บทความวิชาการ
การประกันคุณภาพการศึกษา : ความเหมือนที่แตกต่างกรณีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
19 ส.ค. 59 | พระพุทธศาสนา
800

ผู้แต่ง :: สนธิญาณ รักษาภักดี

สนธิญาณ รักษาภักดี (2553)

บทนำ

       “การประกันคุณภาพการศึกษา” เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
       ถือว่าเป็นกฎหมายแม่บทในการจัดการศึกษาของชาติ อย่างน้อย ๕ มาตราที่พูดถึงเรื่องประกันคุณภาพการศึกษาในด้านต่าง ๆ ที่ผู้บริหารสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งจะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ และจะต้องดำเนินการ ประกอบด้วย
        ด้านการวางระบบประกันคุณภาพ
        ด้านการดำเนินการและด้านการประเมินคุณภาพ 
นอกจากนั้น กฎหมายฉบับนี้ยังกำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้น เพื่อ
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพ
ภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก โดยกำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถาน
ศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภาย
ในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังจะต้อง
จัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อ
สาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกัน
คุณภาพภายนอก เพื่อให้เป็นไปตามหลักการดังกล่าว ยังกำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและ
ประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมิน
คุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของ
สถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับ  
ดูเนื้อหาฉบับเต็ม

 

(ที่มา: สารนิพนธ์ ปี ๒๕๕๓)