขนุน สวยงาม ภาษาถูกต้อง เข้าใจง่าย เรียบเรียงจากหลักหัวใจพระพุทธศาสนา นิกาย เถรวาท มหายาน และวัชรยาน จนกลายเป็นพระไตรปิฎกฉบับสากลขึ้น สามารถนำไปวางไว้ตามสนามบิน โรงแรมทั่วโลกได้ทันที ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาสู่ประชาคมโลกอย่างยั่งยืน และเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก พ.ศ.2560นี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงเปิดตัวหนังสือเล่มพระไตรปิฎกฉบับเดียวของโลกตีพิมพ์จำนวนหนึ่งหมื่นเล่ม ก่อนแจกจ่ายไปยังวัด สถานทูต ทั่วโลก ซึ่งจะช่วยให้ประชากรโลก มีความรู้ ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธได้อย่างท่องแท้ ที่สำคัญจะเป็นหนทางช่วยให้พระพุทธศาสนา มีความมั่นคงยั่งยืนอีกด้วย ”
พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดี มจร กล่าว

 

 

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน

 

 

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, ข้อความ

 

 

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, ข้อความ

 

 

 

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

 

 

 

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง และ ข้อความ

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, ข้อความ

 

ในภาพอาจจะมี 2 คน, ผู้คนกำลังนั่ง และ สถานที่ในร่ม

 

ในภาพอาจจะมี 12 คน, ผู้คนกำลังยืน และ สถานที่ในร่ม

 

ในภาพอาจจะมี 12 คน, สถานที่ในร่ม

 

ขอขอบคุณ : ภาพ/ข่าว  Mcu Tv-Channel


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • #(ข่าว)เจ้าคุณประสาร “โต้กลับ” หลังถูกตั้งคำถาม “ศักดิ์ศรี มจร” อยู่ที่ไหน!!
    12 เม.ย. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    145
  • มจร ช่วยผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในเมียนมา 7.5 แสนบาท
    10 เม.ย. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    111
  • พระพรหมวัชรธีราจารย์,ศ.ดร. อธิการบดี ประธานในงาน ธารน้ำใจไทยสู้ภัยพิบัติแผ่นดินไหว "เมียนมา"
    09 เม.ย. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    93
  • ขอแสดงความยินดีกับพระครูสมุห์วชิรวิชญ์ ฐิตวํโส, ดร. เนื่องในโอกาสได้รับ โล่ผู้บริหารดีเด่น และเกียรติบัตรแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ประเภทอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษาดีเด่น
    09 เม.ย. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    106
  • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เชิญสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร ถวายแด่ พระเทพวัชรสิทธิเมธี พระราชวัชรคุณบัณฑิต พระราชวัชรธรรมวาที พระศรีวัชรศาสตรบัณฑิต พระศรีวัชรสารบัณฑิต พระเมธีวัชรญาณบัณฑิต พระภาวนาวัชรมุนี พระสุธีวัชรบัณฑิต พระวัชรพุทธิบัณฑิต พระสิทธิวัชรบัณฑิต และ พระวัชรบัณฑิต
    26 มี.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    446