ข่าวประชาสัมพันธ์
วิปัสสนากรรมฐาน มจร. ทางรอดทุนนิยมล่ม-สังคมวุ่น
22 ก.ย. 51 | ข่าวมหาวิทยาลัย
568
ข่าวมหาวิทยาลัย
"วิปัสสนากรรมฐาน" มจร. ทางรอดทุนนิยมล่ม-สังคมวุ่น
วันที่ ๒๒/๐๙/๒๐๐๘ เข้าชม : ๑๑๖๙๓ ครั้ง

     "ปัจจุบันหลักสูตร วิปัสสนากรรมฐาน มจร. ได้รับความนิยมมาก ทั้งหลักสูตรปริญญาโท และหลักสูตรระยะสั้น โดยเฉพาะหลักสูตรระยะสั้นได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติมาก โดยเฉพาะอเมริกาที่ให้ความสนใจศาสตร์ด้านนี้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นการบำบัดจิตได้อย่างหนึ่ง มีสติ มีปัญญาทำให้ตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่างๆ ได้ดีขึ้น และไม่เป็นคนโลภ ไม่ตกเป็นเหยื่อของอารมณ์โกรธ ทำให้สังคมมีความสุขสงบ และประเทศชาติอยู่รอด" พระครูสังฆพินัย ผช.อธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) กล่าว เพราะการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นการปฏิบัติสูงสุดตามหลักพุทธศาสนา เพื่อขัดเกลากิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) อวิชชา (ความไม่รู้จริง) เพื่อพัฒนาจิตให้เกิดปัญญา (การเห็นความจริง) และเกิดความสันติสุขแก่ชีวิต ครอบครัว และสังคม วิ แปลว่า แจ่มแจ้ง แตกต่าง และวิเศษกว่าการหยั่งรู้โดยโลกวิธี ปัสสนา แปลว่า การเห็น คือการหยั่งรู้ด้วยปัญญา กรรม แปลว่า การกระทำ คือการกระทำด้วยใจอันประกอบด้วยความเพียร สติ สัมปชัญญะ ตามวิธีการ ฐาน แปลว่า การงาน คือสิ่งที่ตัวกระทำได้แก่ใจเข้าไปกำหนดการรู้แจ้ง
        พระครูสังฆพินัย กล่าวว่า หลักสูตรวิปัสสนากรรมฐาน จะให้คฤหัสถ์เข้าไปเรียนด้วย ระยะสั้นจะเรียนตั้งแต่ 7 วัน 15 วัน หรือ 1 เดือน ส่วนปริญญาตรีทุกหลักสูตรที่ มจร.เปิดสอนต้องเรียนวิชาทางศาสนาและวิปัสสนา 50 หน่วยกิต ส่วนหลักสูตรปริญญาโทเรียนวิปัสสนา 1 เดือน ส่วนปริญญาเอกเรียนวิปัสสนา 3 เดือนติดต่อกัน ส่วนผู้ที่เรียนหลักสูตรวิปัสสนาโดยตรงต้องทำงานวิจัยโดยการปฏิบัติ 7 เดือน เพราะ วิปัสสนา จะช่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ทำให้เกิดปัญญา สามารถแก้ทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตนได้ ช่วยขจัดปัดป้องทุกข์ภัยอุปสรรคทางกายใจ พร้อมทั้งนำความผาสุกในชีวิตหน้าที่การงาน สังคม และครอบครัว มาให้ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
 นอกจากนี้ ยังช่วยบำบัดเขลา บำรุงปัญญา สามารถเพิ่มสมรรถนะในการเรียนรู้และความคิดอ่านทางโลก ช่วยให้เกิดความหยั่งรู้และสามารถนำสมรรถภาพที่ซ่อนเร้นในตัวออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้เป็นอย่างดี บำบัดความรู้สึกฝ่ายต่ำ บำรุงความดีงาม สามารถขจัดสิ่งเลวร้ายภายในตนเองออกไปและเสริมสร้างความดีให้เกิดขึ้นในตนเองได้ มีปัญญา สามารถตีค่าความดีชั่วได้อย่างตรงไปตรงมา พร้อมกับเกิดการกลับใจได้โดยฉับพลันโดยไม่ยากลำบาก ตามความเข้าถึงของแต่ละบุคคล
      "จริงๆ แล้วการวิปัสสนา จะช่วยให้สังคมสงบสุข เป็นหลักสูตรที่พันธมิตรและนปช.ต้องเรียน รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของประเทศต้องเรียนอย่างยิ่ง เพื่อให้หลักในการบริหารบ้านเมือง ไม่ต้องมีปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น บ้านเมืองวุ่นวาย รวมทั้งมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่มั่นคง แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์วิกฤติทางเศรษฐกิจที่รุนแรงอย่างที่สหรัฐกำลังเผชิญ หากผู้บริหารเรียนวิปัสสนา หรือปฏิบัติเป็นประจำ ก็จะมีทางออกในการแก้ปัญหาได้" พระครูสังฆพินัย กล่าว
 ปัจจุบันมหาวิทยาลัยทั่วโลกขาดแคลนอาจารย์สอนวิชาวิปัสสนากรรมฐานอย่างมาก ซึ่ง พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมจร. ในฐานะประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (สมพน.) ได้หารือกับผู้แทนมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา 116 แห่ง จาก 30 ประเทศทั่วโลก ที่เข้าร่วมประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ ถึงความเป็นไปได้ในการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก วิปัสสนาภาวนา ขึ้นเพื่อผลิตอาจารย์ให้เพียงพอต่อความต้องการ รวมทั้งพัฒนาให้พูดภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่วิธีวิปัสสนากรรมฐานให้ต่างชาติเข้าใจอย่างถูกต้อง กระทั่งมีการลงนามร่วมกันระหว่าง มจร. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) และมหาวิทยาลัยที่มีการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย 25 แห่ง ในการพัฒนางานวิจัยและระบบการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ซึ่งในเร็วๆ นี้ มจร.จะลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาจากประเทศฮังการี เปิดสอนระดับปริญญาเอก ด้านวิปัสสนากรรมฐานอีกด้วย เพราะเชื่อว่าเป็นหนทางหนึ่งในการเตรียมผู้คนรับมือยุคเศรษฐกิจทุนนิยมล่มและสังคมวุ่นวายได้ในอนาคต

หนังสือพิมพ์คมชัดลึก 22 กันยายน 2551
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่/รวบรวม



เว็บไซต์อ้างอิง
  Web Link : http://www.komchadluek.net/2008/09/22/x_edu_e001_221984.php?news_id=221984
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • พิธีอัญเชิญปัจจัยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม โดย นายกิติภัค เกษรสิริธร ผู้แทนพระองค์
    08 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    77
  • "อาจารย์ ม.สงฆ์ มจร" นำสัมมนานานาชาติ เสริมพลังพุทธศาสนาและวรรณกรรมเพื่อความเท่าเทียม
    07 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    70
  • “ความเป็นผู้รู้จักเวลา เป็นรากฐานสำคัญ ที่ทำให้คนเราสามารถดูแลรับผิดชอบตนเองได้ อันจะนำไปสู่ความสำเร็จที่สูงขึ้นต่อไปในอนาคต เด็กทุกคนจึงควรได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้รู้จักเวลา รู้ว่าเวลาใดควรปฏิบัติสิ่งใด..เหมาะแก่เวลาเสมอ” พระบรมราโชวาท ร.10 เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568
    05 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    211
  • “เจ้าคุณประสาร” มอง “อ.เบียร์” ขาด “คารวตา” ปมวิจารณ์ “พระเกจิสังขารไม่เปื่อย” ให้สติ “อย่าเป็นชาล้นถ้วย”
    04 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    110
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาท เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๘ เพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็กแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๘
    04 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    76