บทความวิชาการ
การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดขอนแก่น(การบริหารการศึกษา), พระปลัดอภิสิทธิ์ ธีรปญฺโญ (เล็กภิญโญ)
04 เม.ย. 61 | สารนิพนธ์
1757

ผู้แต่ง ::

ชื่อผู้วิจัย :พระปลัดอภิสิทธิ์ ธีรปญฺโญ (เล็กภิญโญ)ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๐๔/๒๐๑๘
ปริญญา :พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 พระครูสโมธานเขตคณารักษ์
 ธีระศักดิ์ บึงมุม
 -
วันสำเร็จการศึกษา :๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดขอนแก่นในปีการศึกษา ๒๕๖๐ จำนวน ๑๘๘ รูป/คน ซึ่งได้จากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (R. V. Krejcieand D.W. Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .๙๙ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test แบบIndependent Sample) และการ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test แบบ One-Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

             ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำของผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดขอนแก่น ในภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยในการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการบริหารตามหลักธัมมัญญุตา รองลงมา คือ ด้านการบริหารตามหลักกาลัญญุตา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติต่ำสุด คือ ด้านการบริหารตามหลักปุคคลปโรปรัญญุตา

 

             ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ในสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานของกลุ่มตัวอย่าง  โดยภาพรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน

                   ข้อเสนอแนะแนวทางการภาวะผู้นำของผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษาในจังหวัดขอนแก่น ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดและพัฒนานโยบายด้านการบริหารตามหลัก อัตตัญญุตา และด้านการบริหารตามหลักอัตถัญญุตา ให้ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาให้มีประสิทธ์ภาพมากยิ่งขึ้นอันจะนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาที่ยั่งยืนต่อไป เพื่อเป็นข้อสนเทศในการพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาโดยกำหนดแผนพัฒนานโยบายที่เน้นให้ยึดถือและปฏิบัติตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ด้านธัมมัญญุตา อัตถัญญุตา และด้านการบริหารตามหลักกาลัญญุตา เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธ์ภาพและประสิทธ์ผลยิ่งขึ้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดและพัฒนานโยบายด้านการส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรมให้แก่บุคลกรของตนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาทางด้านจิตใจไปพร้อมกับการพัฒนาทางด้านการศึกษาให้เจริญเคียงคู่กันไป เพราะถือว่า ดี มีสาระ น่าสนใจต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรจัดนะโยบายส่งเสริมเพื่อที่จะได้ทำให้ ผู้บริหาร ครูและนักเรียนได้มีทักษะในการปฏิบัติตนอย่างชัดเจนขึ้น ซึงคาดว่าจะเป็นประโยชน์และส่งผลดีมากต่อการพัฒนาและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆสามารถนำไปปรับใช้เข้ากับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดีในการบริหารชีวิต บริหารตนและบริหารงานให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป