ข่าวประชาสัมพันธ์
กองวิชาการ และคณะครุศาสตร์ เข้าร่วมสัมมนาพิจารณ์(ร่าง) หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการพิจารณาหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับองค์กรวิชาชีพ
24 ต.ค. 54 | สัมมนา/การประชุม
1270
ข่าวสัมมนา/ประชุม
กองวิชาการ และคณะครุศาสตร์ เข้าร่วมสัมมนาพิจารณ์(ร่าง) หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการพิจารณาหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับองค์กรวิชาชีพ
วันที่ ๒๔/๑๐/๒๐๑๑ เข้าชม : ๑๑๑๗๐ ครั้ง

วันอังคารที่ 27 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดการสัมมนาพิจารณ์(ร่าง) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง "หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการพิจารณาหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับองค์กรวิชาชีพ" โดยมี รองศาสตราจารย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานกล่าวเปิด และนำเสนอร่างประกาศและกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนา ในการสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นจากผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเกี่ยวกับ(ร่าง)ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง "(ร่าง) หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการพิจารณาหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับองค์กรวิชาชีพ" 2) เพื่อให้การจัดทำประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง "(ร่าง) หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการพิจารณาหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับองค์กรวิชาชีพ" มีความครอบคลุมสาระสำคัญ เป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐานทั้งวิชาการและวิชาชีพ เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและสถาบันอุดมศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

ในการสัมมนาพิจารณ์ดังกล่าว กองวิชาการโดยความเป็นผู้ดูแลหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้ พระราชัน จิตปาโล รองผู้อำนวยการกองวิชการ  และคณะครุศาสตร์ ซึ่งมีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับองค์กรวิชาชีพ(คุรุสภา) โดยตรง ได้มอบหมายให้อาจารย์กิตติศักดิ์ ณ สงขลา อาจารย์ภาควิชาหลักสูตรและการสอน เข้าร่วมสัมมนาพิจารณ์(ร่าง) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง "หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการพิจารณาหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับองค์กรวิชาชีพ"

การสัมมนาพิจารณ์(ร่าง) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง "หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการพิจารณาหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับองค์กรวิชาชีพ" ได้แบ่งกลุ่มการพิจารณ์ออกเป็น 13 กลุ่มตามกลุ่มองค์กรวิชาชีพ มี 1) คุรุสภา 2) ทันตแพทยสภา 3) แพทยสภา 4) สภากายภาพบำบัด 5) สภาการพยาบาล 6) สภาทนายความ 7) สถาเทคนิคการแพทย์ 8) สภาเภสัชกรรม 9) สัตวแพทยสภา 10) สภาวิศวกร 11) สภาสถาปนิก 12) สภาวิชาชีพบัญชี และ13) สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผู้ได้รับมอบหมายในการเข้าร่วมสัมมนาพิจารณ์ครั้งนี้(อาจารย์กิตติศักดิ์ ณ สงขลา) ได้เข้าร่วมสัมมนาพิจารณ์ในกลุ่มองค์กรวิชาชีพ คุรุสภา ซึ่งมีประเด็นการพิจารณาอยู่ 3 ประเด็น พอสรุปความคิดเห็นในที่ประชุมของทุกองค์กรวิชาชีพ ตามประเด็น ได้ดังนี้
1) สถาบันประสบปัญหาดำเนินการหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับองค์กรวิชาชีพหรือไม่อย่างไรบ้าง? 
     - สถาบันการศึกษามีปัญหาคล้ายกันในเรื่องของการดำเนินการเพื่อรับรองหลักสูตร ระยะเวลาในการดำเนินการเพื่อการรับรองหลักสูตร
     - การตีความระบบการศึกษาที่แตกต่างกัน ในเรื่องการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน จันทร์-ศุกร์, พุธ-อาทิตย์
     - การจัดทำหลักสูตรตามกรอบ TQF ในบ้างสาขาวิชายังไม่เรียบร้อย ยังไม่ได้รับการรับรองหลักสูตร และยังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการรับรองหลักสูตร
2) สถาบันได้แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างไร?
     สถาบันการศึกษามีการแก้ปัญหาต่างๆ ตามข้อเสนอแนะของสกอ.และขององค์กรวิชาชีพที่ควบคุมดูแล
3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการพิจารณาหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับองค์กรวิชาชีพ
     สถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมประชุมมีความคิดเห็นดังนี้
     - ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ควรแยกประกาศออกเป็นฉบับตามองค์กรวิชาชีพ
     - ควรตัดร่างประกาศข้อที่ 7 และข้อที่ 8 ออกเพราะที่ประชุมเห็นว่าไม่จำเป็นต้องใส่เข้าไปก็ได้
     - ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ควรจัดประชุมตกลงกันระหว่าง 3 องค์กร คือ 1) สถาบันการศึกษาฝ่ายผลิต 2) องค์กรวิชาชีพ และ 3) หน่วยงานผู้ใช้บัณฑิต เพื่อให้สถาบันการศึกษาได้ผลิตตรงได้ตรงตามความต้องการของหน่วยงานผู้ใช้บัณฑิต ซึ่งเป็นผู้กำหนดคุณสมบัติในการรับบัณฑิตเข้าทำงาน
     - ก่อนการประกาศใช้ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ควรจัดประชุมกับผู้แทนองค์กรวิชาชีพ ต่างๆ ร่วมถึงสถาบันการศึกษาอีกครั้งก่อนทำการประกาศใช้
     - ควรเขียนวัตถุประสงค์ของประกาศลงไว้ด้วยเพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกัน
     - ในการรับรองหลักสูตรควรกำหนดเงื่อนไขของเวลาไว้ด้วย
     - ตามประกาศนี้จะกำหนดให้มีผลต่อหลักสูตรใดบ้างอย่างไร ควรระบุให้ชัดเจน เช่น เฉพาะหลักสูตรใหม่ หรือครอบคลุมถึงหลักสูตรที่กำลังดำเนินการรับรองหลักสูตรด้วยหรือไม่อย่างไร? 
     - และให้เพิ่มเติมใจความเพิ่มเติม อีก 1 ข้อ ว่า หากไม่ตรงตามประกาศหรือเงื่อนไขใดๆตามประกาศนี้ให้มอบให้ใครเป็นผู้พิจารณา เพื่อเป็นการเปิดช่องไว้ในกรณีที่ไม่มีข้อบังคับหรือประกาศ

สถานที่ประชุม ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพมหานคร

มีผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ จากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมกว่า 500 รูป/คน

ภาพกิจกรรม

ภาพ/ข่าว...โดย...ฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะครุศาสตร์


แหล่งข่าว : คณะครุศาสตร์
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ขอนิมนต์และเรียนเชิญผู้บริหาร บุคลากร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั่วประเทศ ร่วมรับฟังนโยบายเพื่อขับเคลื่อนนโยบายและติดตามผลการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จาก อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567
    07 พ.ย. 67 | สัมมนา/การประชุม
    133
  • AI ปฏิวัติ MOOC: อนาคตการศึกษา
    12 ก.ค. 67 | สัมมนา/การประชุม
    637
  • โครงการประชุมสัมมนาเชิงปฎิบัติการ การจัดทำรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนามรายวิชาชีพครู หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (๔ ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๗
    12 พ.ค. 67 | สัมมนา/การประชุม
    682
  • ขอเชิญเข้าฟังการบรรยาย หัวข้อ บทบาทมหาวิทยาลัยสงฆ์กับการศึกษาไทย โดย รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป
    13 ก.พ. 67 | สัมมนา/การประชุม
    1261
  • พระธรรมวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการอบรมทางด้านกฎหมายสำหรับบุคลากร และบรรยายพิเศษ เรื่อง "การเสริมสร้างจริยธรรมในการปฏิบัติงนสำหรับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ"
    12 ก.พ. 67 | สัมมนา/การประชุม
    1015