ศธ.อาราธนา"มหาจุฬาฯ" ปรับหลักสูตรพุทธศาสนา
14 ก.พ. 53 | ข่าวมหาวิทยาลัย
423
|
ข่าวมหาวิทยาลัย |
|
ศธ.อาราธนา"มหาจุฬาฯ" ปรับหลักสูตรพุทธศาสนา |
วันที่ ๑๔/๐๒/๒๐๑๐ |
เข้าชม : ๘๔๘๘ ครั้ง |
ศธ.อาราธนา"มหาจุฬาฯ" ปรับหลักสูตรพุทธศาสนา
ช่วงปลายเดือนมกราคม 2553 เมื่อครั้งที่นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิ การ เข้าไปกราบนมัสการสมเด็จพระพุฒา จารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ที่วัดสระเกศราชวรวิหาร เพื่อขอพรในการเข้ารับตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการคนใหม่นั้น
ในการนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์ได้ฝากให้รัฐมนตรีคนใหม่ดูแลและสนับสนุนงานโรง เรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ อีกทั้งสนับสนุนบทบาทมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่งนี้ คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ได้วิจัยองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมและศีลธรรม
พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) เปิดเผยว่า ตามที่ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายสนับ สนุนการทำงานของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง คือ มหาจุฬาฯ และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) โดยเฉพาะการยกระดับคุณภาพให้เท่าเทียมกับมหาวิทยาลัยหลัก และต้องการให้มหาวิทยาลัยสงฆ์วิจัยองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมและศีลธรรมในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ รมว. ศึกษาธิการ เห็นความสำคัญและมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ทัดเทียมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยสงฆ์เองก็ได้พยายามพัฒนาและปรับตัวเองให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการมาโดยตลอด
พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวต่อว่า ล่าสุดกระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้มหาจุฬาฯ ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรวิชาพระ พุทธศาสนาขึ้นมาใหม่ เพื่อให้การเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่นนั้นๆ เนื่องจากที่ผ่านมาแต่ละโรงเรียนได้พบปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนพระ พุทธศาสนา 2 เรื่อง คือ
1.การเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ให้เวลาน้อย และในระดับ ม.ปลาย โดยเฉพาะชั้น ม.5-6 มีการสอนสังคมศึกษาแบบร่วม โดยไม่ได้มีการสอนวิชาพระพุทธศาสนาเป็นการเฉพาะ
2.หลักสูตรควรจะต้องมีการปรับปรุงให้เกิดความทันสมัย เพราะเด็กเรียนแล้วรู้สึกเบื่อ ซึ่งขณะนี้หลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาฉบับใหม่มหาจุฬาฯ ได้จัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะเริ่มใช้งานได้จริงในเดือนพฤษภาคม 2553
สำหรับเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาฉบับใหม่ มหาจุฬาฯ จะใช้หลักของภาวนา 4 คือ กายภาวนา หมาย ถึง พฤติกรรม ร่างกายที่แข็งแรง ศีลภาวนา หมายถึง หลักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น จิตตภาวนา หมายถึง สุขภาพจิตที่ดี ปัญญา หมายถึง การรู้ เข้าใจ สิ่งที่เกิดขึ้น และทางแก้ปัญหา เป็นแกนหลัก ควบคู่กับการทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมากขึ้น รวมทั้งจะมีการฝึกวิธีคิดให้แก่เด็ก
ในระดับชั้น ป.1-3 จะเน้นเรื่องการบริหารจิตเจริญปัญญา เช่น การร้องเพลงสร้างสมาธิ เป็นต้น
ในระดับชั้น ป.4-6 เน้นการปฏิบัติตนเองในการเป็นชาวพุทธที่ดี การเป็นคนดีควรทำอย่างไร
ในระดับชั้น ม.1-3 เรียนรู้เรื่องของการเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่น
และระดับชั้น ม.4-6 จะเน้นนักเรียนให้เรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองศึกษาต่อ
ทั้งนี้ ในหลักสูตรใหม่ยังคงจะต้องมีเรียนพุทธประวัติ หน้าที่ชาวพุทธ หลักธรรมคำสอน เป็นความรู้พื้นฐาน เพื่อให้เด็กเกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนาด้วย
"สิ่งที่เราจะเน้นในหลักสูตรใหม่ คือ กิจ กรรมพัฒนาผู้เรียนที่ มีมากขึ้น ที่จะฝึกให้เด็กได้ปฏิบัติจริงได้เห็นของจริง ที่จะนำไปใช้กับชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 3 หลักสูตรใหม่จะเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ให้ได้ว่าอะไรควรเชื่อและอะไรไม่ควรเชื่อ ซึ่งจะต้องนำหลักเหตุผลทางพระพุทธศาสนามาสอนให้เขาเข้าใจ พร้อมตัวอย่างที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้เด็กได้เห็น เช่น การไม่หลงเชื่อคนในเว็บไซต์จนเป็นเหตุให้ไปสู่การหลอกลวง"
"ส่วนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึง 6 จะเน้นกิจ กรรมที่ทำให้เด็กรู้ตัวตนของตนเองมาก ขึ้น เช่น ให้เด็กได้คิดว่าตนเองชอบอะไรอยากเป็นอะไร อยากที่จะศึกษาต่อด้านไหน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาตมาหวังว่า การปรับหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาครั้งนี้น่าจะช่วยให้เด็กไทยมีคุณธรรม จริย ธรรม และรู้จักคิดแก้ปัญหาของตนเองได้มากขึ้น" อธิการบดีมหาจุฬาฯ กล่าว
ที่มา;ข่าวสดรายวัน วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7017 หน้า 29
ข้อมูล; ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdNVEUwTURJMU13PT0=§ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1DMHdNaTB4TkE9PQ== |
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ |
|