บทความวิชาการ
พุทธจริยศาสตร์กับการศึกษา
22 มิ.ย. 59 | พระพุทธศาสนา
1599

ผู้แต่ง :: ผศ.พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์

ผศ.พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์ (2553)

ความนำ

       บนพื้นฐานแห่งการปฏิบัติในชีวิตประจำวันและเป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยได้รับ
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในทางพฤตินัยมาตั้งแต่แผ่นดินสมัยกรุงสุโขทัย
เป็นราชธานี และยึดเป็นแก่นของการปฏิบัติโดยได้นำหลักคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็น
รากฐานของการดำรงอยู่ตลอด และถือเป็นจุดเริ่มต้นทางด้านจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่
ดีงาม ปัจจุบันในประเทศไทยมีคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธเกินกว่า ๙๖ เปอร์เซ็นต์ และได้รับ
การยอมรับจากชาวต่างชาติว่าเป็น “ดินแดนแห่งความสงบสุขและเป็นเมืองแห่งผ้าเหลือง”
คงจะด้วยเหตุผลสำคัญที่ชาวต่างชาติเหล่านั้นได้มาสัมผัสและประจักษ์กับวิถีชีวิตความเป็นจริง
ของคนไทยในสังคมไทย ที่มีวัดเป็นศูนย์กลางของการประกอบกิจกรรมต่างๆ และเป็นศูนย์รวม
ทางด้านจิตใจของประชาชนคนไทยทั้งชาติ ปัจจุบันมีวัดจำนวนมากมายโดยมีพระภิกษุสงฆ์องค์
สามเณรตามวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย เป็นผู้นำทางด้านศาสนาในฐานะที่เป็นผู้สืบทอดและเป็น
ศาสนทายาทเพื่อเผยแผ่หลักคำสอนของพระพุทธองค์ ภาพสำคัญอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้น คือ
ความมีอัธยาศัยไมตรีที่งดงาม มีใบหน้าที่มีรอยยิ้มแจ่มใสอยู่เสมอจนได้รับสมญานามว่า
“เป็นสยามเมืองยิ้ม” แสดงให้เห็นถึงภาวะแห่งจิตใจที่ดีงามและงดงามเป็นผลมาจากการได้รับ
อิทธิพลด้านพระพุทธศาสนาและการได้รับอิทธิพลทางด้านคำสอน ด้านคุณธรรม ด้านพุทธธรรม และด้านจริยธรรม ที่กล่อมเกลาจิตใจคนไทยให้มีความอ่อนโยนเยือกเย็นและเป็นกัลยาณมิตร ที่ดีต่อชนทุกชาติทุกภาษาทุกชั้นวรรณะนั่นเอง 

 

(ที่มา: สารนิพนธ์ ปี ๒๕๕๓)