รับสมัครด้วยตนเอง
๑ มีนาคม –๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙
สอบข้อเขียน
๒๓-๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙
สอบสัมภาษณ์
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙
ประกาศผลสอบคัดเลือก
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙
ขึ้นทะเบียนนิสิตและลงทะเบียนเรียน
๒๘-๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๙
วันเปิดเรียน
๓ มิถุนายน ๒๕๕๙
หมายเหตุ..นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากจากโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา รายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนิสิต และเลือกคณะ/สาขาวิชา ระหว่างวันที่ ๑๘ เมษายน – ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙
คณะและสาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร
คณะพุทธศาสตร์
สาขาวิชา พระพุทธศาสนา (๒๕ รูป/คน)
สาขาวิชา พระพุทธศาสนา (หลักสูตรนานาชาติ) (๒๕ รูป/คน)
สาขาวิชา ศาสนา(๒๕ รูป/คน)
สาขาวิชา ศาสนา(หลักสูตรนานาชาติ) (๒๕ รูป/คน)
สาขาวิชา ปรัชญา(๒๕ รูป/คน)
สาขาวิชา ปรัชญา(หลักสูตรนานาชาติ)(๒๕ รูป/คน)
สาขาวิชา ภาษาบาลีสันสกฤต(๒๕ รูป/คน)
คณะครุศาสตร์
สาขาวิชา สังคมศึกษา (๓๐ รูป/คน)
สาขาวิชา การสอนภาษาไทย (๓๐ รูป/คน)
สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษ (๓๐ รูป/คน)
สาขาวิชา การสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว(๓๐ รูป/คน)
คณะมนุษยศาสตร์
สาขาวิชา ภาษาไทย(๒๕ รูป/คน)
สาขาวิชา ภาษาอังกฤษ(๕๐ รูป/คน)
สาขาวิชา ภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ)(๑๐๐ รูป/คน)
สาขาวิชา พุทธจิตวิทยา(๓๐ รูป/คน)
สาขาวิชา จิตวิทยา(๓๐ รูป/คน)
คณะสังคมศาสตร์
สาขาวิชา รัฐศาสตร์(๕๐ รูป/คน)
สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์(๕๐ รูป/คน)
สาขาวิชา เศรษฐศาสตร์(๕๐ รูป/คน)
สาขาวิชา สังคมวิทยา(๒๕ รูป/คน)
สาขาวิชา สังคมสงเคราะห์ศาสตร์(๒๕ รูป/คน)
สาขาวิชา การจัดการเชิงพุทธ (รับเฉพาะบรรพชิต)(๕๐ รูป/คน)
สาขาวิชา นิติศาสตร์(๑๐๐ รูป/คน)
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา
๑. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรมหรือบาลีศึกษา ๓ ประโยค และต้องศึกษารายวิชาสามัญเพิ่มเติมตามที่
มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
๒. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรมหรือบาลีศึกษา ๓ ประโยค และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) หรือ
๓. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรมหรือบาลีศึกษา ๓ ประโยค และได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยอื่นรับรอง หรือ
๔. เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖)
๕. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรมหรือบาลีศึกษา ๙ ประโยค หรือ
๖. เป็นผู้สอบได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า หรือ
๗. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา หรือเทียบเท่า หรือ
หลักฐานการสมัคร
๑. สำเนาเอกสารการศึกษา จำนวน ๒ ชุด
๒. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๑ ชุด
๓. สำเนาหนังสือสุทธิ หรือบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง จำนวน ๑ ชุด
๔. รูปถ่ายขนาด ๑.๕ นิ้ว หน้าตรงไม่สวมแว่นดำ จำนวน ๒ รูป
๕. ค่าสมัคร จำนวน ๑๐๐ บาท
วิชาที่สอบคัดเลือก
พระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษ
ความรู้ความสามารถทั่วไป
สอบสัมภาษณ์
หมายเหตุ
- วิชาภาษาไทย (สำหรับผู้สมัครชาวต่างประเทศเรียนหลักสูตรไทย)
-วิชาวัดแววความเป็นครู (สำหรับผู้สมัครเรียนคณะครุศาสตร์)
สถานที่สอบคัดเลือก
อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
สถานที่ศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
เวลาศึกษา
เวลา ๐๙.๐๐ -๑๖.๐๐ น. (เรียนวันจันทร์-พุธ)
หยุดวันพระและวันอาทิตย์ (ในกรณีวันที่ปกติที่ตรงกับวันพระย้ายไปเรียนวันศุกร์แทน)
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
บรรพชิต เฉลี่ยต่อเทอม ๔,๓๐๐ บาท
คฤหัสถ์ เฉลี่ยต่อเทอม ๖๔,๐๐ บาท
ยกเว้นหลักสูตร นิติศาสตร์ และหลักสูตรนานาชาติ
สถานที่รับสมัครเรียน
ส่วนทะเบียนนิสิต สำนักทะเบียนและวัดผล อาคาเรียนรวม ชั้น ๓ โซนซี
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๘-๐๐๐ ต่อ ๘๔๒๑,๘๔๒๔
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ