www.weipinxgt.com www.hdf598.com www.rzkfqcg.com www.ywd100.com www.gzunitrade.com www.5aziyuan.com www.alsclean.com www.ynzsgc.com www.sdldtg.com www.i-sarima.com www.aijianbing.com www.xushiweigou.com www.haoyulongsp.com www.binqimotor.com www.kenminamipainting.com www.erli30.com www.cdhg88.com www.horse-home.com www.myjxzp.com www.dgselling.com www.chenlongjiancai.com www.zhongkuanwuliu.com www.huameide-sz.com www.shouxitongban.com www.scgcjx0207.com www.qdshengqian.com www.3w800.com www.kl-ad.com www.imshenghuo.com www.xxanlhw.com www.hfkaibo.com www.wlwservice.com www.jxguanghua.com www.zkld2009.com www.duanem.com www.hzwjzs.com www.chdlav.com www.lyxszl.com www.xinlaihuijiaju.com www.hrwholecare.com www.yingyang168.com www.honeywell-lk.com www.yushusanjiangyuanbao.com www.kangningyiyuan.com www.xzkjsxx.com www.jztushuguan.com www.gksswh.com www.jakjxx.com www.yyxlzw.com www.dwdzxx.com www.shszjzx.com www.skf-nsk-fag-ntn.com www.shanghailvhua.com www.yomandoors.com www.wenchengvote.com www.cn-sportsprotectors.com www.fuyixuantc.com www.jiayongdiant.com www.reshousuoj.com www.wuxitianzhile.com www.lsallx.com www.ravor-system.com www.jhbrq.com www.mirrvoll.com www.likekiwi.com www.hbclzqcj.com www.cqqfbxgm.com www.nmgdwjlw.com www.zmdjtzfw.com www.xunchengchaju.com www.gssx-pxgl.com www.sha-jing.com www.zysjmbj.com www.131701.com www.tlyhyy.com www.hbfbfz.com www.hljpadm.com www.fenxiangzhuan005.com www.jv001.com www.ruiyucnc.com www.zhuochenglaser.com www.zhaoshudeng.com www.facebook-france.com www.yuxianchu.com www.139yes.com www.lazonaentertainment.com www.eastofedens.com www.latelier-gourmet.com www.kaisyomaru.com www.tenglonghb.com www.bdsmfreevids.com www.gzshbzw.com www.ymgb0991.com www.setonohanayome.com www.attachmentmoms.com www.njmzyjg.com www.hi4r.com www.exotic-nails.com www.ef25.com www.lslcxx.com
ข่าวประชาสัมพันธ์
'นักศาสนา-ปรัชญา'แนะปฏิรูปปชช.คู่การเมือง
04 พ.ค. 57 | ข่าวมหาวิทยาลัย
232
ข่าวมหาวิทยาลัย
'นักศาสนา-ปรัชญา'แนะปฏิรูปปชช.คู่การเมือง
วันที่ ๐๔/๐๕/๒๐๑๔ เข้าชม : ๒๙๔๙ ครั้ง

'นักศาสนา-ปรัชญา'ลงจากหิ้ง แนะปฏิรูปปชช.คู่การเมืองฟื้นพระราชธรรม : สำราญ สมพงษ์รายงาน

               ความจริงแล้วศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต ด้วยวัย 85 ปี ได้สร้างคุณูปการให้กับชาติและศาสนามามากมาย ควรจะพักผ่อนให้สบายในบั้นปลายชีวิต ส่งไม้ต่อให้คนรุ่นหลังดูแลบ้านเมืองต่อไปโดยไม่ต้องกังวัล

               แต่ในภาวะที่บ้านเมืองไทยกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ การเมืองแบ่งเป็น 2 ขั้วประจันหน้ากัน บางครั้งก็วุ่นวายบางครั้งก็ใกล้จลาจล บางครั้งก็เฉียดฉิวกับการเป็นสงครามกลางเมือง ดำเนินมาอย่างนี้ต่อเนื่อง 7 ปีแล้ว ยังไม่เห็นทางออกและจุดจบจะเป็นอย่างไร

               ด้วยความห่วงใย ในฐานะที่ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์เป็นนักศาสนาและปรัชญาคลุกคลีกับการเมืองมา บ้างเป็นถึงสมาชิกวุฒิสภา ประกอบกับอาจารย์เป็นราชบัญบัณฑิตจึงได้มีแนวความคิดว่าจะนำหลักทั้งสองด้าน นี้มาเป็นแสงสว่างให้กับการเมืองและสังคมไทยได้อย่างไร จึงเกิดการปาฐกถาราชบัญฑิตสัญจรเรื่อง "บทบาทของศาสนาและปรัชญาต่อการปฏิรูปสังคมและการเมืองไทยปัจจุบัน" ขึ้นที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 2 พ.ค.2557 โดยอาศัยโอกาสจัดงานวันจำนงค์ ทองประเสริฐ และวันอายุวัฒนมงคล 85 ปี ที่ชาว มจร จัดต่อเนื่องมาครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 12 แล้ว

               ได้เชิญนักศาสนาและปรัชญาทั้ง 3 ศาสนาและคือพุทธ คริสต์ และอิสลามมาร่วมแสดงความคิดเห็นในเชิงวิชาการ พร้อมเสนอผลงานประกอบและจัดพิมพ์รวมเป็นหนังสือชื่อ "พุทธศาสตร์ศึกษากับประชาคมอาเซียน" แจกให้กับผู้มาร่วมงาน ง่ายต่อผู้มีหน้าที่นำแนวคิดไปประยุกต์ใช้


อธิการบดี"มจร"แนะปฏิรูปปชช.คู่การเมืองฟื้นพระราชธรรม


               เริ่มจากพระพรหมบัณทิต อธิการบดี มจร ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ได้ปาฐกถานำความว่า เวลานี้มีการพูดกันมากถึงคำว่า "ปฏิรูป" คือการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้นตรงกับศัพท์ทางศาสนาก็คือ "ปฏิสังขรณ์"  โดยจะต้องอาศัยความอดทนและเวลา ไม่เหมือนกับคำว่า "ปฏิวัติ" ที่ทำได้ง่ายกว่าเพราะใช้กำลัง

                "ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาถึงขณะนี้ 82 ปีแล้วก็ยังพูดเรื่องปฏิรูปกันอยู่ไม่รู้จบ ความจริงน่าจะเลิกพูดกันได้แล้วเดินหน้าต่อไป เพราะการเมืองไทยมีประสบการณ์มามากแล้ว และที่เป็นอยู่ทุกวันนี้จะโทษนักการฝ่ายเดียวคงไม่ได้ต้องโทษประชาชนด้วย  ดังนั้นหากจะมีการปฏิรูปการเมืองก็จะต้องมีการปฏิรูปประชาชนด้วยเช่นกัน เพราะประชาชนเป็นอย่างไรนักการเมืองก็เป็นเช่นนั้น จะทำอย่างไรให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม ทำให้เสียงประชาชนให้เป็นเสียงสวรรค์ให้ได้ ส่วนจะปฏิรูปก่อนหรือหลังนั้นก็ว่าตามความเหมาะสม" อธิการบดี มจร กล่าวและว่า

                การเมืองนั้นต้องนำหลักศาสนาและปรัชญาเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะว่าเมื่อมีการถ่ายโอนพระราชอำนาจมาสู่ประชาชนแล้ว แต่ไม่ได้ถ่ายโอนพระราชธรรมมาด้วย จึงมีการพูดกันแต่เรื่องพระราชอำนาจแต่ไม่พูดถึงพระราชธรรม จึงเป็นเหตุให้การเมืองถูกกล่าวหามีการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งพระราชธรรมนั้นก็คือหลักศาสนาและปรัชญานั้นเอง  ดังนั้นการปฏิรูปการเมืองต้องไปฟื้นพระราชธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งราชธรรมในรา ชวงศจักกรี แม้นแต่หลักธรรมในพระพุทธศาสนาก็คือทศพิธราชธรรม

                พระพรหมบัณฑิต กล่าวด้วยว่า ดังนั้นศาสนาปรัชญาจะช่วยสังคมอย่างไรนั้นก็คือต้องเอาหลักธรรมในคัมภีร์ออก มาเป็นหลักของชาติให้ได้ อย่างเช่นพระบรมราโชวาทที่ว่า "จงเลือกคนดีเข้ามาปกครองบ้านเมือง" นั้นก็มีการทำวิจัยมามากแล้ว "มจร" เองก็มีวิทยานิพนธ์อยู่มาก ก็ต้องนำมาดูว่ามีผลกระทบต่อสังคมหรือไม่ มีใครเอาไปพูดเอาไปเขียนหรือไม่ นำไปบัญญัติในกฎหมายหรือไม่  หากไม่มีก็ถือว่าไม่บทบาทต่อการปฏิรูปการเมือง หากยังอยู่ในหิ้งหรือในตู้ ก็เท่ากับว่าไม่สามารถแปรหลักศาสนาปรัชญาให้มีฤทธิเดชอะไร

 

แนะเรียนปรัชญาโดยเฉพาะนักการเมือง

                อธิการบดี มจร  กล่าวถึงหลักปรัชญาว่า ก็คือความเชื่อที่ตกผลึกหรือเรียกว่า "โลกทัศน์" ที่มีอยู่กันทุกคน แต่ไม่ได้เรียกว่าเป็นนักปรัชญาเพราะว่าไม่มีระบบความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล สามารจตรวจสอบได้ จึงทำให้ความเชื่อนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานเพียงศาสนาเท่านั้น แต่ถ้าหากมีเหตุผลรองรับจึงเรียกว่าความเชื่อนั้นเป็นนักปรัชญา

                "เมืองไทยหากมีการเรียนปรัชญากันมากๆก็จะไม่การะเลาะกันเหมือนทุกวันนี้และ เจริญไปนานแล้ว   เพราะนักปรัชญานั้นไม่มีใครที่พูดเหมือนกันแต่เขาไม่ทะเลาะกัน นักการเมืองเองหากเป็นนักปรัชญาด้วยก็จะฉลาดมากกว่านี้" พระพรหมบัณฑิต กล่าวและว่า

                เมืองไทยเป็นวิภัชชวาทีไม่ได้ยึดแนวทางใดทางหนึ่งถูกตรงตามหลักพระพุทธศาสนา ที่เป็นศาสนาแห่งปัญญา หากนักการเมืองนำมากำกับแล้วและเดินทางสายกลาง  ก็จะสามารถคุยกันได้ปรับความคิดเข้าหากันแล้ว การเมืองก็จะเดินหน้าไปได้ แล้วก็จะเห็นบ้านเมืองมีความสุขด้วย "สุขา สังฆัสสะ สามัคคี"

 

"กีรติ บุญเจือ"จี้ผู้ตรวจการแผ่นดินปรับบทบาทให้ชัด

                ขณะที่นายกีรติ บุญเจือ ราชบัญฑิต อดีตอาจารย์จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย นักวิชาการศาสนาคริสต์และปรัชญา กล่าวว่า สังคมไทยปัจจุบันนี้มีปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่ร้ายแรง แต่ก็ไม่มีการกำหนดให้ชัดเจนว่าอะไรคือเรื่องร้ายแรง จนทำให้เรื่องความขัดแย้งทางสังคมรุกลามบานปลายก็ยังไม่รู้เลยว่าเป็นเรื่อง ที่ร้ายแรงหรือไม่

                "นอกจากนี้รัฐธรรมนูญให้ความสำคัญกับคำว่า "จริยธรรม" มากกว่า "ศีลธรรม" เท่ากับเป็นการลดบทบาทของนักศาสนาและปรัชญาลง และเท่ากับเป็นการให้ความสำคัญกับนักการเมืองและนักกฎหมายละเลงบ้านเมืองให้ วุ่นวายอยู่ทุกวันนี้ ประกอบกับหลักสูตรที่เกี่ยวกับปรัชญานั้นตามมหาวิทยาลัยต่างๆก็กำหนดให้สอน เป็นวิชาเลือก ทั้งๆที่ศาสนาและปรัชญามีความสำคัญฝึกอบรมพลเมืองมีศีลธรรม" นายกีรติ กล่าว

               พร้อมกันนี้นายกีรติมีข้อเสนอแนะไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินโดยตรงโดยให้ศึกษา เป้าหมายทั้ง 4 ให้ชัดเจนคือการบริหารที่ดี การบังคับใช้กฎหมาย จริยธรรมและคุณธรรมว่า การบริหารปกครองประเทศต้องมี 4 เป้าหมายแบ่งหน้าที่กันชัดเจนและเชี่ยวชาญการปฏิบัติงานต่างกันคือนักกฎหมาย นักปรัชญา นักการศาสนา และนักรัฐศาสตร์ผู้ประสานงานระหว่าง 3 บทบาทแรกอย่างแนบเนียน จัดองค์กรให้มีประสิทธิภาพและสร้างความมั่นใจว่าการบังคับใช้กฎหมายต้องเป็น กฎหมาย


นักวิชาการศาสนาอิสลามแนะมองปชต.มุมวัฒนธรรม-จิตวิทยา

               ด้านนายพิเชษฐ์ กาลามเกษตร์ ราชบัญฑิต นักวิชาการศาสนาอิสลาม ก็มีความเห็นตรงกันว่า ต้องนำหลักศาสนธรรมเข้ามาสู่การเมือง เพราะความพยายามปฏิรูปการเมืองไทยปัจจุบันเน้นหนักประชาธิปไตยเชิงการเมือง หรือเชิงขั้นตอนวิธีการประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องและสำเร็จได้โดยตรงอาศัยมิติอื่นที่ ไม่ค่อยเป็นที่กล่าวถึงกันคือประชาธิปไตยในเชิง "วัฒนธรรม" หรือเชิง "จิตวิทยา"  และมีความเป็นห่วงอย่างมากที่คนในสังคมเริ่มรับได้กับการทุจริตคอร์รัปชั่น


แนะใชัหลักคิด"เดล คาร์เนกี"วิเคราะห์ปัญหา

               ส่วนนายบรรจบ บรรณรุจิ นักวิชาการพระพุทธศาสนา เห็นว่าวันนี้ทางออกของการเมืองไทยดูตีบตันเพราะยังมองไม่เห็นสาเหตุที่แท้ จริงว่ามาจากอะไร จริงๆแล้วสถานการณ์ที่เห็นอยู่อาจจะไม่ใช่ของจริงก็ได้ จึงเป็นภาระหน้าที่ของเราต้องหาสาเหตุที่แท้จริงให้ได้ว่ามันคืออะไร

               พร้อมกันนี้นายบรรจบจึงได้เสนอให้นำแนวคิดของ เดล คาร์เนกี มาวิเคราะห์ปัญหา คือ 1.ต้องเขียนปัญหา 1,2,3,ลงไปแล้วดูว่าแต่ละปัญหามาจากสาเหตุอะไร 2.เมื่อรู้ปัญหาและสาเหตุปัญหาแล้วต้องพิจารณาต่อไปว่าเราจะแก้ปัญหาไหน ก่อน-หลัง 3.ต้องหาวิธีว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร 4.พบแล้วลงมีปฏิบัติทันที ซึ่งก็สอดคล้องกับคำสอนในมรรคมีองค์ 8 คือเริ่มต้นจากการตั้งสติและพยายามใช้ปัญญาแก้ปัญหา

               "เราไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงนักการเมืองให้ถึงขั้นบรรลุธรรม แต่ต้องการเพียงแค่ให้ "จิตใจของเขามีธรรม" คือเห็นโทษและสาเหตุของการแตกแยก เห็นทางออกและวิธีจะช่วยให้ออกจากการแตกแยกทั้งหมดตรงตามความเป็นจริง แล้วช่วยกันคิดยุติความแตกแยกนั้นอย่างถูกต้อง ซึ่งก็ต้องสัมพันธ์กับการใช้ "สัมมาวาจา" คือพูดในทางให้เกิดความปรองดอง "สัมมากัมมันตะ" แสดงพฤติกรรมและ "สัมมาอาชีวะ" ดำเนินชีวิตมุ่งไปสู่ความปรองดอง" นักวิชาการพระพุทธศาสนาผู้นี้ตั้งความหวัง

               จะเห็นได้ว่าสังคมไทยไม่จนปัญญาที่จะหาทางออกให้กับประเทศ อยู่ที่ว่าเราจะตั้งสติร่วมกันแล้วแก้ปัญหากันอย่างที่นักศาสนาและปรัชญาแนะ หรือไม่ "เราหยุดแล้วท่านซิหยุดหรือยัง"

ที่มา : คมชัดลึกออนไลน์วันที่ 04-05-2557


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ขอขอบคุณ ดร.สุวรา นาคยศ อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มอบเงินจำนวน 500,000 บาท สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพฯ
    25 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    199
  • ขอเชิญลงทะเบียนเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลและพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗
    23 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    225
  • การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก สมศ. รอบสี่ ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    19 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    86
  • องคมนตรี เชิญหิรัญบัฏ พัดยศ ผ้าไตร และเครื่องยศสมณศักดิ์ ถวายแด่ พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.๙,ศ.ดร.) วัดปากน้ำ พระอารามหลวง
    18 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    98
  • คณะครุศาสตร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู รุ่นที่ 10 จัดโครงการเสริมความเป็นครูแก่นิสิตกิจกรรมไหว้ครู "ศิษย์น้อมวันทา บูชาคณาจารย์"
    07 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    273