www.weipinxgt.com www.hdf598.com www.rzkfqcg.com www.ywd100.com www.gzunitrade.com www.5aziyuan.com www.alsclean.com www.ynzsgc.com www.sdldtg.com www.i-sarima.com www.aijianbing.com www.xushiweigou.com www.haoyulongsp.com www.binqimotor.com www.kenminamipainting.com www.erli30.com www.cdhg88.com www.horse-home.com www.myjxzp.com www.dgselling.com www.chenlongjiancai.com www.zhongkuanwuliu.com www.huameide-sz.com www.shouxitongban.com www.scgcjx0207.com www.qdshengqian.com www.3w800.com www.kl-ad.com www.imshenghuo.com www.xxanlhw.com www.hfkaibo.com www.wlwservice.com www.jxguanghua.com www.zkld2009.com www.duanem.com www.hzwjzs.com www.chdlav.com www.lyxszl.com www.xinlaihuijiaju.com www.hrwholecare.com www.yingyang168.com www.honeywell-lk.com www.yushusanjiangyuanbao.com www.kangningyiyuan.com www.xzkjsxx.com www.jztushuguan.com www.gksswh.com www.jakjxx.com www.yyxlzw.com www.dwdzxx.com www.shszjzx.com www.skf-nsk-fag-ntn.com www.shanghailvhua.com www.yomandoors.com www.wenchengvote.com www.cn-sportsprotectors.com www.fuyixuantc.com www.jiayongdiant.com www.reshousuoj.com www.wuxitianzhile.com www.lsallx.com www.ravor-system.com www.jhbrq.com www.mirrvoll.com www.likekiwi.com www.hbclzqcj.com www.cqqfbxgm.com www.nmgdwjlw.com www.zmdjtzfw.com www.xunchengchaju.com www.gssx-pxgl.com www.sha-jing.com www.zysjmbj.com www.131701.com www.tlyhyy.com www.hbfbfz.com www.hljpadm.com www.fenxiangzhuan005.com www.jv001.com www.ruiyucnc.com www.zhuochenglaser.com www.zhaoshudeng.com www.facebook-france.com www.yuxianchu.com www.139yes.com www.lazonaentertainment.com www.eastofedens.com www.latelier-gourmet.com www.kaisyomaru.com www.tenglonghb.com www.bdsmfreevids.com www.gzshbzw.com www.ymgb0991.com www.setonohanayome.com www.attachmentmoms.com www.njmzyjg.com www.hi4r.com www.exotic-nails.com www.ef25.com www.lslcxx.com
ข่าวประชาสัมพันธ์
ชาวพุทธทั่วโลก ๘๖ ประเทศประชุมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
11 พ.ค. 54 | ข่าวมหาวิทยาลัย
231
ข่าวมหาวิทยาลัย
ชาวพุทธทั่วโลก ๘๖ ประเทศประชุมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
วันที่ ๑๑/๐๕/๒๐๑๑ เข้าชม : ๘๙๐๗ ครั้ง

 พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) กล่าวในการแถลงข่าวการจัดกิจกรรมนานาชาติ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี ๒๕๕๔ และเนื่องในโอกาสครบ ๒๖ ศตวรรษ แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าว่า "ตามที่ประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก เมื่อปี ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา มีมติสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ที่มหาจุฬาฯ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมและรัฐบาล เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการถวายราชสดุดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

                     พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวต่อไปว่า "มหาเถรสมาคมอนุมัติให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจัดกิจกรรมนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญของสหประชาชาติ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ ๑๒-๑๔ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร หัวข้อเรื่อง "พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ Buddhist Virtues in Socio-Economic Development" โดยสมเด็จพระสังฆราช ประมุขสงฆ์ ผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการ นักปราชญ์ด้านพระพุทธศาสนา" 

                     เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ มีการประชุมคณะกรรมการสมาคมวิสาขบูชาโลก และคณะกรรมการสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธนานาชาติ จาก ๓๐ ประเทศ  "ในนามของพุทธศาสนิกชนคนไทย และทั่วโลก ขอขอบคุณคณะกรรมการจัดงานวิสาขบูชาโลกทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือ และทำงานอย่างหนักมากว่า ๑ ปีในการเตรียมการจัดงาน เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี ๒๕๕๔ และเนื่องในโอกาสครบ ๒๖ ศตวรรษแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เชื่อมั่นว่า ภายใต้การทำงานหนักของทุกผ่าน การจัดงานวิสาขบูชาโลกครั้งจะต้องประสบความสำเร็จตามที่ชาวพุทธทั่วโลกเฝ้ารอและคาดหวัง"

                     วันวิสาขบูชา หรือ วิศาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล" ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ  เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ๓ เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน ๗ หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ แม้ในปีนั้นจะมีเดือน ๘ สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม  และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง ๓ นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท  
                    วันวิสาขบูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๓ เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ ๘๐ ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ ๑ ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน ๖ นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน
                     วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
                     ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ ๓ เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน ๖ ทั้งสิ้นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน
                    การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย ประชาชนชาวไทย ส่วนราชการ วัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล ๕ หรือศีล ๘ ตามศรัทธาตลอดเวลา ๗ วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์ ประชาชนงดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา การเขียนประกวดเรียงความธรรม การสวดทำนองสรภัญญะ สวดสรรเสริญพระรัตนตรัย ไหว้พระ ๙ วัด ตักบาตพระสงฆ์ ทำใจให้บริสุทธิ์  ฟังธรรมสนทนาธรรม ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  การเวียนเทียนรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ต่างจังหวัด โดยมีกิจกรรมหลักดังนี้
                    ๑. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร
                    ๒.  จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา 
                    ๓. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล
                    ๔. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
                    ๕. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
                    ๖. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
                    ๗. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
                    ๘. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

                     เมื่อที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day)" หรือ "วันสำคัญของโลก" ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ ๕๔ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ชาวพุทธต่างๆ ทั่วโลก ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของสหประชาชาติ หรือวันสำคัญสากลของโลก มีการนิมนต์/เชิญ ประมุขสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราช ผู้นำศาสนา นักปราชญ์ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนามีการประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา 

                    ชาวพุทธนานาชาติได้ยกย่องให้พุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก และจัดให้เป็นกิจกรรมนานาชาติ ภายใต้การอุปถัมภ์ของรัฐบาลไทยและองค์กรชาวพุทธในประเทศไทย โดยการประสานงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับคณะกรรมการจัดกิจกรรมตามข้อตกลงในข้อตกลงร่วมมือจัดกิจกรรม และมีเป้าหมายเพื่ออาราธนาและเชิญผู้นำชาวพุทธ นักปราชญ์ และนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาจากนานาชาติและเอกอัครราชทูตประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศไทยมาประชุมและจัดกิจกรรมประจำปีเนื่องในวันวิสาขบูชา ณ สำนักงานพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ สำนักงานภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
                    โดยมีวัตถุประสงค์ 
                    ๑. เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ 
                    ๒. เพื่อร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลกผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชน
                    ๓. เพื่อความร่วมมืออันดีของกลุ่มและองค์กรชาวพุทธตั้งแต่ระดับประเทศถึงนานาชาติตามนโยบายของรัฐบาล 
                    ๔.  เพื่อถ่ายทอดอารยวิถีไทยสู่อารยวิถีโลก 

                     ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นำโดยพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙,Ph.D) ศาสตราจารย์, ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประธานคณะกรรมการจัดกิจกรรมนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลสหประชาชาติ กล่าวว่า "ชาวพุทธทั่วโลกมองเห็นศักยภาพของประเทศไทยในฐานะเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา จึงได้ไว้วางใจ และมีฉันทามติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงานมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการจัดงานเฉลิมฉลองครั้งนี้ เป็นครั้งที่ ๘ ซึ่งลักษณะของการเฉลิมฉลองจะแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่เป็นพิธีในการเฉลิมฉลอง ณ มหาจุฬาฯ วังน้อย และ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ราชดำเนิน กรุงเทพฯ ในวันที่ ๑๒ และ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ และส่วนที่เป็นวิชาการ ซึ่งจะจัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ" ในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ มหาจุฬาฯ วังน้อย โดยการแบ่งเป็นกลุ่มการสัมมนาออกเป็น ๔ กลุ่ม คือ ภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ การสร้างสังคมปรองดอง พระพุทธศาสนากับการรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และพุทธิปัญญาเพื่อสังคมแห่งการตื่นรู้"

                    สำหรับหัวข้อในการประชุมครั้งนี้เป็นการกำหนดขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการถวายราชสดุดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากชาวพุทธทั่วโลก โดยคณะกรรมการดำเนินงานจัดกิจกรรมนานาชาติฯ ซึ่งมีผู้นำชาวพุทธจาก ๒๕ ประเทศ เป็นกรรมการนั้น เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างของพระมหากษัตริย์ที่ใช้ธรรมะในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นในการกำหนดหัวข้อในการประชุมว่า “พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ” ก็เพื่อต้องการการนำพระราชจริยวัตร พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องต่างๆ รวมทั้งแนวทางตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เข้ามาหารือในการประชุม และออกเป็นมติให้ผู้นำชาวพุทธจากทั่วโลกนำแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปประยุกต์ใช้กับประเทศของตนเอง ขณะเดียวกันในการกล่าวสุนทรพจน์ของประมุขสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราช และผู้นำชาวพุทธจากทั่วโลก ก็จะมีการกล่าวถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๗.๐๐ น. ผู้นำชาวพุทธจากที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้จะเดินทางไปเจริญพระพุทธมนต์ และเจริญจิตภาวนาถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
                    การสัมมนาและประชุมกลุ่มย่อย (ควิกเพื่อดูกำหนดการ) ประกอบด้วย
                    กลุ่มที่ ๑ ภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ (Buddhist Leadership and Socio-Economic Development) ณ ห้องเธียเตอร์ บี  อาคารเรียนรวม
                    กลุ่มที่ ๒ พุทธธรรมกับการสร้างสังคมปรองดอง (Building a Harmonious Society) ณ ห้องเธียเตอร์ ซี  อาคารเรียนรวม
                    กลุ่มที่ ๓ พุทธธรรมกับการรักษา และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม (Environmental Preservation and Restoration) ณ ห้องเธียเตอร์ ดี  อาคารเรียนรวม
                    กลุ่มที่ ๔ พุทธิปัญญาเพื่อสังคมแห่งการตื่นรู้ (Wisdom for Awakening Society) ณ ห้องประชุม ๑ อาคาร มวก. ๔๘ พรรษา
                    กลุ่มที่ ๕ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ พระไตรปิฎกสากล (Common Buddhist Text-CBT   Workshops) ณ ห้องประชุม ๒ อาคาร มวก. ๔๘ พรรษา
                    กลุ่มที่ ๖ พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ (ภาษาไทย) (Buddhist Virtues in  Socio-Economic Development) สัมมนาภาษาไทย ณ ห้องเธียเตอร์ เอ  อาคารเรียนรวม

                     สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร  ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัสมิ์  พระวรชายาฯ  เสด็จแทนพระองค์ เพื่อทรงเป็นประธานเปิดการประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี ๒๕๕๔ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๐๐ น. อาคารมวก. ๔๘  พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

                    สำหรับการจัดงานในปีนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้จัดพิมพ์หนังสือเพื่อแจกเป็นธรรมทานแก่ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นภาษาอังกฤษ จำนวน ๘ เล่มด้วยกัน คือ หนังสือที่จะใช้ประกอบ มอบถวายพระสงฆ์จากทั่วโลก และชาวพุทธทั่วไปที่มาร่วมประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วยหนังสือต่อไปนี้

                    เล่มที่ ๑  หนังสือหนังสือ "มองวันวิสาขบูชา หยั่งถึงอารยธรรมโลก" ผู้เขียน : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ผู้แปล  : พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร. บรรณาธิการ : โรบิน ฟิลลิป มัวร์  หนังสือ เล่มนี้ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้อธิบายและนำเสนอความเป็นมาและความสำคัญของวันวิสาขบูชาที่มีต่อมนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วันนี้ เป็นวันที่สะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรมเพราะพระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นวัน แห่งอิสรภาพ วันที่พระธรรมได้ปรากฏแก่ชาวโลก และวันที่พระองค์ได้เตือนสติให้มนุษย์ดำรงตนด้วยความไม่ประมาท ฉะนั้น เมื่อวันนี้มาบรรจบ มนุษยชาติควรแสวงหาคุณค่าแท้เพื่อให้เข้าถึงการรู้ ตื่น และเบิกบานตามพุทธปณิธาน
Download ได้ที่  http://www.icundv.com/vesak2011/en/books.php

                    
                      เล่มที่ ๒ หนังสือเรื่อง วิถีสู่สันติภาพ ผู้เขียน : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ผู้แปล : พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร. บรรณาธิการ : ดร. ดิออน โอลิเวอร์ พีเพิลส์  หนังสือเล่มนี้ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้อธิบายสาเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรงว่าเกิดจากความอยาก ได้ อยากใหญ่ และใจแคบ การที่จะออกจากกับดักดังกล่าวคือ “ลดความหวงแหนกีดกั้น” ด้วยการเข้าถึงความสากล ๓ ประการคือ ความเป็นมนุษย์สากล ความรักสากล และกฎกติกา และหลักความจริงสากล
Download ได้ที่  http://www.icundv.com/vesak2011/en/books.php



   
                    เล่มที่ ๓ หนังสือเรื่อง ธรรมะกับการรักษาสิ่งแวดล้อม  ผู้แต่ง : พระธรรมโกศาจารย์, ศ.ดร. ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ผู้แปล : สุนทราภรณ์ เตชะพะโลกุล, อินทิรา นวสัมฤทธิ์  บรรณาธิการ : พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร.พระมหาสมบูรณ์ วุฒิกโร,ดร.  ดร.ดิออน โอลิเวอร์ พีเพิลส์  หนังสือเล่มนี้ พระธรรมโกศาจารย์, ศ.ดร. ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมว่ามีคุณค่าต่อมนุษยชาติอย่างไร ด้วยเหตุนี้ มนุษยชาติควรมองธรรมชาติ และควรพิทักษ์และปกป้องธรรมชาติเพื่อให้ธรรมชาติประดุจมิตร 
Download ได้ที่  http://www.icundv.com/vesak2011/en/books.php



   
                    เล่มที่ ๔ หนังสือเรื่อง พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ บรรณาธิการ : พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร. หนังสือเรื่อง “พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ” (Buddhist Virtues in Socio-Economic Development) ถือเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาได้ ร่วมกันคิดค้นรูปแบบการประยุกต์พุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้มีความเป็นอยู่เหมาะสมกับสภาพ ปัจจุบัน
Download ได้ที่  http://www.icundv.com/vesak2011/en/books.php



                    เล่มที่ ๕ หนังสื่อเรื่อง พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ผู้เขียน : นักวิชาการชาวพุทธทั่วโลก  บรรณาธิการ : พระคำหมาย ธรรมสามิ, ดร. (อังกฤษ) พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร. (ไทย) ดร. ดิออน พีเพิลส์ (อเมริกา) ดร. อริยะตเน (ศรีลังกา) ศ.ดร. เดเมียน คีโอน (อังกฤษ) ดร. โคลิน บัตเลอร์ (ออสเตรเลีย) ดร. ที. ธัมมรัตนะ (ฝรั่งเศส)  หนังสือ เล่มนี้ เป็นบทความทางวิชาการของนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาทั่วโลก ประกอบด้วยบทความจำนวนกว่า ๘๐ บทความ ซึ่งนำเสนอเกี่ยวกับผู้นำเชิงพุทธกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ การสร้างสังคมปรองดอง การรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และพุทธิปัญญาเพื่อสังคมแห่งการตื่นรู้ 
Download ได้ที่  http://www.icundv.com/vesak2011/en/books.php

                    เล่มที่ ๖  หนังสือเรื่อง "วารสารทางวิชาการลำดับที่สอง สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ" ผู้เขียน : นักวิชาการชาวพุทธทั่วโลก
บรรณาธิการ : พระคำหมาย ธรรมสามิ, ดร. (อังกฤษ) หนังสือเล่มนี้ เป็นบทความทางวิชาการของนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาทั่วโลก ประกอบด้วยบทความจำนวน ๗ บทความ เป็นที่ได้รับการคัดสรรจากบทความของนักเขียนที่มีชื่อเสียงด้านต่างๆ เช่น ด้านการปฏิบัติ ด้านคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ด้านพระพุทธศาสนากับเศรษฐกิจและสังคม

Download ได้ที่  http://www.icundv.com/vesak2011/en/books.php
 


  
                  เล่มที่ ๗ หนังสือเรื่อง "The Vesak Day History, Significance and Celebrations The International Buddhist Conference on the United Nations Day of Vesak Celebrations 12-14 May 2011, Thailand"  

Download ได้ที่  http://www.icundv.com/vesak2011/en/books.php
 

 


 

    
                เล่มที่ ๘ หนังสื่อเรื่อง "Program Vesak 2011  ผู้รวบรวม : คณะทำงานฝ่ายวิชาการ . มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย "     หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่รวบรวม และรวบเรียงสารของผู้นำชาวพุทธทั่วโลก ทั้งในอเมริกา ยุโรป อเมริกาใต้ และเอเชีย รวมถึงสารจากเลขาธิการสหประชาติ เลขาธิการยูเนสโก นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้นำทางการเมือง ผู้นำขององค์กรเอกชนของประเทศต่างๆ ที่แสดงความปรารถนาดีต่อการจัดงานเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชาโลก ปี ๒๕๕๔ และเสนอแนะแนวทางเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข   Download ได้ที่  http://www.icundv.com/vesak2011/en/books.php
                ซึ่งหนังสือแต่ละเล่มล้วนเป็นหนักสือที่มีเนื้อหาสาระสำคัญ ที่รวบรวมบทความสำคัญของนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาระดับชาติ เป็นหนังสือที่มีคุณค่าต่อการศึกษาอย่างยิ่ง  
                                      ท่านใดที่สนใจหนังสือประกอบงานวิสาขบูชาโลกข้างต้น ขอเชิญไปร่วมงานและรับได้ที่เคาเตอร์หน้าห้องสัมมนา และห้องประชุมใหญ่ มหาจุฬาฯ วังน้อย พระนครศรีอยุธยา หรือติดต่อได้ที่สำนักงานวิสาขบูชาโลก เบอร์โทร  035 248 098  หรือโหลดไฟล์ PDF ได้ที่ http://www.icundv.com/vesak2011/th/books.php

                    สกุ๊ปโดย ทีมงานเลขานุการ (พระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผอ.ส่วนหอสมุดกลาง)


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มจร จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล และเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
    26 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    145
  • ขอขอบคุณ ดร.สุวรา นาคยศ อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มอบเงินจำนวน 500,000 บาท สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพฯ
    25 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    393
  • ขอเชิญลงทะเบียนเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลและพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗
    23 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    490
  • การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก สมศ. รอบสี่ ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    19 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    148
  • องคมนตรี เชิญหิรัญบัฏ พัดยศ ผ้าไตร และเครื่องยศสมณศักดิ์ ถวายแด่ พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.๙,ศ.ดร.) วัดปากน้ำ พระอารามหลวง
    18 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    160