บทความวิชาการ
สังคมไทยกับความเข้มแข็ง
22 มิ.ย. 59 | พระพุทธศาสนา
886

ผู้แต่ง :: ผศ.ดร.กิตติทัศน์ ผกาทอง

ผศ.ดร.กิตติทัศน์ ผกาทอง (2553)

๑.  บทนำ

      บริบทของสังคมไทยนับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยล้วนมี ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นเครื่อง
มืออันสำคัญในการดำเนินชีวิต ศาสนาและวัฒนธรรมหนุนเสริมให้วิถีชีวิตของคนไทยและสังคม
ไทยอยู่อย่างปกติสุข มีชีวิตที่มักน้อยและสันโดษ และมีความเพลิดเพลินจำเริญใจด้วยบุญประเพณีที่หลากหลายในเทศกาลต่างๆ โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการพบปะสังสรรค์กัน ความผูกพันต่อกัน จึงมีลักษณะเป็นเครือญาติมากกว่าผลประโยชน์เชิงธุรกิจ วิถีชีวิตจึงมีแต่ความรักและความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลซึ่งกันและกันครั้นสังคมไทยมีความเปลี่ยนแปลง เพราะต่างชาติโดยเฉพาะฝรั่งหรือชาวยุโรปเข้ามามีบทบาททั้งด้านศาสนา วัฒนธรรม การเมืองและเศรษฐกิจ วิถีชีวิตของคนไทยแบบดั้งเดิมจึงค่อยๆ เปลี่ยนไปและมีลักษณะกลายพันธุ์ทางพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง ความรักความผูกพันต่อกันแบบเครือญาติเริ่มแปรเปลี่ยนเป็นความรักความผูกพันต่อกันแบบผลประโยชน์ เมื่อสังคมมีผลประโยชน์เป็นเป้าหมายในที่สุดก็เริ่มขัดแย้ง เพราะต้องแข่งขันและช่วงชิงความได้เปรียบระหว่างกัน ฝ่ายที่ประสบความสมหวังหรือได้เปรียบกลายเป็นฝ่ายชนะ ส่วนฝ่ายที่ประสบความผิดหวังหรือเสียเปรียบกลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งชนะแต่อีกฝ่ายหนึ่งแพ้ สิ่งที่ตามมาก็คือ ความขัดแย้ง (Conflict) และเมื่อความขัดแย้งสะสมจนเกิดพลังมากขึ้น ก็พัฒนาสู่ความอาฆาตมาดร้ายและทำลายล้างซึ่งกันและกัน ในที่สุดบรรยากาศแห่งความรักความผูกพันและความสมานฉันท์ระหว่างกันก็หมดไป เหลือทิ้งไว้แต่ความเป็นฝักฝ่ายหรือศัตรูต่อกัน  
ดูเนื้อหาฉบับเต็ม

(ที่มา: สารนิพนธ์ ปี ๒๕๕๓)