ตารางปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สำหรับนิสิตศึกษาและประชาชนทั่วไป ประจำปีงบประมาณ 2566
วันกตัญญู รำลึกถึงคุณูปการผู้เกษียณอายุการทำงาน ประจำปี ๒๕๖๕
ตารางปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษาและประชาชนทั่วไป ประจำปีงบประมาณ 2566
วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๑๕.๒๙ น. เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เมตตาให้โอกาส พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เข้าน้อมถวายสักการะ รายงานตนต่อเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เนื่องในโอกาสที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ณ ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๗ (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร) คณะเหนือ น.๑๖ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
สรุปประเด็น ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ปฏิรูปอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา" โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้จัดงานทางวิชาการฉลองในโอกาสครบรอบ 135 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย เมื่อพ.ศ.2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงเสด็จประภาสยุโรปพระองค์ก็ทรงเอาแบบอย่างในการพัฒนาประเทศมาใช้ในประเทศไทย ทรงยกระดับการพัฒนาในทุกๆด้านรวมทั้งระบบการศึกษาในแบบสมัยใหม่ด้วย ทรงเห็นถ้าจะพัฒนาอะไรให้เริ่มที่คน คนหรือประชากรเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างแท้จริงและเมื่อจัดการศึกษาให้พสกนิกรได้ศึกษาเล่าเรียนเพื่อพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศตามแบบอย่างนานาอารยประเทศแล้ว ในส่วนของคณะสงฆ์คือพระสงฆ์สามเณรจะทำอย่างไร เมื่อชาวบ้านมีความรู้ มีการศึกษาที่ดีแล้วพระสงฆ์สามเณรก็ควรที่จะได้รับการดูแลเอาใจใส่และได้รับพระบรมราชูอุปถัมภ์ด้วยเช่นกัน ไม่เช่นนั้นแล้วพระสงฆ์จะไปเทศน์ ไปสอนชาวบ้านให้เขาเคารพนับถือได้อย่างไร จึงถือเป็นบ่อเกิดและแนวคิดในการสถาปนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะสงฆ์ไทย
เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๕ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า เป็นผู้ดำเนินรายการงานสัมมนาทางวิชาการระดับสถาบันผ่านออนไลน์ จัดโดย สถาบันพระไตรปิฎกศึกษา ร่วมกับ ๑๐ สถาบันการศึกษา โดยมี พระศรีศาสนบัณฑิต, ผศ. ผู้อำนวยการสถาบันพระไตรปิฎกศึกษา มจร กล่าวรายงานในงานสัมมนาทางวิชาการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้จากพระไตรปิฎกสู่สาธารณชน พร้อมนำองค์ความรู้จากพระไตรปิฎกไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน สังคมประเทศ สิ่งสำคัญยิ่งเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญด้านพระไตรปิฎกและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในวาระวันสถาปนาครบ ๑๓๕ ปี มจร
วันศุกร์ที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศาสตราจารย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประธานกรรมการสภาวิชาการ เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศล น้อมอุทิศถวาย พระเดชพระคุณพระพรหมวชิรเจดีย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พิษณุโลก ณ ศาลาบำเพ็ญกุศลวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
วันศุกร์ ที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. คณะผู้บริหาร เข้าร่วมประชุมสภาวิชาการ ครั้งที่ ๙/๒๕๖๕ โดยมีพระธรรมวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธาน ณ ห้องประชุมวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช จ.พิษณุโลก
วันพุธที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานการประชุมในการมอบภาระงาน ซึ่งมี ผศ.ดร.บุญมี พรรษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ วิทยาลัยพระธรรมทูต และกองวิเทศสัมพันธ์ เข้าประชุมอย่างพร้อมเพียงกัน ณ ห้องประชุมวิทยาลัยพระธรรมทูต มจร อยุธยา