วันที่ 17 ต.ค. 66 พระสุธีรัตนบัณฑิต คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ วารสาร Journal of International Buddhist Studies : JIBS ของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับการขึ้น สู่ฐานวารสารข้อมูล SCOPUS นับว่าเป็นวารสารฉบับแรกของมหาจุฬาฯ และเป็นวารสารทางพระพุทธศาสนาฉบับแรกของไทยที่ได้รับการยอมรับในฐานวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติของ SCOPUS ซึ่งตนเองในฐานะเป็นผู้หนึ่งที่ ริเริ่มทำตรงนี้ ภูมิใจอย่างยิ่ง ร่วมทั้งขอแสดงความยินดีกับสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ผลักดันวารสารทางวิชาการ Journal of International Buddhist Studies : JIBS จนได้รับการยอมรับจากวารสารระดับนานาชาติของ SCOPUS ซึ่ง SCOPUS เป็นฐานข้อมูลทางวิชาการนานาชาติที่ทั่วโลกยอมรับ โดย SCOPUS มีฐานข้อมูลบรรณานุกรมและบทคัดย่อ ครอบคลุมภาพรวมผลงานวิจัยทั่วโลกในเนื้อหาในลักษณะสหสาขาวิชา ทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเป็นฐานข้อมูลการอ้างอิงและอ้างถึง (Citation Database) ให้ข้อมูลการอ้างอิงผลงานวิจัยและพัฒนา ใช้เป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งในการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยวิชาการ (Research Performance Assessment) พัฒนาและให้บริการโดยสำนักพิมพ์ Elsevier B.V. ประเทศเนเธอร์แลนด์ เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2547 โดย Scopus ให้บริการข้อมูลบรรณานุกรมและบทคัดย่อในฐานข้อมูล จำนวนมากว่า 77 ล้านรายการ ครอบคลุมเอกสารและแหล่งข้อมูลประเภทต่างๆ ดังนี้
วันที่ 14 ตุลาคม 2566 เวลา 15.00 น. อาจารย์ ดร.สุวรา นาคยศ อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา ประธานที่ปรึกษาชมรมเซปักตะกร้อได้มอบทุนสนับสนุนในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2566 ให้กับชมรมเซปักตะกร้อ จำนวน 80,400 บาท ในโอกาสนี้ ผศ.ดร.บุญมี พรรษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ประธานชมรมเซปักตะกร้อ ดร.วีระพงษ์ แพงคำฮัก หัวหน้าภาควิชาหลักสูตรและการสอน ผู้บริหาร คณาจารย์ของภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ พร้อมหัวหน้าทีมโค้ช ผู้ฝึกสอนตะกร้อและนักกีฬาตะกร้อเข้ารับมอบทุนสนับสนุนการแข่งขันกีฬาในครั้งนี้โดยพร้อมเพียงกัน
วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๓๐ น. เป็นต้นไป ณ อาคารวิปัสสนาธุระ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) ชั้น ๒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป พร้อมผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ฝ่ายคฤหัสถ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมวางพวงมาลาเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และกล่าวคำน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
สถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขอเชิญนิสิตบัณฑิตศึกษาและประชาชนทั่วไปร่วมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ครั้งที่ 2 ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 5 พระองค์ผู้ทรงสถาปนามหาจุฬา (เนื่องในวันปิยะมหาราช) ระหว่างวันที่ 21-24 ตุลาคม 2566 ณ อาคาร 72 ปี พระวิสุทธาธิบดี (หอฉันชั้น 4) สถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ต้อนรับผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แสดงความยินดี เนื่องในโอกาสที่ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และปรึกษาหารือเกี่ยวกับการพัฒนางานวิจัย
น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ พระธรรมวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดี เป็นประธานในพิธี โดย รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป พร้อม ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ฝ่ายคฤหัสถ์ ร่วมวางพวงมาลาเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันนวมินทรมหาราช
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ พระอาจารย์จีนราชธรรมานุสิฐ (เจ้าคุณฝ่าเจ้า) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว สาธารณรัฐสิงคโปร์ มอบอุปกรณ์การศึกษาแก่เด็กนักเรียนในพื้นที่ตำบลวาวี สังกัด สพป.เชียงราย เขต ๒
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เตรียมรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ มีคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
International Buddhist Studies College/IBSC Mahachulalongkornrajavidyalaya University passed Education Criteria for Performance Excellence (EdPEx200), Office of Permanent Secretary, Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation.
พระธรรมวัชรบัณฑิต ได้กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รู้สึกยินดีเป็นอย่างที่ได้จัดงานวันกตัญญูเพื่อแสดงน้ำใจและมิตรไมตรีต่อท่านบุพการี บางท่านทำงานมาแล้ว 30 กว่าปี บางท่านอาจน้อยกว่า 30 ปี แต่พวกท่านทุกรูป /คน เป็นคนสำคัญของมหาวิทยาลัยที่ร่วมช่วยกันพัฒนาส่งเสริมและผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พวกท่านได้ทำ หิตประโยชน์ โดยใช้ความรู้ ความข้าใจ ในพันธกิจขององค์กร สอง พวกท่านได้อาศัยความรู้ ความเข้าในการปฎิบัติงานภายใต้กฎระเบียบ กฎหมาย และกฎเกณฑ์ขององค์กร และสามพวกท่านได้ใช้ความรู้ ความสามารถในการทำงานร่วมกับคนอื่นได้ อันนี้ถือว่าเป็น หิตประโยชน์ ในส่วนของปรหิตประโยชน์ ที่ว่าด้วย ประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น พวกท่านในฐานะบุพการีชน ได้สร้างองค์ความรู้ ภูมิความรู้ให้นักศึกษาตลอดมา ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงฆ์ของเรามีคุณพิเศษไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ นอกจากเราให้ความรู้ด้านวิชาชีพกับพวกเธอเหล่านั่นแล้ว เราได้ให้ความรู้ภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เราเรียกกว่า วิชาวิปัสสนาด้วย เพื่อฝึกจิตใจให้อดทน อดกลั้นต่ออารมณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ตรงนี้คือความพิเศษของมหาวิทยาลัยของพวกเรา..”