ไปแล้วได้อะไรกลับมาหลายอย่าง นอกเหนือจากความรู้สึกปีติที่ได้ไปกราบถวายมุทิตาจิตท่านเจ้าคุณพระเทพปวรเมธี
ประการแรก ได้มีโอกาสฟังนักเทศน์บรมครู เจ้าสำนักนักเทศน์ลีลาสาริกาป้อนเหยื่อ พระเดชพระคุณพระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส ที่ได้กล่าวสัมโมทนียกถาอำนวยพรแก่ท่านเจ้าคุณพระเทพปวรเมธี
เ
พระเดชพระคุณพระพรหมบัณฑิต ได้นำหลักการประเมินคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
คือ ไอพีโอไอ (IPOI) มาเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพของพระเทพปวรเมธี
ด้วย โดยได้ชี้ให้เห็นว่า พระเทพปวรเมธี คุณภาพครบทั้งสี่ประการ คือ
I= Input ปัจจัยนำเข้า
เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกและดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
ทั้งยังพัฒนาตนตลอดเวลา มีความรู้ทั้งด้านการบริหารและวิชาการ ทั้งในแวดวงมหาวิทยาลัยและคณะสงฆ์
P = Process กระบวนการในการนำความรู้ความสามารถให้ผลิดอกออกผล ผลลัพธ์หรือผลผลิต ท่านไม่ได้ทำงานคนเดียว ทำเองก็ได้ บริหารกิจการให้คนอื่นทำให้ก็ได้ (อลัง กาตุง อลัง สังวิธาตุง) ตัวอย่างใกล้ตัวคือวัดมหาจุฬาฯ ท่านได้เข้ามาดูแลตั้งแต่ต้น ดำเนินการทุกอย่าง ตั้งแต่การสร้างอุโบสถกลางน้ำ ศาลาการเปรียญ และหมู่กุฏิสงฆ์ โดยรวบรวมศรัทธาจากทุกฝ่ายจนประสบผลสำเร็จ ยกฐานะเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
O = Output ผลผลิต
ผู้ที่มีความรู้ความสามารถก็ย่อมมีผลงานในทุกที่ที่เกี่ยวข้อง
ส่วนตัวของท่านก็มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เป็นนักบริหาร นักวิชาการ นักเทศน์ นักพูด
นักเขียนและนักวิจัย เปรียบเสมือน "หินที่กลิ้ง ตะไคร่น้ำไม่จับ"
I = Impact ผลกระทบ เห็นได้ชัดเจนว่างานที่ท่านทำ ไม่ว่าต่อ มจร ต่อคณะสงฆ์ และต่อสังคม โดยเฉพาะต่อวัดมหาจุฬาฯ ได้บริหารผ่านสาธุชนจนทำให้งานประสบความสำเร็จ
ประการที่สอง
ได้หนังสือโมเดลต้นแบบนวัตกรรม มจร "สู้ภัยโควิด -19"
จากการที่ พระเดชพระคุณพระพรหมบัณฑิต ได้กล่าวว่าท่านเจ้าคุณพระเทพปวรเมธี
เป็นนักวิจัยด้วย หนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่าง เป็นหนึ่งในร้อยของผลงานวิจัยของท่าน
โดยที่ท่านเจ้าคุณพระเทพปวรเมธี เป็นรองอธิการบดีฝ่ายบริหารของ
มจร งานวิจัยเรื่องนี้จึงเก็บข้อมูล วิเคราะห์และนำมาสู่การปฏิบัติตนของบุคลากรและผู้ที่เข้าไปติดต่อประสานงานกับ
มจร นั่นแหละครับ
หนังสือเล่มนี้ได้เสนอองค์ความรู้จากการวิจัยแสดงโมเดลต้นแบบนวัตกรรมที่ได้จากการถอดบทเรียนเชิงพื้นที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการสู้ภัยสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า
2019 ปรากฏการที่เกิดขึ้นใน มจร ตามแนววิถีใหม่ (New Normal)
ทำให้ได้รูปแบบการปรับตัวในกาบริหารจัดการสู้ภัยสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า
2019
(Covid-19)
โมเดลที่ได้คือโมเดลต้นแบบนวัตกรรมสัตตวิธีตามแนววิถีใหม่สู้ภัยโควิด-19 คือวิธีการปรับตัว 7 วิธี คือ วิธีการใช้ชีวิตวิถีใหม่ที่ใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น
วิธีการทำงานของบุคลากรในวิถีใหม่ที่ใช้การสื่อสารออนไลน์เป็นหลัก
วิธีการจัดการเรียนการสอนตามแนวที่ใช้การเรียนรู้ออนไลน์แบบผสมผสาน
(Online
Blended Learning) วิธีการจัดการงานวิจัยและวิชาการวิถีใหม่เน้นการทำงานทางออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ
วิธีการสื่อสารสาธารณะธรรมวิถีใหม่เน้นการมีระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)
วิธีการแสดงออกถึงน้ำใจคนไทยในวิถีใหม่ด้วยการแบ่งปันผ่านตู้ปันน้ำใจ
และวิธีการอยู่ร่วมกันในมหาวิทยาลัยตามแนววิถีใหม่อย่างวิถีพุทธ (Buddhist
New Normal)
นอกจากนั้น ยังกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคของ
มจร ไว้ 5 ข้อ คือ มาตรการด้านการปฏิบัติงานของบุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยให้สามารถปฏิบัติงานจากบ้านและจัดวาระสลับวันเข้าปฏิบัติงาน
มาตรการด้านการจัดการศึกษา กำหนดให้จัดการเรียนการสอนและการสอบแบบออนไลน์
มาตรการทั้ง ๕ ข้อ นี้ดำเนินการโดยมีศูนย์ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของ มจร ซึ่งมีท่านเจ้าคุณพระเทพปวรเมธี เป็นประธาน
คงนำสาระสำคัญทั้งหมดในหนังสือดังกล่าวมาลงไม่ได้หรอกครับ แต่หากท่านที่สนใจก็หาอ่านได้ทั้งหมดในอีบุ๊ก (e-Book) ที่ http:/online.anyflip.com/jiegq/uvdp/mobile/index. html
ทั้งในเล่มและในอีบุ๊กนั้น
มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วยครับหน่วยงานใดประสงค์จะนำไปปรับใช้ก็ไม่น่ามีปัญหา
เพราะท่านเจ้าคุณพระเทพปวเมธี ได้เผยแพร่ทางอีบุ๊กแล้วเจตนาของท่านคงต้องการมอบเป็นวิทยาทานให้ทุกคน
ทุกหน่วยงานนำไปปรับใช้ได้ตามต้องการ
ผู้เขียนก็ขออนุโมทนาสาธุการกับท่านเจ้าคุณพระเทพปวรเมธี ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
พุธทรัพย์ มณีศรี