www.weipinxgt.com www.hdf598.com www.rzkfqcg.com www.ywd100.com www.gzunitrade.com www.5aziyuan.com www.alsclean.com www.ynzsgc.com www.sdldtg.com www.i-sarima.com www.aijianbing.com www.xushiweigou.com www.haoyulongsp.com www.binqimotor.com www.kenminamipainting.com www.erli30.com www.cdhg88.com www.horse-home.com www.myjxzp.com www.dgselling.com www.chenlongjiancai.com www.zhongkuanwuliu.com www.huameide-sz.com www.shouxitongban.com www.scgcjx0207.com www.qdshengqian.com www.3w800.com www.kl-ad.com www.imshenghuo.com www.xxanlhw.com www.hfkaibo.com www.wlwservice.com www.jxguanghua.com www.zkld2009.com www.duanem.com www.hzwjzs.com www.chdlav.com www.lyxszl.com www.xinlaihuijiaju.com www.hrwholecare.com www.yingyang168.com www.honeywell-lk.com www.yushusanjiangyuanbao.com www.kangningyiyuan.com www.xzkjsxx.com www.jztushuguan.com www.gksswh.com www.jakjxx.com www.yyxlzw.com www.dwdzxx.com www.shszjzx.com www.skf-nsk-fag-ntn.com www.shanghailvhua.com www.yomandoors.com www.wenchengvote.com www.cn-sportsprotectors.com www.fuyixuantc.com www.jiayongdiant.com www.reshousuoj.com www.wuxitianzhile.com www.lsallx.com www.ravor-system.com www.jhbrq.com www.mirrvoll.com www.likekiwi.com www.hbclzqcj.com www.cqqfbxgm.com www.nmgdwjlw.com www.zmdjtzfw.com www.xunchengchaju.com www.gssx-pxgl.com www.sha-jing.com www.zysjmbj.com www.131701.com www.tlyhyy.com www.hbfbfz.com www.hljpadm.com www.fenxiangzhuan005.com www.jv001.com www.ruiyucnc.com www.zhuochenglaser.com www.zhaoshudeng.com www.facebook-france.com www.yuxianchu.com www.139yes.com www.lazonaentertainment.com www.eastofedens.com www.latelier-gourmet.com www.kaisyomaru.com www.tenglonghb.com www.bdsmfreevids.com www.gzshbzw.com www.ymgb0991.com www.setonohanayome.com www.attachmentmoms.com www.njmzyjg.com www.hi4r.com www.exotic-nails.com www.ef25.com www.lslcxx.com
ข่าวประชาสัมพันธ์
มหาจุฬาฯ ทำวิจัยพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น เพิ่มความสัมพันธ์พระพุทธศาสนาเน้นแฟ้น
25 มิ.ย. 54 | ข่าวมหาวิทยาลัย
246
ข่าวมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาฯ ทำวิจัยพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น เพิ่มความสัมพันธ์พระพุทธศาสนาเน้นแฟ้น
วันที่ ๒๕/๐๖/๒๐๑๑ เข้าชม : ๙๕๐๐ ครั้ง

                      วันนี้ (๒๕ มิ.ย.๕๔) ณ ห้องประชุมชั้น ๒ โรงแรม Kyoto Royal Hotel ประเทศญี่ปุ่น  พระธรรมโกศาจารย์ ศ. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาวิจัย เรื่อง พระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น MCU  Japan Buddhism Research Seminar โดยมีอธิการบดี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย นักวิชาการประเทศญี่ปุ่น และผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ คณะผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิจัย จากประเทศไทย จำนวน ๗๐ ท่าน  โดยมีพระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ (ไสว) รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พร้อมคณะ ได้นำเสนอรายงานผลการวิจัยในพระพุทธศาสนาญี่ปุ่นต่อที่ประชุมด้วย

                        พระธรรมโกศาจารย์ ศาสตราจารย์ กล่าวว่า "ข้อที่ทำวิจัยเป็นเรื่องการศึกษาพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น พระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นมีการปฏิบัติเข้มแข็งมาก คนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนากับศาสนาชินโต ประชาชนชาวญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการประยุกต์พระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน ที่เราทราบกันพระพุทธศาสนานิกายเซน ซิมซับในชีวิตประจำวันของญี่ปุ่น หรือพระพุทธศาสนานิกายอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ปัญหาว่า ทำอย่างไรชาวญี่ปุ่นจึงยอมรับพระพุทธศาสนาและแทรกซิมอยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน เป็นวิถีชีวิต สร้างชาติได้อย่างเข้มแข็ง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ร่วมกับสถาบันการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นทำวิจัยอย่างเป็นระบบ แล้วก็พบว่า มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นมีความจริงจังและเข้มงวดกับการทำวิจัยอย่างมาก จนทั่วโลกยอมรับว่าการวิจัยด้านพระพุทธศาสนาต้องมาที่ประเทศญี่ปุ่น เพราะว่าชาวญี่ปุ่นจริงจังกับการวิจัย โดยเฉพาะระเบียบวิธีวิจัย เขาปฏิบัติอย่างเข้มงวด การวิจัยร่วมกับประเทศญี่ปุ่น ตัวอย่างเช่น ที่ภูเขาอูอิเอ เข้าเน้นการวิจัยแข้งงวดมาก การเดินจงกรมบนภูเขา เหมือนกันเข้านิโรธสมาบัติเป็นระยะเวลา ๑,๐๐๐ วัน โดยเน้นวิถีการปฏิบัติมาก ขั้นตอนต่างๆ ที่กำหนด จะต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง การศึกษาเน้นกระบวนการปฏิบัติ ซึ่งเป็นการประกันคุณภาพมาก ทำให้งานวิจัยในพระพุทธศาสนามีคุณภาพมาก ผลการวิจัยที่ค้นพบส่วนหนึ่งที่พบคือ การเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนในระดับอนุบาน ปฐมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาแยกกันออกอย่างชัดเจน เป็นการศึกษาแบบอิสระ ไม่ได้มีการเรียนการสอนโรงเรียนตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา ตามเงื่อนไขประเทศที่ผ่านศึกสงคราม แต่พระพุทธศาสนามีบทบาทและอิทธิพลอย่างมากในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การดำเนินชีวิตที่งดงาม การจัดสวนแบบญี่ปุ่น ความมีระเบียบ เป็นต้น ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ จะมีประโยชน์ต่อการศึกษาพระพุทธศาสนาทั่วโลก"
                         พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ และรักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ กล่าวว่า "การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 
                         ๑.  เพื่อศึกษาความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น
                          ๒. เพื่อศึกษานิกายพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นตามยุคสมัยในประเด็น ประกอบด้วย โครงสร้างองค์กร  กฎหมายองค์กร (ระเบียบปฏิบัติ)  การวิจัย  การจัดการศึกษา  การเผยแผ่  การปฏิบัติกรรมฐาน  อิทธิพลที่มีต่อประชาชน
                          ๓.  เพื่อวิเคราะห์ลักษณะเด่นและประเด็นร่วมสมัยของพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นที่มีอิทธิพลต่อประชาชน
                        วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  การสัมภาษณ์เชิงลึก  การสังเกตแบบมีส่วนร่วม  การวิเคราะห์เอกสาร   ผลการวิจัยพบว่า  พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นแต่ละนิกายเกิดมาจากการวิจัย, พระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการบริหารมหาวิทยาลัย, เป็นนักวิจัย, มีการดำเนินการด้านการวิจัยจนสามารถตั้งเป็นศูนย์วิจัยพระพุทธศาสนาของนิกาย, มีการบริหารจัดการองค์ความรู้อย่างสม่ำเสมอส่งผลให้องค์กรสงฆ์มีความเข้มแข็ง สามารถปรับบทบาทตนเองเข้ากับสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม  รวมทั้งมีการเชื่อมโยงองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ที่สำคัญคือ วัดเป็นศูนย์กลางศาสนสมบัติและศิลปวัตถุเกี่ยวกับพุทธศาสนา,  วัดเป็นแหล่งการเรียนรู้  แหล่งรายได้,  วัดทำให้ประชาชนมีงานทำ,  มีงบประมาณใช้บริหารจัดการด้านต่างๆ พระพุทธศาสนามีอิทธิพลที่มีต่อประชาชน ได้หลอมรวมเป็นคุณลักษณะเฉพาะคนญี่ปุ่น เช่นทำให้เป็นคนรักสงบ   มีความสง่างาม  เอื้ออาทรต่อกัน  มีระเบียบวินัย  ความเสียสละ  ความคิดสร้างสรรค์ โอบอ้อมอารีต่อกัน  การควบคุมตนเอง รู้จักกาลเทศะในสังคม มีความสำนึกรับผิดชอบร่วมกันของคนในสังคม" 

                         ดร.โอกะ ผู้อำนวยการพระพุทธศาสนานิกายเทียนได กล่าวว่า "การทำวิจัยพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาและของโลก ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความมั่นคงยิ่งขึ้น รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ วัฒนธรรมอีกด้วย โดยส่วนตัวต้องการให้มีการทำวิจัยพระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ เช่นพระพุทธศาสนาในเอเซีย"
 
                        สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ รับผิดชอบโดยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๕๒ เป็นต้นมา การรวมรวมข้อมูลครั้งนี้ มีข้อจำกัดพอสมควร เนื่องจากขอบข่ายในการวิจัยกว้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับนิกายพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น  อนึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณสูง และที่สำคัญผู้วิจัยต้องใช้ความพยายามมาก โดยเฉพาะอย่างในด้านภาษา วัฒนธรรม และการเข้าถึงแหล่งข้อมูล ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพระพุทธศาสนาและทำให้เราเข้าใจพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น 
                       ในครั้งที่มีสื่อมวลชนเข้าร่วมสังเกตการประชุมด้วย เช่น สื่อมวลชนช่อง ๓, มติชน, ธงธรรม, ไทยรัฐ
 สกู๊ปข่าวโดย :  พระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนหอสมุดกลาง/พระอาจารย์สรวิชญ์  อภิปญฺโญ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์
 ภาพโดย :  ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่
 


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มจร จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล และเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
    26 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    144
  • ขอขอบคุณ ดร.สุวรา นาคยศ อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มอบเงินจำนวน 500,000 บาท สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพฯ
    25 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    391
  • ขอเชิญลงทะเบียนเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลและพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗
    23 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    487
  • การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก สมศ. รอบสี่ ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    19 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    146
  • องคมนตรี เชิญหิรัญบัฏ พัดยศ ผ้าไตร และเครื่องยศสมณศักดิ์ ถวายแด่ พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.๙,ศ.ดร.) วัดปากน้ำ พระอารามหลวง
    18 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    160