ผู้แต่ง :: พระธรรมโกศาจารย์
พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (2540) |
ในนามของมหาเถรสมาคมแห่งประเทศไทย ข้าพเจ้าขออนุโมทนาต่อชาวพุทธศรีลังกาในโอกาส ฉลองครบ ๒๕๐ ปีแห่งการ สถาปนาคณะสงฆ์ สยามนิกายในศรีลังกา เพื่อดำเนินตามปฏิปทาของพระอุบาลี มหาเถรสมาคมได้มอบหมายให้ ข้าพเจ้าเข้าร่วมประชุมพระพุทธศาสนานานาชาติครั้งนี้เพื่อแสดงเจตนาของเราในการกระชับความ สัมพันธ์ระหว่างคณะสงฆ์ศรีลังกา และคณะสงฆ์ไทย เรื่องราวความสำเร็จ ของท่านพระอุบาลีเตือนให้เราระลึกว่า ในโลกปัจจุบันยุคโลกาภิวัตน์ คณะสงฆ์ศรีลังกาและคณะสงฆ์ไทย จะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อประโยชน์แห่งพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทยได้ชื่อว่าลังกาวงศ์ ทั้งนี้เพราะเมื่อ ๗๐๐ ปีที่ผ่านมา พ่อขุนรามคำแหงได้อาราธนาหัวหน้าพระสงฆ์ศรีลังกามาจากนครศรีธรรมราชในภาคใต้ มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ที่กรุงสุโขทัย และเมื่อ ๒๕๐ ปีที่ผ่านมา ชาวไทยได้มีโอกาส ตอบแทนคุณของศรีลังกาด้วยการที่พระเจ้าบรมโกษฐ์ ทรงส่งพระอุบาลีและคณะมาฟื้นฟูการอุปสมบทใน ศรีลังกาหลังจากที่ สมณวงศ์ในเกาะลังกาได้ขาดสูญไป เพราะการกดขี่ของโปรตุเกส แต่ด้วยความเสียสละ ที่ยิ่งใหญ่ของพระอุบาลี การอุปสมบทก็ได้รับการฟื้นฟู และมีการสถาปนาสยามนิกายในศรีลังกา ในประเทศไทย สมัยปัจจุบัน พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ ภายใต้บทบัญญัต แห่งรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ในฐานะองค์พระประมุขของชาติทรงเป็นพุทธมามกะ พระมหากษัตริย์ และรัฐร่วมกันอุปถัมภ์ บำรุงกิจการคณะสงฆ์ และส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในหมู่ประชาชน จากการสำรวจประชากรครั้งล่าสุด ประเทศไทยมีประชากร ๖๓ ล้านคน และคนไทยร้อยละ ๙๔ นับถือพระพุทธศาสนา ตาม สถิติเมื่อปี ๒๕๔๕ ทั่วทั้งประเทศไทย มีวัดอยู่ ๓๒,๐๐๐ วัด พระภิกษุ ๒๖๕,๙๕๖ รูป และ สามเณร ๘๗,๖๙๕ รูป ในศตวรรษที่ผ่านมา คณะสงฆ์ในประเทศไทยได้ปกครองตัวเองอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับที่หนึ่ง (พ.ศ. ๒๔๔๕) พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๘๔) และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับล่าสุด ซึ่งตราออกเป็นพระราชบัญญัติเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ศ. ๒๕๓๕ และยังมีคณะสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่ายที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย คือ ฝ่ายมหายาน ที่แบ่งเป็นจีนนิกายและอนัมนิกาย และฝ่ายเถรวาทที่แบ่งเป็น มหานิกายและธรรมยุตนิกาย ทั้งฝ่ายเถรวาท และมหายานต้องอยู่ภายใต้การปกครองของ สมเด็จพระสังฆราช ผู้ที่มหากษัตริย์ทรงสถาปนาขึ้นจากนิกายใดนิกายหนึ่งในฝ่ายเถรวาท และจะดำรงตำแหน่งพระสังฆราช ไปจนตลอดพระชนม์ชีพ สมเด็จพระสังฆราชมีมหาเถรสมาคมเป็นผู้ช่วยสนองงาน มหาเถรสมาคมนี้มีกรรมการถาวรโดยตำแหน่งจำนวน ๘ รูป และกรรมการที่ สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งอีกจำนวน ๑๒ รูป มหาเถรสมาคมมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ ออกกฎระเบียบ และแต่งตั้งผู้บริหารงานคณะสงฆ์ทั้งสองนิกาย การบริหารคณะสงฆ์ม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคมเป็นหน่วย สนองงาน สำนักงานนี้ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะสงฆ์กับรัฐ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกลมเกลียวกัน ทั้งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลพระภิกษุสามเณรและอาราม โดยจัดสรรงบประมาณอุดหนุนจากรัฐ และมีหน้าที่ส่งเสริมการบริหารงานของพระสังฆาธิการ เมื่อว่าตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ คณะสงฆ์ไทยมีการจัดองค์กรอย่างดี วัดนับหมื่นวัดและพระภิกษุสามเณรประมาณ ๓ แสนรูป อยู่ภายใต้การบริหารแบบรวมอำนาจเข้าสู่ ปัจจุบันจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายคณะสงฆ์ฉบับใหม่ มีการยกร่างและอภิปราย พระราชบัญญัติปฏิรูปคณะสงฆ์ขึ้นมา จะมีการปรับโครงสร้างการบริหารคณะสงฆ์ชนิดที่ว่า จะมีการกระจายอำนาจของมหาเถรสมาคม ให้คณะกรรมการบริหารเรียกว่า มหาคณิสรมาช่วยสนองงาน
ส่วนนักเรียนบาลี จะต้องศึกษาเล่าเรียน พระไตรปิฎก และอรรถกถา วิชาแปลมคธเป็นไทยและวิชาแปลไทยเป็นมคธ สามเณรที่ สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยคจะได้รับการอุปสมบทซึ่งอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ยากต่อการเล่าเรียน เพราะส่วนใหญ่เน้นการท่องจำ อย่างไรก็ตามรัฐได้รับรองเปรียญธรรม ๙ ประโยค ซึ่งเป็นเปรียญธรรมชั้นสูงสุดให้มีค่าเทียบเท่าชั้นปริญญาตรีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ พระภิกษุสามเณรจึงขาดความ สนใจในการศึกษาภาษาบาลี คณะสงฆ์ประสงค์จะให้รัฐรับรองเปรียญธรรม ๙ ประโยคให้มีค่าเทียมเท่าชั้นปริญญาเอก โดยพร้อมที่จะปรับปรุงหลักสูตรให้มีการเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาบาลี เราจะมีวิธีการอย่างไร ที่จะเรียนภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่ตายแล้วให้ง่ายขึ้น เหมือนสมัยก่อนโน้น ที่เรา สามารถใช้ภาษาบาลีพูดจาสื่อสารกันเองได้ในกลุ่มประเทศต่าง ๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ภาษาบาลีน่าจะถูกกำหนดให้เป็นภาษานานาชาติของกลุ่มประเทศนับถือพระพุทธศาสนา เหมือนภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาที่คนทั่วโลกใชสื่อสารกัน เช่น ในการประชุมเช่นนี้ เอกสารสิ่งตีพิมพ์น่าจะกำหนดเป็นภาษาบาลีได้ การจัดการศึกษาพระพุทธศาสนา แบบสมัยใหม่ในประเทศไทยนั้น ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ๒ แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่มีพระสงฆ์เป็นผู้บริหารสูงสุด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ได้รับงบประมาณ สนับสนุนจากรัฐบาลไทย จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก เปิดสอนทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มีการก่อตั้งโครงการหลักสูตรนานาชาติระดับบัณฑิตศึกษาสอนเป็นภาษาอังกฤษ โครงการหลักสูตรนานาชาตินี้ได้รับความ สนใจจากนักศึกษาและครูอาจารย์จากต่างประเทศ เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาและปรัชญาระดับสูงยิ่งขึ้นไป ถือว่าเป็นการรักษางานวิชาการ ที่เป็นเนื้อหาทางพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ เครือข่ายวิทยาเขตทั่วประเทศ ของมหาวิทยาลัยพยายามที่จะยกระดับการศึกษาและปฏิบัติธรรมในคณะสงฆ์ ตลอดทั้งผลิต พระสงฆ์ที่มีความสามารถ สอนพุทธธรรม ได้อย่างถูกต้องและบรรยายธรรมอย่างมีเหตุผล สอดคล้อง กับเหตุการณ์ร่วม สมัยและเรื่องราวปัจจุบัน อีกนัยหนึ่ง เราออกแบบหลักสูตรเพื่อผลิตพระสงฆ์ให้ สามารถจัดการปัญหาของชุมชนได้ ในโครงการหลักสูตรนานาชาติ เราต้องการครูอาจารย์ที่เชี่ยวชาญการ สอนเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งช่วยประเมินผลและตรวจวิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษ เราอยากให้มีการแลกเปลี่ยนครูอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาต่างประเทศกับสถาบันอื่น ๆ และเพื่อเป็นสะพานเชื่อมเครือข่ายทั่วโลก หลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาตั้งแต่ชั้นระดับประถมศึกษาตอนต้นถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้บรรจุพุทธประวัติ ชาดก พุทธธรรมพื้นฐาน และแนะนำพระไตรปิฎก รวมทั้งศัพท์สำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกด้วย หลักสูตรได้รับการออกแบบให้นักเรียน มีความเข้าใจเกี่ยวกับพระสงฆ์ หน้าที่ และบทบาทของพระภิกษุด้วย นอกจากจะมีคุณค่าทางด้านการศึกษาแล้ว เราเชื่อแน่ว่าหลักสูตรนี้จะส่งเสริมพระพุทธศาสนา โดยให้เด็กได้รับคำสอนที่มีค่า และจะปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา โดยประกันว่าเด็กจะได้รับการสอนพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง
วัดในประเทศไทย มี ๒ ประเภท คือ วัดป่ามีพระสายปฏิบัติทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่ง สายนี้เรียกว่าอรัญญวาสี และวัดบ้านที่มีพระภิกษุสามเณรศึกษาเล่าเรียน และจะเป็นทายาทบริหารงานคณะสงฆ์ ซึ่งสายนี้เรียกว่าคามวาสี การแยกวัดป่าออกจากวัดเมืองหมายความว่า มีพระภิกษุสามเณรที่ศึกษาเล่าเรียนแต่ไม่ใคร่ปฏิบัติธรรม และมีพระภิกษุสามเณรที่ปฏิบัติธรรม แต่ไม่ใคร่ศึกษาเล่าเรียน เราจึงพยายามที่จะรวมพระสงฆ์ทั้งสองสายนี้ โดยให้การปฏิบัติกรรมฐานเป็นวิชาบังคับแก่นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และจัดให้มีการปฏิบัติธรรมประจำปีโดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร เมื่อเราถือว่าการรักษาพระวินัยของพระสงฆ์และการรักษาศีล ๕ ของคฤหัสถ์ เป็นการปฏิบัติธรรมด้วยแล้ว เราจำเป็นยอมรับข้อเท็จจริงด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ทำให้ สังคมเกิดความแตกแยกและเกิดความเสื่อมทางด้านศีลธรรมส่วนตัวอย่างรวดเร็ว ชาวพุทธเองก็ไม่พ้นกฎข้อนี้ไปได้ และยังมีเรื่องฉาวโฉ่ทางกามโลกีย์ ความรุนแรง อาชญากร และการเสพย์ยาเสพติด ซึ่งส่อให้เห็นว่าพวกคฤหัสถ์เองก็ยังไม่สามารถรักษาศีล ๕ ได้อีกต่อไป จึงจำเป็นที่จะเรียกร้องให้ศีลธรรม และระเบียบวินัยในตนเองกลับคืนมา ข้อเท็จจริงที่ว่า ความเสื่อมทรามทางด้านศีลธรรมเกิดขึ้น เพราะความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วเป็นเครื่องชี้ว่า การเรียกร้องให้มีระเบียบวินัยในตนเองเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง ในฝ่ายเถรวาทมีสิ่งมากมายที่จะหยิบยกมาเป็นปัญหา สมัยปัจจุบัน แต่เราต้องมีความพยายาม ที่จะครุ่นคิด ตีความหมายใหม่ และใช้เหตุการณ์ปัจจุบัน ซึ่งสำหรับผู้เริ่มต้นในข้อนี้ ขอให้อ่านหนัง สือของข้าพเจ้าเรื่อง "ศีลธรรมในพระพุทธศาสนา" ข้าพเจ้าถือว่าการแก้ปัญหาสังคมก็เป็นการปฏิบัติธรรม ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสยืนยันว่า ความสะดวกสบายเป็นสิ่งจำเป็นในการฟังธรรม และเราก็สามารถปฏิบัติธรรมได้ไม่น้อยด้วยการพยายามแก้ปัญหา ความจำเป็นพื้นฐานของผู้อาจจะได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติธรรม คณะสงฆ์ไทยได้ลงมือปฏิบัติในข้อนี้มากมาย ยกตัวอย่าง เช่น ในภาคเหนือของไทย มีกิจกรรมสำคัญ ในการแก้ปัญหาการแพร่โรคเอดส์ ทั้งในด้านการต่อสู้โรคร้ายนี้โดยอาศัยการศึกษา และทั้งในด้านการเยียวยาปัญหาสังคมที่เกิดจากโรคเอดส์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินจัดบรรพชาเยาวชนภาคฤดูร้อน เพื่อช่วยให้เยาวชนห่างไกล จากยาเสพติด และอาชญากรรม และหันไปใช้ชีวิตที่ดีงามขึ้น นิสิตที่จะจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ต้องปฏิบัติศาสนกิจช่วยเหลือสังคมเป็นเวลา ๑ ปี และเรายังมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่นิสิตร่วมงานได้ เช่น โครงการพัฒนาชาวเขา และโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ประการแรก ธรรมเนียมนิยมในการเทศนา คือ พระสงฆ์นั่งบนธรรมาสน์และชาวบ้านนั่งบนพื้นพนมมือฟังธรรม ซึ่งเป็นลักษณะที่คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยชอบนัก และผลที่เกิดขึ้น คือมีเฉพาะคนแก่เท่านั้นที่เข้าวัดในวันพระ สถานการณ์ยิ่งหนักซ้ำเข้าไปอีก เพราะวันพระตรงกับวันทำงานและคนหนุ่มสาวมาวัดไม่ได้ มีพระธรรมเทศนาบ้างในวันอาทิตย์ แต่การไปวัดวันอาทิตย์ก็ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก คนมักพูดว่าไม่มีเวลาไปวัดและฟังธรรม ในการแก้ปัญหาวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้นำหลักเศรษฐศาสตร์มาจากหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ที่สอนเรื่องการพึ่งตนเองและทางสายกลาง ซึ่งพระองค์ทรงเรียกว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่ไม่เพียงแต่จะเป็นแผนการ ฟื้นฟูเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นแผนพัฒนาแบบยั่งยืนที่ขยายออกไปในการที่เศรษฐกิจจะหมุนต่อไปด้วยกัน จนพบกับความต้องการในระดับที่พอเพียงมากกว่า จะให้ระดับความมั่งคั่งที่มีความโลภเป็นตัวขับเคลื่อนเพิ่มมากขึ้น เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่ประชาชน และประเทศต่าง ๆ พอใจกับระดับความมั่งคั่งที่มีเหตุผล และความมั่งคั่งนั้นจะต้องไม่เกิดขึ้นจากความเสียหายของผู้อื่น ทุกคนมีพอที่จะยังชีพและพอที่จะดำรงชีวิตอยู่ ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนชาวพุทธทุกระดับ ตั้งแต่ระดับส่วนตัว ชุมชน และระดับชาติ ที่จะให้คืนกลับมาหาคุณค่าทางพระพุทธศาสนา และให้มีกิจกรรมและนโยบายทางเศรษฐกิจตั้งอยู่บนคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งในการที่ทรงปฏิบัติเช่นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงแสดงว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในโลกสมัยปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลมหาชนกชาดกเป็นพากย์ภาษาไทยและอังกฤษ โดยมีการปรับให้เข้ากับสังคมปัจจุบัน ตามท้องเรื่อง พระมหาชนก ทรงบำเพ็ญวิริยบารมีอย่างยิ่งยวด ไม่ทรงประสงค์ผลตอบแทนอะไร ได้ทรงขึ้นครองราชย์และนำความรุ่งเรืองมาสู่พระราชอาณาจักร มหาชนกชาดกซึ่งจัดพิมพ์เมื่อปี ๒๕๓๙ เป็นหนังสือขายดีที่ สุด และเหมาะกับเวลาในการย้ำเตือน ให้คนไทยอดทนต่อวิกฤตทางเศรษฐกิจ และเพียรพยายามในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยอาศัยความเพียร ปัญญา และสุขภาพแข็งแรง ดังที่กล่าวมาแล้ว ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เราฝึกอบรมพระสงฆ์ให้ สามารถ สอนวิชาพระพุทธศาสนาตามโรงเรียนได้ เรายังจัดส่งนิสิตให้ออกไปฝึกปฏิบัติงานอยู่กับชาวบ้าน เราใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ทำคำสอนของพุทธเจ้าให้สืบค้นได้ง่ายทั่วโลกเพียงแค่คลิกเมาส์ ให้นิสิตได้ สนทนาแลกเปลี่ยน และร่วมมือกันจัดกิจกรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ ในปี ๒๕๔๓ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพร่วมจัดประชุม เพื่อการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาแห่งโลกครั้งที่ ๒ หรือที่เรียกกันว่า "การประชุมสุดยอดชาวพุทธ" ในประเทศไทย ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีผู้นำศาสนาระดับสูงจาก ๑๖ ประเทศซึ่งเป็นผู้แทนจากพระพุทธศาสนานิกาย สำคัญทั้งฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายานเข้าประชุมร่วมกัน ผู้นำศาสนาเหล่านี้มิเพียงพูดคุยกันเกี่ยวกับ วิธีการที่จะทำงานร่วมกันในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์สุขของมวลชนและให้ความร่วมมือกันในสิ่งที่จะก่อให้เกิดสันติภาพมั่นคง และทำให้มนุษย์ชาติและ สิ่งแวดล้อมดีขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น แต่ยังได้ลงนามรับรองกฎบัตรก่อตั้งการประชุมพุทธนี้ให้เป็นองค์กรถาวร ผูก สัมพันธ์ผู้นำพุทธทั่วโลกทำงานร่วมกันให้ธรรมบริการแก่มนุษย์ชาติอีกด้วย ในปีเดียวกันนั้นเอง ข้าพเจ้าพร้อมด้วยผู้แทนคณะสงฆ์ไทยได้เข้าร่วมในการประชุม สุดยอดของผู้นำศาสนาและจิตวิญญาณเพื่อสันติภาพโลกในสหัสวรรษ ณ หอประชุมใหญ่องค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ผู้นำระดับสูงจากศาสนาสำคัญทั่วโลกทั้งหมด มาพบปะกันในที่แห่งเดียวกัน เพื่อพูดคุยถึงหนทางและวิธีการก่อให้เกิดสันติภาพแก่โลก นอกจากนี้ ข้าพเจ้ายังได้ร่วมการประชุมซึ่งเป็นผลสืบเนื่องในปีถัดมาอีก ณ มหานครนิวยอร์ก เพื่อวางแผนปฏิบัติงานต่อไป และ พูดคุยวิธีการที่จะให้เป้าหมายของการประชุมสุดยอดเพื่อสันติภาพในปี ๒๕๔๓ นำมาปฏิบัติให้เกิดผล ผลก็คือการประชุมสภาผู้นำศาสนาโลกครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและการประชุมสุดยอดเพื่อสันติภาพโลกในสหัสวรรษร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ผู้แทนระดับสูงของศาสนาต่าง ๆ ในโลก ได้พบปะพูดคุยกัน พร้อมกับร่วมกันแสวงหาเส้นทางสู่สันติภาพ การบรรเทาความยากจน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้มีการลงนามรับรองกฎบัตรก่อตั้งสภาผู้นำศาสนาโลก ซึ่งประกอบด้วยศาสนาพุทธ ฮินดู เชน อิสลาม ยูดาย คริสต์ และศาสนาอื่น ๆ เป็นองค์กรถาวร ลักษณะสำคัญของ สภาผู้นำศาสนาโลกก็ เพื่อทำงานใกล้ชิด กับองค์การสหประชาชาติในประเด็นเหล่านี้ ในขณะเดียวกันต้องรักษาความเป็นองค์กรอิสระด้วย ที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เราได้จัดทำระเบียบว่าด้วย สถาบันการศึกษาในประเทศอื่น ๆ มาเป็น สถาบันสมทบกับมหาวิทยาลัยโดยมีประโยชน์ร่วมกันทั้ง สองฝ่าย เช่น วิทยาลัยพระพุทธศาสนาดองกุกชอนบอบในประเทศเกาหลีได้เข้ามาเป็น สถาบันสมทบกับเราเรียบร้อยแล้ว และวิทยาลัยพระพุทธศาสนาชินจูในไต้หวันได้ สมัครเข้ามาเป็นสถาบันสมทบอีกแห่งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ เรากำลัง สร้างเครือข่ายการศึกษาทางพระพุทธศาสนาในระหว่างประเทศและนิกายที่แตกต่างกัน ดังนั้น การ สนทนาแลกเปลี่ยนทางวิชาการจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกันถูกจัดให้มีขึ้นและรักษาความมีชีวิตชีวาไว้ และจะเป็นกระบวนการเชื่อมไมตรีระหว่างผู้คนซึ่งยังไม่รู้จักกันและบางทีก็เริ่มจะเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
ในการโต้ข้อกล่าวหาของศาสนาคริสต์ที่กล่าวหาว่า พระพุทธศาสนาไม่สนใจปัญหาสังคมนั้น เราจะต้องจำไว้ว่า ชาวพุทธได้ สร้างโรงพยาบาลและทำสาธารณประโยชน์อื่น ๆ มาก่อนที่ สิ่งคุกคามอย่างมากต่อพระพุทธศาสนาก็คือภัยภายในพระพุทธศาสนา จากการที่พระสงฆ์ที่ไม่ยอมปฏิบัติตามพระวินัย การล่วงละเมิดของพระเหล่านี้ เป็นเหตุให้ภายในคณะสงฆ์ เองกลับเลวร้ายลงยิ่งขึ้น ทั้งคอยเป็น สนิมกัดกร่อนอำนาจของพระสงฆ์ในหมู่คฤหัสถ์ และกลับเป็นกระสุนแก่ผู้เป็นปรปักษ์ต่อพระพุทธศาสนา เราต้องค้นหาหนทางที่จะแก้ปัญหานี้ให้ได้
ข้าพเจ้ารู้ สึกเป็นหนี้บุญคุณอย่างมากต่อคณะสงฆ์ศรีลังการุ่นเก่าที่ในสมัยก่อนโน้น นำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ที่ประเทศไทยและข้าพเจ้าขออนุโมทนาประชาชนชาวศรีลังกา ในการพิทักษ์รักษาเชื้อสายของ ยาโม ปาลีมหานิกาย อย่างไม่ขาดสายเป็นเวลานานถึง ๒๕๐ ปี |
(ที่มา: ปาฐกถา ณ เมือง โคลัมโบ ประเทศศรีลังกา) |