พระพรหมวัชรธีราจารย์, ศ.ดร.
อธิการบดี
035-248-000 ต่อ 8031
พระพรหมวัชรธีราจารย์ ฉายา สมฺมาปญฺโญ
วัดปากน้ำ แขวงปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท
เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ ณ วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร โดยมี
พระธรรมธีรราชมหามุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูภาวนานุวัตร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระ
ครูอุปถัมภ์ธรรมกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ
รองแม่กองบาลีสนามหลวง
รองเจ้าคณะภาค ๕
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สถานะเดิม
ชื่อ สมจินต์ นามสกุล วันจันทร์ เกิดวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๓
ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
การศึกษา
เปรียญธรรม ๙ ประโยค (ป.ธ.๙) สำนักเรียนวัดปากน้ำ
ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Ph.D. Pali & Buddhis Studies Banaras Hindu University ประเทศอินเดีย
ประสบการณ์ทำงาน
เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สำนักเรียนวัดปากน้ำ
เป็นเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง
เป็นเลขาธิการสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก
เป็นวิทยากรบรรยาย โครงการอบรมครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จัดโดยสำนักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติร่วมกับกองบาลีสนามหลวง
เป็นวิทยากรบรรยาย โครงการอบรมพระธรรมทูต จัดโดยสำนักงานพระพุทธศาสนา
แห่งชาติร่วมกับกองงานพระธรรมทูต
เป็นกรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวง
เป็นกรรมการยกร่าง-ตรวจร่างเฉลยข้อสอบประโยคบาลีสนามหลวง วิชาแปลมคธเป็นไทย
ชั้นประโยค ๑-๒
เป็นคณะทำงานตรวจต้นฉบับพระไตรปิฎก (พระสุตตันตปิฎก) ฉบับเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี
เป็นอาจารย์สังกัดภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มจร.
เป็นรักษาการผู้อำนวยการกองวิชาการ มจร.
เป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มจร. ๒ สมัย
เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มจร. ๓ สมัย
เป็นอธิการบดี มจร. ตั้งแต่วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๑ ถึงปัจจุบัน
ตำแหน่งทางวิชาการ
ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์(ผศ.) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๔๒
ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองศาสตราจารย์(รศ.) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๕๐
ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์(ศ.) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๕๖
สมณศักดิ์
ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระศรีคัมภีรญาณ พ.ศ.๒๕๕๑
ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชปริยัติกวีพ.ศ.๒๕๕๙
ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพวัชรบัณฑิต พ.ศ.๒๕๖๔
ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมวัชรบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๖๔
ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ที่ พระพรหมวัชรธีราจารย์พ.ศ. ๒๕๖๗
ผลงานทางวิชาการ
งานวิจัย
-บูรณาการพุทธธรรมเพื่อเพิ่มพลังบริหาร พ.ศ.๒๕๕๒
-วิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา พ.ศ.๒๕๕๕
-พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๖ - พ.ศ.๒๕๕๙ (พระศรีคัมภีรญาณ และคณะ)
-การศึกษาวิเคราะห์แก่นธรรมจากชาดก พ.ศ.๒๕๖๐ (พระราชปริยัติกวี และคณะ)
หนังสือ
-คันไถ ปากกา และศาสตราจารย์ พ.ศ.๒๕๖๓
-วาดชีวิตลิขิตธรรม พ.ศ.๒๕๖๔
-๓๕ ปี เคยลิขิต สะท้อนคิด สะท้อนธรรม พ.ศ.๒๕๖๔
-ไตรสิกขากับการพัฒนาชีวิต พ.ศ.๒๕๖๒
-สันติวิธีในวิถีชีวิต พ.ศ.๒๕๖๓
-พระพุทธศาสนามหายานในอินเดีย : พัฒนาการและสารัตถธรรม พ.ศ.๒๕๖๒
-พุทธปรัชญา พ.ศ.๒๕๕๖
-ปรัชญาโลก พ.ศ. ๒๕๖๑
-ปรัชญาแห่งความรัก พ.ศ.๒๕๕๑
-พระพุทธศาสนา : ปรัชญา-สังคม พ.ศ.๒๕๕๑
-เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้ พ.ศ๒๕๕๑
งานแปล และงานแปลเรียบเรียง
-พัฒนาการแห่งพุทธจริยศาสตร์. เอกสารเย็บเล่ม พ.ศ.๒๕๓๗
-พัฒนาการแห่งความคิดแบบอินเดียโบราณ. เอกสารเย็บเล่ม พ.ศ.๒๕๓๖
-กรรมและการเกิดใหม่. เอกสารเย็บเล่ม พ.ศ.๒๕๓๗
-พุทธตันตระเบื้องต้น. เอกสารเย็บเล่ม พ.ศ.๒๕๓๖
-ปรัชญาแห่งนาครชุน. เอกสารเย็บเล่ม พ.ศ.๒๕๓๗
-พระพุทธศาสนามหายาน. เอกสารเย็บเล่ม พ.ศ.๒๕๓๗
-พระพุทธศาสนาในจีน ทิเบต เวียดนาม ญี่ปุ่น พ.ศ.๒๕๕๑
-วิมุตติมรรค (เป็นผู้ร่วมแปล) พ.ศ. ๒๕๓๘
-คัมภีร์มหายาน ลังกาวตารสูตร พ.ศ.๒๕๖๐
-อารยธรรมพุทธศาสนาในทิเบต พ.ศ.๒๕๔๗
ตำรา
-คู่มือประกอบการศึกษาวิชาแปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.๕ พ.ศ.๒๕๒๙
-คู่มือการเรียนการสอนวิชาแปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.๕ พ.ศ.๒๕๓๓
บทความทางวิชาการ (เฉพาะตีพิมพ์เผยแพร่)
-บทวิเคราะห์วัชรยาน ตอนที่ ๑-๕ (ตีพิมพ์ในนิตยสารพุทธจักร)
-ชีวิตและงานของนางวิสาขา (ตีพิมพ์ในหนังสืองานทอดกฐินวัดปากน้ำญี่ปุ่น)
-ผ้าในพระพุทธศาสนา (ตีพิมพ์ในหนังสืองานทอดกฐินพระราชทานวัดปากน้ำ)
-พระบรมสารีริกธาตุกับคนไทย (ตีพิมพ์ในหนังสืองานทอดกฐินพระราชทานวัดปากน้ำ)
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในคัมภีร์เถรวาท (ตีพิมพ์ในหนังสืองานทอดกฐินพระราชทานวัดปากน้ำ)
-พัฒนาการวัดในพระพุทธศาสนา (ตีพิมพ์ในหนังสืองานทอดกฐินพระราชทานวัดปากน้ำ)
-กำเนิดและพัฒนาการแห่งพระพุทธรูป (ตีพิมพ์ในหนังสืองานทอดกฐินพระราชทานวัดปากน้ำ)
-เจดีย์ในพระพุทธศาสนา (ตีพิมพ์ในหนังสืองานทอดกฐินพระราชทานวัดปากน้ำ)
-ปรัชญามาธยมิกะ (ตีพิมพ์ในหนังสืองานฉลองครบรอบ ๕๐ ปี อุดมศึกษา มจร)
-สืบค้นตรรกวิทยาในพระไตรปิฎกและวรรณกรรมพระพุทธศาสนา (ตีพิมพ์ในหนังสือสารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต)
-วิพากษ์ทางสายกลางของอริสโตเติลกับมัชฌิมาปฏิปทาในพระพุทธศาสนาเถรวาท(ตีพิมพ์ในหนังสือสารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต)
-พระวินัย : กฎเกณฑ์และคุณค่าทางสังคม (ตีพิมพ์ในหนังสือสารนิพนธ์พุทธศาสต์บัณฑิต)
-กรรมฐานในพระพุทธศาสนา : บทเรียนจากมหาสติปัฏฐานสูตรและความนิยมในสังคมไทย (ตีพิมพ์ในงานวิสาขบูชาโลก พ.ศ.๒๕๖๑)
-การศึกษาสงฆ์สมัยพุทธกาล (ตีพิมพ์ในวารสารศาสนศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม พ.ศ.๒๕๖๒)
-การศึกษาในทรรศนะของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : วิเคราะห์จากหนังสือ “ทางสายกลางของการศึกษาไทย” (ตีพิมพ์ในวารสารศาสนศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม พ.ศ.๒๕๖๓)
-ความเข้มแข็งของสถาบันสงฆ์ : ปริมาณหรือคุณภาพ (ตีพิมพ์ในงานเสวนาทางวิชาการที่จังหวัดกาญจบุรี จัดโดยศูนย์พุทธศาสตร์ศึกษา จุฬาฯ)
-นิพพาน : อัตตาหรืออนัตตา
-วิพากษ์แนวคิด : พระพุทธศาสนาสำหรับโลกหลังยุคใหม่
-พระพุทธศาสนาแบบทิเบต : วิเคราะห์มันตระ “โอมมณีปัทเมหูม”
-พระพุทธศาสนากับมังสวิรัติ
-พุทธวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยกรอบแห่งอธิกรณสมถะ ๗ : ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา และติณวัตถารกวินัย
-ไตรสิกขาในฐานะวิธีการพัฒนาชีวิตเชิงบูรณาการ
-การุณยฆาต : ข้อเท็จจริงและทางออกในทัศนะทางพระพุทธศาสนา