ข่าวประชาสัมพันธ์
มหาจุฬาฯ กับการสนองพระราชปณิธานของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ และผลงานของพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี ๔ สมัย
11 พ.ค. 53 | ข่าวมหาวิทยาลัย
579
ข่าวมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาฯ กับการสนองพระราชปณิธานของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ และผลงานของพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี ๔ สมัย
วันที่ ๑๑/๐๕/๒๐๑๐ เข้าชม : ๑๓๑๘๔ ครั้ง

                     ถ้าจะกล่าวถึงวงการการศึกษาสงฆ์ก็ต้องนึกถึงการศึกษาบาลี นักธรรม โรงเรียนพระปริยัติธรรม มหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยเฉพาะมหาจุฬาฯ ภายใต้การบริหารของพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙.Ph.D.) ศาสตราจารย์รูปแรกที่เป็นพระสงฆ์  ความสามารถในการบริหารจัดการ ด้านวิชาการเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ที่เพรียบร้อยด้วยทีมงานทั้งในวัด นอกวัด รวมทั้งมีสายสัมพันธ์กับนานาประเทศ 

                    โลโก้พระธรรมโกศาจารย์ติดตลาดทั้งในและต่างประเทศ วันนี้ได้มีโอกาสสัมผัสผลงานพระธรรมโกศาจารย์ นั้นคือพิธีประสาทปริญญา เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓  โดยสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ กรุงเทพฯ รวมทั้งได้มอบคำสั่งแต่งตั้งพระธรรมโกศาจารย์ เป็นอธิการบดีสมัยที่ ๔ (สมัยละ ๔ ปี)  

                    ในรอบ ๑๒ ปีที่ผ่าน มหาจุฬาฯ ภายใต้การนำของพระธรรมโกศาจารย์ มีความเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ ที่เรียกว่าหลังมือเป็นหน้ามือ มีการขยายสาขาออกไปยังจังหวัดต่างๆ กว่า ๔๐ จังหวัด มีสถาบันการศึกษาในต่างประเทศนำหลักสูตรไปเปิดสอนแล้วมารับปริญญาที่มหาจุฬาฯ เรียกว่าสถาบันสมทบ มากกว่า ๖ แห่ง และมีแนวโน้มจะขยายอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างมหาจุฬาฯ ที่วังน้อย ใหญ่โต บนพื้นที่กว่า ๓๐๐ ไร่ ใช้งบประมาณไปแล้วไม่ต่ำกว่า ๓,๐๐๐ ล้านบาท เรียกว่าพัฒนาแบบก้าวกระโดด ด้านวิชาการมีการเน้นภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ส่งเสริมคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ได้ศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ เร็วๆ นี้ก็เปิดสถาบันภาษาโดยการอุปถัมภ์ของนายแพทย์รัศมี-คุณหญิงสมปอง วรรณิสสร มีการเปิดหลักสูตรใหม่ เช่น หลักสูตรชีวิตและความตาย หลักสูตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ หลักสูตรการบริหารจัดการเชิงพุทธ ปัจจุบันกำลังวางแผนที่จะสร้างวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติบนพื้นที่กว่า ๘๐ ไร่  เพื่อใช้เป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ,

                      เมื่อมีการตั้งวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ สิ่งที่จะตามมาก็คือบุคลากรที่มีความรู้ เชี่ยวชาญด้านภาษาต่างประเทศ เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้นก็ต้องตามมาอย่างลีกเลี้ยงไม่ได้ ผู้มีความรู้ภาษาต่างประเทศก็ย่อมจะมีบทบาทสำคัญไปด้วย

                      พระธรรมโกศาจารย์กล่าวรายงานต่อเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ความว่า “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทยที่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงสถาปนาขึ้น ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง สำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๐ เป็นต้นมา เริ่มเปิดการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัยตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๐ และต่อมาในปี ๒๕๔๐ รัฐสภาได้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้เป็นสถาบันการศึกษาแห่งนี้มีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและเป็นนิติบุคคล

                     ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดดำเนินการศึกษาและบริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคม ดังนี้
                     ๑. ระดับบัณฑิตศึกษา เปิดสอนปริญญาเอก ๓ สาขาวิชา และปริญญาโท ๑๔ สาขาวิชา
                     ๒. ระดับปริญญาตรี มี ๔ คณะ คือ คณะพุทธศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ เปิดสอน ๓๓ สาขาวิชา 
                     ๓. ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ๒ สาขา คือ วิชาชีพครู และ พระไตรปิฎกศ฿กษา
                     ๔. ระดับมัธยมศึกษา มี ๓ แห่ง คือ โรงเรียนบาลีเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนอบรมศึกษา และโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา
                     ๕. การบริการวิชาการแก่สังคม ได้แก่ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สถาบันวิปัสสนาธุระ ฝ่ายธรรมวิจัย ฝ่ายมหาจุฬาอาศรม และศูนย์พัฒนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยแคมป์สน

                     มหาวิทยาลัยมีวิทยาเขต ๑๐ แห่ง คือ วิทยาเขตหนองคาย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช วิทยาเขตเชียงใหม่ วิทยาเขตขอนแก่น วิทยานครราชสีมา วิทยาเขตอุบลราชธานี วิทยาเขตแพร่ วิทยาเขตสุรินทร์ วิทยาเขตพะเยา และวิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม
                     วิทยาสงฆ์ ๕ แห่ง คือ วิทยาลัยสงฆ์เลย วิทยาลัยสงฆ์นครพนม วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ และวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช
                     มีสถาบันในต่างประเทศ ๕ แห่ง คือ วิทยาพระพุทธศาสนาดองกุก ชอบบอบ ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี มหาวิทยาลียพระพุทธศาสนาชินเจี๋ย ใต้หวัน สถาบันพระพุทธศาสนานาชาติศรีลังกา ประเทศศรีลังกา ศูนย์การศึกษาพระอาจารย์พรัหม ประเทศสิงคโปร์ และวิทยาลัยพระพุทธศาสนาสิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
                     สถานบันในประเทศ ๑ แห่ง คือ มหาวิทยาลัย วัดถาวรวราราม จังหวัดสงขลา
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้ขยายการศึกษรระดับปริญญาโทไปที่วิทยาเขตเชียงใหม่ วิทยาเขตขอนแก่น วิทยาเขตบาลีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม วิทยาเขตนครราชสีมา วิทยาเขตอุบลราชธานี คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ วิทยาลัยพระพุทธศาสนาดองกุก ชอนบอบ ประเทศาสาธารณรัฐเกาหลี และมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาชินเจี๋ย ได้หวัน

                     มหาวิทยาลัยขยายห้องเรียนระดับปริญญาตรีไปยังจังหวัดต่างๆ ๑๒ แห่ง คือ จังหวัดร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ สิงห์บุรี ลำปาง น่าน ศรีสะเกษ ปัตตานี สุราษฏร์ธานี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี และจังหวัดเชียงราย
                     มหาวิทยาลัยขยายหน่วยวิทยบริการไปยังส่วนภูมิภาค ๑๘ แห่ง คือ จังหวัดสงขลา ราชบุรี สกลนคร มหาสารคาม เพชรบุรี ตาก อุทัยธานี ชัยภูมิ ชลบุรี ระยอง อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิจิตร นครปฐม (วัดสามพราน วัดไร่ขิง รวม ๒ แห่ง) จันทบุรี สุพรรณบุรี และสระแก้ว”

                     นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยได้รับมอบหมายจากมหาเถรสมาคมและรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติ 
                      ๑. การประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธโลก วันที่ ๙ – ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับคณะสงฆ์นิกายเนนบุตซูชุ ประเทศญี่ปุ่น จัดประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แห่งโลก ครั้งที่ ๒ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
                        จุดเน้นของการประชุม : การประชุมครั้งนี้เน้นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวพุทธทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเผยแผ่ศาสนา และเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในวโรกาส มหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชมมายุครบ ๗๒ พรรษา
                      ๒. การประชุมสภาผู้นำศาสนาแห่งโลก  ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ จัดประชาสภาผู้นำศาสนาโลก ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ
                        จุดเน้นของการประชุม : การประชุมครั้งนี้ เน้นเรื่องความร่วมมือทางศาสนาในการแก้ปัญหาความรุนแรงและสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในโลก
                        Website : http://www.millenniumpeacesummit.com/
                      ๓. การประชุมสุดยอดผู้นำเยาวชนโลกเพื่อสันติภาพ ระหว่างวันที่ ๒๔ – ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ จัดประชุมสุดยอดผู้นำเยาวชนโลกเพื่อสันติภาพ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
                         จุดเน้นของการจัดกิจกรรม : การประชุมครั้งนี้เน้นการสนับสนุนให้เยาวชนได้แลกเปลี่ยนความคิดความเห็นเรื่องสันติภาพและเพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชน ให้ทำกิจกรรมส่งเสริมสันติภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน                        
                         Website : http://www.wyps.org/events_thailand.php
                      ๔. กิจกรรมวันวิสาขบูชา ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ  เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้เป็ยผู้ประสานงาน จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสที่องค์การสหประชาชาติ ยอมรับให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลนานาชาติ ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชติ มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
                      จุดเน้นข้องการประชุม : การประชุมครั้งนี้ เน้นส่งเสริมการศึกษา การปฏิบัติ การเผยแผ่ และปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา รวมทั้งร่วมกันจัดการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา ทั้งที่ศูนย์ประชุมใหญ่และศูนย์ประชุมประจำภูมิภาค
                       ๕. วิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๑  เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๒๗ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับมหาเถรสมาคม และรัฐบาลไทย เป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำชาวพุทธโลกว่าด้วยวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
                      จุดเน้นของการประชุม : การประชุมครั้งนี้เน้นส่งเสริมการศึกษา การปฏิบัติ การเผยแผ่ และปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา รวมทั้งร่วมกันจัดการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาทั้งที่ศูนย์ประชุมใหญ่และศูนย์ประจำภูมิภาค 
                      Website : http://www.vesakday.net/vesak47
                     ๖. การประชุมเถรวาทและมหายาน  ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดประชุมนานาชาติว่าด้วยพระพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ 
                      จุดเน้นของการประชุม :  การประชุมครั้งนี้เน้นการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรทางพระพุทธศาสนา ในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ แสวงหาหนทางทำให้การศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นที่สนใจของเยาวชนคนรุ่นใหม่
                       Website : http://www.mcu.ac.th/ICTMB
                    ๗. วิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๒  ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดประชุมชาวพุทธนานาชาติว่าด้วยวันวิสาขบูชา ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
                      จุดเน้นของกาประชุม : การปะชุมครั้งนี้ เน้นส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้พุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาแห่งโลก เป็นศูนย์ประสานงานระหว่างองค์กรทางพระพุทธศาสนาและส่งเสริมแลกเปลี่ยนแหล่งข้อมูลทางพระพุทธศาสนา 
                      Website : http://www.vesakday.net/vesak48
                   ๘. การประชุมวิสาขบูชานานาชาติ ปี ๒๕๔๙  ระหว่างวันที่ ๗ – ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดประชุมชาวพุทธนานาชาติว่าด้วยวันวิสาขบูชา ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
                     จุดเน้นของการประชุม : การประชุมครั้งนี้เน้นเรื่องสันติภาพโลก ความร่วมมือระหว่างพระพุทธศาสนานิกายต่างๆ การพัฒนาแบบยั่งยืน และเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                     Website : http://www.vesakday.net/vesak49
                   ๙. การประชุมวิสาขบูชานานาชาติ ปี ๒๕๕๐ ระหว่างวันที่ ๒๖ – ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับมหาเถรสมาคม และรัฐบาลไทย จัดประชุมชาวพุทธนานาชาติว่าด้วยวันวิสาขบูชา วันสำคัญของสหประชาชาติ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
                    ผู้เข้าร่วมประชุม : การประชุมปีนี้มีผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการ และผู้แทนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เดินทางมาร่วมประชุมประมาณ ๒,๐๐๐ คน
                    จุดเน้นของการประชุม : การประชุมปีนี้ เน้นเรื่องพระพุทธศาสนากับธรรมาภิบาล และเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา
                     Website : http://www.vesakday.net/vesak50
                ๑๐. พิธีฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ปี ๒๕๕๑  ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับมหาเถรสมาคม และรัฐบาลไทย จัดพิธีฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
                     ผู้เข้าร่วมประชุม : การประชุมนี้มีผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการ และผู้แทนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เดินทางมาร่วมประชุมจำนวน ๑,๕๐๐ คน
                     Website : http://www.vesakday.net/vesak51
                 ๑๑. การประชุมอธิการบดีและการสัมมนาวิชาการ ระดับนานาชาติ ครั้งที่ ๑ ของสมาคมมหาวิทยาลัย พระพุทธศาสนานาชาติ  ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานาชาติ จัดประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา และสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง “พระพุทธศาสนากับจริยศาสตร์” ณ อุโบสถกลางน้ำ และอาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
                      ผู้เข้าร่วมประชุม : การประชุมปีนี้มีอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่างๆ ผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการ และผู้แทนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เดินทางมาร่วมประชุมประมาณ ๒,๐๐๐ คน
                       Website : http://www.iabuconference.com/
                 ๑๒. การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี ๒๕๕๒  การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก เรื่อง “พระพุทธศาสนากับการแก้วิกฤติการณ์ของโลก” วันที่ ๔- ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ หอประชุมพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร 
                       ผู้เข้าร่วมประชุม : การประชุมปีนี้มีอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่างๆ ผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการ และผู้แทนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เดินทางมาร่วมประชุมประมาณ ๓,๕๐๐ คน  
                  ๑๓.  ปี ๒๕๕๓ ปีนี้  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับมอบหมายจากมหาเถรสมาคมและรัฐบาล เป็นผู้ดำเนินการจัดสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของสหประชาชาติ มีสมเด็จพระสังฆราช ประมุขสงฆ์ ผู้นำศาสนา นักวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศ เข้าร่วมประชุมในแต่ละปี มากกว่า ๓,๐๐๐ รูป/คน ในปีนี้จัดเป็นครั้งที่ ๗ กำหนดประชุมในวันที่ ๒๓ – ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓  ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงเปิดงานในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ 

                   Website : http://www.icundv.com/
                   ก้าวต่อไปของมหาวิทยาลัย ภายใต้การนำของพระธรรมโกศาจารย์  (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙.,Ph.D.) อธิการบดีสมัยที่ ๔ ได้ประกาศชัดเจนว่า จะมุ่งมั่นพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาแห่งโลก และร่วมมือกับองค์กรและสถาบันระหว่างประเทศในการส่งเสริมการศึกษาทางพระพุทธศาสนา  รวมทั้งการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริการ เรียนการการสอน การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสนองงานพระราชปณิธานของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ และผลงานของพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี มหาจุฬาฯ สมัยที่ ๔ จะเป็นอย่างไร ทุกฝ่ายติดตามต่อไปสมดังคำกล่าวที่ว่า หนทางพิสูจน์ม้า ระยะทางพิสูจน์คน

                     ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำนักงานใหญ่อยู่ที่ เลขที่ ๗๙ หมู่ ๑ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๓๑๗๐  โทรศัพท์ ๐-๓๕๒๔-๘๐๐๐ ถึง ๕ โทรสาร ๐-๓๕๒๔-๘๐๓๔, สำนักงานวัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์, โทร. ๐-๒๒๒๖-๖๐๒๗-๒๘, สำนักงานวัดศรีสุดาราม บางขุนนนท์  โทร. ๐-๒๘๘๒-๓๑๕๔-๕๕ 
                      สกู๊ปข่าวโดย พระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ  e-mail : srithont@mcu.ac.th


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ทำบุญปีใหม่ มจร 2568 จับฉลากล ลุ้นรางวัล
    15 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    51
  • พิธีถวายพระพรชัยมงคลและเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่ากับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี พุทธศักราช ๒๕๖๘
    15 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    51
  • "อ.เบียร์ คนตื่นธรรม" ข้ากราบสักการะ "พระเทพวัชรสารบัณฑิต" ปมเปรียบพระเกจิกับสุนัข
    11 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    119
  • พิธีอัญเชิญปัจจัยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม โดย นายกิติภัค เกษรสิริธร ผู้แทนพระองค์
    08 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    127
  • "อาจารย์ ม.สงฆ์ มจร" นำสัมมนานานาชาติ เสริมพลังพุทธศาสนาและวรรณกรรมเพื่อความเท่าเทียม
    07 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    103