ข่าวประชาสัมพันธ์
อธิการบดี มจร ย้ำศาสนาและปรัชญาเป็นเสาหลักของการศึกษาที่สมบูรณ์
06 ส.ค. 52 | ข่าวมหาวิทยาลัย
443
ข่าวมหาวิทยาลัย
อธิการบดี มจร ย้ำศาสนาและปรัชญาเป็นเสาหลักของการศึกษาที่สมบูรณ์
วันที่ ๐๖/๐๘/๒๐๐๙ เข้าชม : ๗๕๒๗ ครั้ง

         มหาจุฬาฯ วังน้อย: เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคมที่ผ่านมา สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดให้มีการปาฐกถาราชบัณฑิตสัญจร เรื่อง บทบาทของวิชาศาสนาและปรัชญาในสังคมไทย   
        พระธรรมโกศาจารย์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์  กล่าวว่า การเรียนการสอนวิชาศาสนาและปรัชญาในสังคมไทยปัจจุบันต้องสอดคล้องกับที่ยูเนสโกกำหนดไว้คือการศึกษาต้องประกอบด้วย ๔ เรื่อง คือการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาปัญญาและพัฒนาความรู้ เรามีวิชาศาสนาและปรัชญาในมหาวิทยาลัยในสถานศึกษา เป็นไปเพื่อการพัฒนาความรู้และปัญญาและยังพัฒนาวิธีคิดมีสมาธิ มีโยนิโสมนสิการ เรียนเก่งขึ้น ๒. เพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติการ คือนอกจากเรียนเอกวิชาไหนต้องเก่งวิชานั้นยังไม่พอ ศาสนาและปรัชญาต้องสอนบูรณาการให้ผู้ที่เรียนเอกวิชาอื่น ไม่ว่าจะเป็นครุศาสตร์ เศรษฐศาสตร์หรืออื่นๆ ก็ตาม มีจริยธรรมมีคุณธรรม เพราะคนกลุ่มนี้เมื่อเรียนได้ความรู้ความสามารถไปแล้ว เช่น เรียนรัฐศาสตร์แล้วไปปกครองแต่ขาดคุณธรรมขาดจริยธรรม ก็เกิดการทุจริต เกิดการขัดแย้งกัน  วิชาที่สอนให้มีคุณธรรมจริยธรรมก็คือพระพุทธศาสนาคือ Ethic หรือหลักจริยธรรมในปรัชญานั่นเอง  ๓. การศึกษาเพื่อพัฒนามนุษยสัมพันธ์ เป็นการเรียนรู้ที่จะยอมรับกัน สังคมไทยปัจจุบันอยู่ร่วมกันอย่างสันติไม่ได้เพราะไม่เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน เรียนแต่วิชาเอกของตัวเอง  วิชาที่สอนให้คนอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เกิดความอดทน เกิดความปรองดองสมานฉันท์ ก็คือวิชาศาสนาและปรัชญา ประเทศไทยเราขาดตรงนี้และต้องเรียนต้องสอนกันให้มากกว่านี้ และ ๔. เรียนรู้เพื่อการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พัฒนาศักยภาพให้เต็มที่ ไม่ใช่ไปเป็นเครื่องจักรในโรงงาน เรียนจบแล้วไปทำงานมีสภาพเหมือนเครื่องจักรคือเป็นเหมือนวัตถุ ไม่มีชีวิตจิตใจ ถ้าเรียนศาสนาและปรัชญาก็จะเป็นผู้ที่มีชีวิตอยู่อย่างที่สมบูรณ์มีความสุขทางจิตใจไม่ใช่แต่ทางวัตถุนิยม วิชาที่ทำให้คนไทยมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ได้ คือวิชาศาสนาและปรัชญา ผู้ที่ขาดความสุขในทางจิตใจเพราะขาดศาสนาและปรัชญา  ทั้งนี้ ยูเนสโก ได้ทำวิจัยออกมาแล้วว่า ในศตวรรษที่ ๒๑ การศึกษาต้องอาศัยเสาหลักทั้งสี่นี้ จึงจะเป็นการศึกษาที่สมบูรณ์
        พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวอีกว่า  การที่สังคมไทยไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาศาสนาและปรัชญา ทำให้เกิดปัญหาด้านศีลธรรม เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ถ้าใช้หลักของศาสนาและปรัชญาเข้าไปแก้จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง การที่จะตอกย้ำสังคมให้หันมาสนใจศาสนาปรัชญาต้องใช้สื่อเข้าช่วย เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้กับสังคม แต่ปัจจุบัน สื่อที่เผยแพร่ออกมาล้วนแต่มอมเมาทั้งสิ้น จะมีเวลาให้พระสงฆ์สั่งสอนด้านศาสนาปรัชญาก็จัดเวลาให้ช่วงตี ๓ ตี ๔ หากต้องการให้ใช้หลักของศาสนาปรัชญาเข้ามาช่วยแก้ปัญหา คณะสงฆ์ต้องมีสื่อของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ จึงจะสามารถต่อสู้กับโลกแห่งวัตถุนิยมได้

ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่/ภาพ/ข่าว


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • "อ.เบียร์ คนตื่นธรรม" ข้ากราบสักการะ "พระเทพวัชรสารบัณฑิต" ปมเปรียบพระเกจิกับสุนัข
    11 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    50
  • พิธีอัญเชิญปัจจัยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม โดย นายกิติภัค เกษรสิริธร ผู้แทนพระองค์
    08 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    103
  • "อาจารย์ ม.สงฆ์ มจร" นำสัมมนานานาชาติ เสริมพลังพุทธศาสนาและวรรณกรรมเพื่อความเท่าเทียม
    07 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    83
  • “ความเป็นผู้รู้จักเวลา เป็นรากฐานสำคัญ ที่ทำให้คนเราสามารถดูแลรับผิดชอบตนเองได้ อันจะนำไปสู่ความสำเร็จที่สูงขึ้นต่อไปในอนาคต เด็กทุกคนจึงควรได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้รู้จักเวลา รู้ว่าเวลาใดควรปฏิบัติสิ่งใด..เหมาะแก่เวลาเสมอ” พระบรมราโชวาท ร.10 เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568
    05 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    250
  • “เจ้าคุณประสาร” มอง “อ.เบียร์” ขาด “คารวตา” ปมวิจารณ์ “พระเกจิสังขารไม่เปื่อย” ให้สติ “อย่าเป็นชาล้นถ้วย”
    04 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    120