บัณฑิตวิทยาลัย

ประวัติบัณฑิตวิทยาลัย

        บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีสถานะ เทียบเท่ากับคณะ มีหน้าที่หลักคือ (๑) จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาภายในคณะ (๒) กํากับ ติดตามดูแลหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของคณะพุทธศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ ให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและตาม ปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ แผนและนโยบายของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

        บัณฑิตวิทยาลัย ได้รับการจัดตั้งเมื่อ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ตามประกาศ มหาวิทยาลัยที่ ๔/๒๕๓๑ ทั้งนี้ โดยอาศัยแนวปฏิบัติตามความในคําสั่งมหาเถรสมาคม เรื่องการ ศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ พ.ศ.๒๕๑๒ ข้อ ๕ (๒) และข้อ ๗ ต่อมา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย ได้มีประกาศที่ ๖๕/๒๕๒๙ ลงวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๙ แต่งตั้งคณะ กรรมการยกร่างโครงการบัณฑิตวิทยาลัยและหลักสูตรปริญญาโท โดยมี พระเมธีสุทธิพงศ์ (ระวัง วชิรญาโณ) เป็นประธานกรรมการ

        วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบโครงการบัณฑิต วิทยาลัย และอนุมัติให้ใช้หลักสูตรปริญญาโท คือ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต

        วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๐ มหาวิทยาลัย ได้ประกาศใช้ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาโท พุทธศักราช ๒๕๓๐

        บัณฑิตวิทยาลัย ได้ดําเนินการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งมีหลักสูตร ทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยมีพัฒนาการมาตามลําดับ ดังนี้

ปีการศึกษา ๒๕๓๑ ได้เปิดหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา และสาขาวิชาปรัชญา ต่อมาในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ได้เปิดสอนสาขาวิชาพระพุทธศาสนา (หลักสูตรนานาชาติ)

ปีการศึกษา ๒๕๓๘ เปิดหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศ

ปีการศึกษา ๒๕๔๓ ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา พระพุทธศาสนา แบบ ๒.๑

ปีการศึกษา ๒๕๔๗ ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา พระพุทธศาสนา แบบ ๑.๑

ปีการศึกษา ๒๕๔๙ ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ปรัชญา

ปีการศึกษา ๒๕๕๑ ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา พระพุทธศาสนา แบบ ๑.๒ และ แบบ ๒.๒

ปีการศึกษา ๒๕๕๒ ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา ปรัชญา

ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา พระพุทธศาสนา ภาคพิเศษ แบบ ๒.๑

ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา พระพุทธศาสนา ภาคพิเศษ

หลักสูตรที่เปิดสอน 

        ในปัจจุบันบัณฑิตวิทยาลัยได้จัดการศึกษาขึ้นในระดับปริญญาโท  หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.) ที่บัณฑิตวิทยาลัยมีหน้าที่จัดการเรียนการสอน

สำหรับพระภิกษุและคฤหัสถ์ มี ๓ สาขาวิชา แบ่งเป็น ๕ แบบ คือ

๑) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (ภาคปกติ) จัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๒) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (ภาคเสาร์-อาทิตย์) จัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงทพมหานคร

๓) สาขาวิชาปรัชญา แบบ ก.๒ (ภาคปกติ) จัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๔) สาขาวิชาปรัชญา แบบ ก.๑ (ภาคเสาร์-อาทิตย์) จัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๕) สาขาวิชาธรรมนิเทศ (ภาคปกติ)  จัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงทพมหานคร

๖) สาขาวิชาสันติศึกษา 

ระดับปริญญาเอก หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.) ที่บัณฑิตวิทยาลัยมีหน้าที่จัดการเรียนการสอนสำหรับพระภิกษุและคฤหัสถ์ มี ๒ สาขาวิชา แบ่งเป็น ๔ แบบ คือ

๑) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (ภาคปกติ) จัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๒) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (ภาคเสาร์-อาทิตย์) จัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงทพมหานคร

๓) สาขาวิชาปรัชญา แบบ ๒.๑ (ภาคปกติ) จัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๔) สาขาวิชาปรัชญา แบบ ๑.๑ (ภาคเสาร์-อาทิตย์) จัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๕) สาขาวิชาสันติศึกษา ดูรายละเอียดเพิ่มเติม  คลิก  หลักสูตร พธ.ม. สาขาวิชาสันติศึกษา

        นอกจากนี้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ยังได้เปิดหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา เพื่อรองรับผู้สนใจศึกษาพระไตรปิฎก โดยตรง

ผลงานดีเด่นในรอบปีการศึกษาที่ผ่านมา

        ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ บัณฑิตวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาบัณฑิตให้เกิดองค์ความ รู้แก่การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เป็นการยกระดับการศึกษาของบัณฑิตให้เป็นที่ยกย่องใน ระดับชาติและนานาชาติ บัณฑิตวิทยาลัยได้มีการจัดกิจกรรม ดังนี้

๑.โครงการสัมมนาวิทยานิพนธ์ดีเด่นประจําปี บัณฑิตวิทยาลัยได้ยกระดับขึ้นเป็น การประชุมวิชาการนานาชาติ มจร ครั้งที่ ๑ (The first MCU International Academic Conference) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักวิชาการ คณาจารย์ นิสิตและผู้สนใจเสนอผลงาน วิชาการต่อเวทีระดับนานาชาติ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จํานวน ๑,๕๐๐ รูป/คน

๒.โครงการบริการวิชาการแก่สังคม บัณฑิตวิทยาลัยได้จัดโครงการพัฒนาศึกษา พัฒนาชุมชนเพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมทางพระพุทธศาสนาสู่สังคม ผ่านทาง กิจกรรมสัมพันธ์ที่ให้มีการบริหารกาย บริหารจิต และความรู้ทางวิชาการและนันทนาการ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจํานวน ๒๐๐ รูป/คน

๓.โครงการส่งเสริมกิจกรรมทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม เป็นการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม ของท้องถิ่นเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามและเป็นการเสริมสร้างศิลปวัฒนธรรมของ ชุมชนและสังคม นอกจากนี้บัณฑิตวิทยาลัยยังมีการเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการในรูปแบบของบทความ ในวารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ ซึ่งมีการเผยแพร่เป็นรูปเล่มพิมพ์หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการกําหนดการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งวารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ได้ยกระดับคุณภาพ ด้านวิชาการเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการในระดับชาติให้อยู่ในฐาน TCI กลุ่มที่ ๑


เข้าสู่เว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย