ข่าวทั่วไป |
อ่านบทสัมภาษณ์พระธรรมราชานุวัตร เรื่องการจัดการวัด | ||
วันที่ ๓๐/๐๗/๒๐๑๐ | เข้าชม : ๓๖๔๓ ครั้ง | |
พระธรรมราชานุวัตร.นโยบายหลวงพ่อคือ พระและเณรต้องอยู่ร่วมกัน แบ่งตามภูมิชั้นแบ่งตามชั้น เน้นการกระจายอำนาจ กระจายงาน กระจายโอกาส ตามความถนัด ตามความชัดเจน โดยต้องอาศัย ภิกษุ สามเณร เป็นองค์ประกอบของหลักสูตร เพื่อการพัฒนาคน พัฒนางาน ให้โอกาส ร่วมกันรับผิดชอบ ทุกๆส่วนดำเนินไปทิศทางเดียวกันในการกระจายงานจะแบ่งได้ดังต่อไปนี้ ด้านการศึกษา หลวงพ่อมอบหมายให้ พระครูศรีรัตนากร (พระมหาดร.ทองสุข),ด้านการปกครอง มอบหมายให้พระครูสิริรัตสุนทร (พระมหาทวัญ),เป็นผู้ดูแล, ด้านเผยแพร่ มอบหมายให้พระครูสุธีสุตสุนทร(พระมหาดร.สมพงษ์) เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนพระครูรัตนปริยัตยาทร (พระมหาดร.ทองสุข) ดูแลด้านสาธารณูปการรับผิดชอบเรื่องการห่มผ้าสามเณร แบ่งเขตกวาดวัด เป็นต้นเมื่อกระจายงานโดยมอบหมายให้แต่ละส่วนไปผิดชอบบริหารกันเองแล้ว ในวัดพระแก้วพระภิกษุ สามเณร ทุกรูป/องค์ ต้องร่วมกันรับผิดชอบ ทั้งในด้าน ทำให้วัดมีระเบียบ สะดวก สะอาด ถูกสุขลักษณะ สร้างนิสัยและสะสาง ให้ขบวนการจัดการที่เป็นระบบเพื่อเป็นระเบียบปฏิบัติแบบแผนที่ถูกต้องชัดเจนในความหมายก็คือ วัดต้องมีระเบียบ พัฒนาวัดให้สะอาด ขจัดสิ่งปฏิกูล เพราะว่าวัดพระแก้วไม่ใช่ของใคร พระภิกษุสามเณรเป็นเพียงผู้อาศัย แต่ว่าจะอาศัยอย่างไร อย่างกาฝากหรือกล้วยไม้ ที่งดงาม ต่อผู้พบเห็นของประชาชนทั่วไปผู้สัมภาษณ์ ๒.เมื่อเดินเข้ามาในบริเวณวัด จะเห็นว่ามีตู้บริจาคน้อยมาก หลวงพ่อมีโครงการทำอย่างไรหรือนโยบายเข้าวัดไม่เสียสตางค์หรือคะพระธรรมราชานุวัตร มี ตู้บริจาค แต่มีน้อย เพราะ ใน พระไตรปิฎก กล่าวไว้ว่า วัดเป็นเหมือนขุมทรัพย์ ขุมทรัพย์อยู่ที่สมอง เราต้องฉลาดในการเปิดขุมทรัพย์ และทำอย่างไร ให้ได้งานได้คน และได้บารมีไปพร้อมกันผู้สัมภาษณ์ ๓.การปฏิบัติธรรมทุกวันเสาร์ที่จังหวัดเชียงรายในทุกวัดเป็นโครงการของหลวงพ่อหรือคะเพราะวัดที่อื่นไม่ค่อยเห็นโครงการนี้เลย เท่าที่เคยอยู่มาคะพระธรรมราชานุวัตร วัดเป็นจุดศูนย์กลางเรียนรู้ทางศาสนา ในด้านการสืบทอดพระพุทธศาสนานั้นหน้าที่ของพระสงฆ์คือเผยแพร่พระพุทธศาสนาจึงวางนโยบายให้วัดต่างๆทั่วภาค๖คือ จังหวัด เชียงราย พะเยา แพร่ น่านให้มีการสวดมนต์ปฏิบัติธรรมทุกวันเสาร์ในเวลา๑๘.ooน.-๒๐.ooน.โดยนำร่องที่วัดพระแก้วก่อนโดยมอบหมายให้มอบหมายให้พระครูสุธีสุตสุนทร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสฝ่ายเผยแพร่ ผ.อ. มจร.ห้องเรียนเป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้ ถ้าพระครูสุธีสุตสุนทรไม่ว่างหลวงพ่อก็จะลงไปเองถ้าว่าง แต่ถ้าพระครูสุธีสุตสุนทรว่างก็ให้ดำเนินการไปผู้สัมภาษณ์๔. .ในการสวดมนต์ปฏิบัติธรรมใช้ภาษาบาลีเพราะอะไรคะ แล้วเรา ปฏิบัติธรรมเพื่ออะไรค่ะพระธรรมราชานุวัตร.การสวดมนต์ต่างๆใช้ภาษาบาลีนั้นจะได้สวดไปทิศทางเดียวกัน เป็นแนวทางปฏิบัติ ไม่ใช่ที่หนึ่งก็สวดอย่างหนึ่ง เพราะภาษาทางศาสนาคือเอกลักษณ์ และที่สวดภาษาบาลีเพื่อทำให้เกิดสมาธิ การสวดมนต์ปฏิบัติธรรม เพื่อให้มีศีล สมาธิ เมื่อเรามีสมาธิแล้วปัญญาก็จะตามมา เพราะพระจะดูน่าเลื่อมใสเมื่อสวดมนต์ผู้มีทำบุญจะได้บุญมาก ถ้าคนมาถึงก็ยกของให้พระก็เหมือนกับการให้ของกับคนทั่วไปผู้สัมภาษณ์๕. ในการบริหารด้านการศึกษาโรงเรียนปริยัติธรรมหลวงพ่อมีแนวนโยบายบริหารจัดการอย่างไรบ้างค่ะพระธรรมราชานุวัตร.ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๓ โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนราษฎร์ในช่วงนั้น รัฐไม่ได้ให้ความสำคัญในด้านการศึกษาของพระภิกษุ-สามเณร ต่อมาเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ในด้านการบริหาร ด้านการศึกษาโรงเรียนปริยัติธรรม(โรงเรียนสามเณร) ได้เปิดสอนแต่ธรรม-บาลี เพราะว่าเมื่อก่อนไม่มีโรงเรียน ทำให้พระภิกษุ สามเณรต้องเดินทางไปศึกษาที่อื่น ต่อมาจึงเปิดเป็นโรงเรียนพุทธิวงศ์วิทยา เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา หลวงพ่อพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ เป็นผู้ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ เปิดสอนในระดับ ป.๕- ป.๗ และ ม.ศ. ๑- ๓ปัจจุบันเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ -๖ รูป นักเรียน๓๐๐กว่ารูป หลวงพ่อจะถวายภัตตาหารเพลฟรี ให้ค่ารถ ให้ค่าเล่าเรียน ถวายจีวร หลวงพ่อเคยเป็นครูใหญ่ และเคยสอนวิชาภาษาบาลี กับประวัติศาสตร์ ปัจจุบันมอบให้พระครูศรีรัตนากร (พระมหาดร.ทองสุข)เป็นผู้รับผิดชอบ การให้ความรู้การเรียนการสอน แก่สามเณรถือว่าเป็นการสืบทอด ศาสนทาญาติ เพื่อ นำมาซึ่งประโยชน์ในภายภาคหน้า ในการช่วยดำรง ดูแล รักษา สืบทอดต่อไปผู้สัมภาษณ์ ๖.ในส่วนของห้องเรียนคือ มจร.ห้องเรียนวัดพระแก้วเชียงรายมีแนวนโยบายบริหารจัดการอย่างไรบ้างค่ะพระธรรมราชานุวัตร.หลวงพ่อได้มอบหมายให้ พระมหาสมพงษ์(พระครูสุธีสุตสุนทร ดร.)เป็นผู้รับผิดชอบ ห้องเรียนวัดพระแก้ว ห้องเรียนฯได้เริ่มดำเนินจัดตั้ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ และตอนนี้ได้บรรจุเข้าแผนให้เป็นวิทยาสงฆ์ในปี๒๕๕๔ ซึ่งตอนนี้ศาลากลางจังหวัดเชียงรายได้ยกพื้นที่ให้ ย้ายไปเปิดการเรียนการสอนที่นั้นเพราะสถานที่เรียนไม่พอรองรับกับจำนวนนักศึกษา เมื่อขึ้นดอยที่ศาลากลางแล้ว หลวงพ่อมีนโยบายจะสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรมที่นั้นเพราะปัจจุบันสถานที่ไม่พอจำนวนผู้คนที่สนใจ ทั้งนี้จะมีการใช้อาคารร่วมกับสำนักพุทธฯและวัฒนธรรมจังหวัดผู้สัมภาษณ์ ๗. เมื่อเดินเข้ามาในบริเวณวัดพระแก้ว จะเห็นว่า บรรยากาศ ร่มรื่นสบายตา เต็มไปด้วยต้นไม้และป้ายบอกชื่อของต้นไม้แต่ละชนิดมีการวางแผนและจัดการอย่างไรคะเพราะภายในบริเวณวัดมีเนื้อที่จำกัดพระธรรมราชานุวัตร. เมื่อก่อน นโยบายที่ได้รับมอบหมายมาคือ โครงการต้นไม้พูดได้หลวงพ่อเห็นว่าเอาตะปูไปตอกที่ต้นไม้ให้ความรู้สึกไม่ดี จึงคิดว่าทำอย่างไรให้เหมาะสม และให้ความรู้สึกดีต่อผู้พบเห็น หลวงพ่อจึงได้จัดทำป้าย ในการจัดทำป้ายต้องยกความดีให้ อ.ศรีวัลย์ ใจสุข อาจารย์จากราชภัฏเชียงราย ตอนแรกเป็น ป้ายพลาสติกเห็นว่า แตกหักง่าย ตอนนี้กำลังเปลี่ยนใหม่ วัดพระแก้วมีพื้นที่ไม่กว้าง หลวงพ่อจึงคิดว่าทำอย่างไรพื้นที่ให้ได้ประโยชน์ที่สุด ผู้ที่เข้าวัดจะใช้เวลาไหว้พระ ๓-๔ นาที เราจะมีนโยบายอย่างไรในการดึงให้คนอยู่วัดนานๆ หลวงพ่อจึงทำรอบโบสถ์ให้เป็นพื้นที่สีเขียว มีต้นไม้และดอกไม้ เพราะทั่วไปมักจะเป็นปูนซีเมนต์ วัดพระแก้วจึงทำการจัดสวนตามสภาพความเหมาะสม โดยช่วยกันทำและรับผิดชอบกันเองแบ่งงานให้สามเณรรับผิดชอบในแต่ละส่วนไป ในพระไตรปิฎกมีคำสอนไว้ว่า ดอกไม้จะมีกลิ่นหอมตามลมแต่ศีลมีกลิ่นหอมทวนลมผู้สัมภาษณ์๘..โครงการที่ทำในช่วงนี้ที่หลวงพ่อดำเนินการมีโครงการทำอะไรบ้าง เจ้าคะพระธรรมราชานุวัตร.มีเรื่อง การปฏิบัติธรรมทุกวันเสาร์ที่วัดพระแก้ว และงานฉลองสมโภช ๗๕๐ ปี ซึ่งจะขึ้นให้มีภายในปี๒๕๕๔และ หลวงพ่อมีนโยบายที่จะจัดทำ ๔ เรื่อง คือ พุทธมณฑล(สถานที่ปฏิบัติธรรม) วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย พัฒนาวัดพระธาตุดอยตุง และสร้างตึกสงฆ์อาพาธ ซึ่งตอนนี้สร้างได้๕ ชั้นแล้วผู้สัมภาษณ์ ๙.แล้วโครงการที่คิดแล้วยังไม่ได้ทำหรืออยากจะทำมีโครงการอะไรบ้าง มีหรือไม่ อย่างไร เจ้าคะพระธรรมราชานุวัตร.มี อยากทำเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนา อยากให้วัด เป็นที่สืบทอดศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และรักษาสิ่งเรียนรู้ทางประวิติศาสตร์ เพื่อให้ ประชาชนทั่วไปรับรู้เกี่ยวกับ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อให้เกิด การรักและหวงแหน สืบทอด และรักษาไว้ให้ดำรงต่อไปอยากจะให้วัดแต่วัด มีสามเณรบรรยาย สถานที่สำคัญ ให้ความรู้เกี่ยวกับวัด หรือคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม อยากมียุวทูตน้อยอย่างเช่นวัดพระอยากมีสามเณร สามเณรอยู่ที่ โฮงหลวงแสงแก้ว อยู่ที่หอพระหยก ที่พระอุโบสถคอยแนะนำและให้ความรู้แก่ญาติโยมที่มาเที่ยวติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมวัดพระแก้วได้ที่http://www.watphrakaew-chiangrai.com/release2.php?id=65
|
แหล่งข่าว : วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย | ||