ข่าวมหาวิทยาลัย |
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของนายจ้างและสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามประมวลรัษฎากร | ||
วันที่ ๑๙/๐๓/๒๐๑๐ | เข้าชม : ๔๔๑๔ ครั้ง | |
กรณีมหาวิทยาลัย(นายจ้าง) ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๘๓ (๒๕๓๓) ซึ่งออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กำหนดให้มหาวิทยาลัย(นายจ้าง)สามารถนำเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาหักเป็นรายจ่ายของมหาวิทยาลัย(นายจ้าง)ได้ หากการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนนั้นได้กระทำภายในสามวันทำการ นับแต่วันที่มีการจ่ายค่าจ้าง และมหาวิทยาลัย(นายจ้าง)นำเงินดังกล่าวเข้ากองทุนในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกับที่มีการจ่ายค่าจ้าง ดังนั้น ในกรณีของการจ่ายเงินสมทบประจำเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีของมหาวิทยาลัย(นายจ้าง)นั้น มหาวิทยาลัยจะต้องนำส่งเงินดังกล่าว ให้แก่ผู้จัดการกองทุน ภายใน ๑๒.๓๐ น. (หรือตามเวลาเปิดรับเช็คของธนาคาร) ของ วันที่ ๓๐ ธันวาคม ของทุกปี (ในกรณีที่วันดังกล่าวตรงกับวันหยุดทำการของมหาวิทยาลัยหรือของธนาคาร มหาวิทยาลัยจะต้องนำส่งเงินดังกล่าว ภายในวันทำการสุดท้ายก่อนวันดังกล่าว) เพราะหากมหาวิทยาลัย(นายจ้าง)นำส่ง เงินดังกล่าวในเดือนมกราคมของปีถัดไป ก็จะถือว่านายจ้างไม่ได้นำเงินดังกล่าวเข้ากองทุนในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกับที่มีการจ่ายค่าจ้าง กรณีสมาชิก(ลูกจ้าง) ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนมีสิทธินำเงินดังกล่าวมาหักลดหย่อนและได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับในปีภาษีที่ได้มีการจ่ายเงินสะสมนั้นเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้ ๑. เงินสะสมตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท มีสิทธินำมาหักลดหย่อนได้ ๒. เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนในอัตราไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของค่าจ้าง ในส่วนที่เกินกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒๙๐,๐๐๐ บาท (เมื่อรวมกับเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ) ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเป็นเงินได้ ทั้งนี้ ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่มหาวิทยาลัย(นายจ้าง)ออกให้แก่ลูกจ้างจะต้อง ระบุว่า“เงินสะสมที่มหาวิทยาลัยหักเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามใบอนุมัติระเบียบว่าด้วย |
แหล่งข่าว : กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ||