ข่าวประชาสัมพันธ์
มจร.จับมือเวียดนามจัดสัมมนา “หลักศาสนาสานสัมพันธ์ประเทศอาเซียน” : พุทธศาสนาเชื่อมชาติลุ่มน้ำโขง
10 เม.ย. 58 | ข่าวมหาวิทยาลัย
254
ข่าวมหาวิทยาลัย
มจร.จับมือเวียดนามจัดสัมมนา หลักศาสนาสานสัมพันธ์ประเทศอาเซียน : พุทธศาสนาเชื่อมชาติลุ่มน้ำโขง
วันที่ ๑๐/๐๔/๒๐๑๕ เข้าชม : ๒๖๘๔ ครั้ง

พระพุทธศาสนาเชื่อมสัมพันธ์ประเทศลุ่มน้ำโขง   เป้าหมายสูงสุดของ โครงการประชุมสัมมนานานาชาติลุ่มน้ำโขง ของ สถาบันภาษา และ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.)   ด้วยมองว่า 5 ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม มีพรมแดนติดกัน ประชากรส่วนใหญ่ล้วนนับถือพระพุทธศาสนา ทั้งยังมีวิถีชีวิต วัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน

โครงการดังกล่าวจึงเกิดขึ้น และมีการเดินสายจัดสัมมนาเชื่อมสัมพันธ์กับทั้ง 5 ประเทศ โดยหวังใช้พระพุทธศาสนาเป็นตัวสร้างความเป็นปึกแผ่นของทั้ง 5 ชาติ ขณะเดียวกันก็จะมีการเดินทางไปศึกษาศาสนา วัฒนธรรม ของอีก 5 ประเทศที่เหลือในกลุ่มอาเซียน คือ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน และฟิลิปปินส์ด้วย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ช่วงปลายปี 2558

 

 

                                                    

 

 

ที่ผ่านมาได้มีการเดินทางไปจัดสัมมนานานาชาติ และศึกษาศาสนา วัฒนธรรม ยังประเทศลาว กัมพูชา สิงคโปร์ และพม่า มาแล้ว

และล่าสุด สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม คือ ประเทศที่ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ มีการจัดสัมมนาตามโครงการดังกล่าว ที่ มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาเวียดนาม เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม

“ทีมข่าวศาสนา” ได้มีโอกาสติดตามคณะของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ไปร่วมสังเกตการณ์การสัมมนาในครั้งนี้ ซึ่งมีการเชิญพระสงฆ์ นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา จากไทย พม่า เวียดนาม ลาว และกัมพูชา เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น ทั้งยังได้รับเกียรติจาก น.ส.พรรณพิมล สุวรรณพงษ์ กงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ร่วมแสดงทัศนะเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างประเทศลุ่มแม่น้ำโขงด้วย

บทสรุปของทั้ง พระสงฆ์และนักวิชาการ จากทั้ง 5 ชาติ บนเวทีสัมมนา คือ ต่างเห็นตรงกันว่า พระพุทธศาสนาในประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขงมีการประยุกต์ใช้ร่วมกับชีวิตประจำวันมาตั้งแต่อดีตไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรม การศึกษา สังคม รวมถึงการที่พระสงฆ์ให้ความช่วยเหลือประชาชนจากภัยพิบัติต่างๆด้วย ทั้งนี้ยังเชื่อว่า แม้จะมีความแตกต่างทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมแต่ถือว่าประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นลูกพระพุทธเจ้าเหมือนกัน

 

 

                                                        

 

 

น.ส.พรรณพิมล สุวรรณพงษ์ กงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ระบุว่า พระพุทธศาสนาจัดเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีของคนในภูมิภาคนี้ ซึ่งประเทศเวียดนามในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมามีการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้เกิดพระสงฆ์เวียดนามจำนวนมาก และยังได้เดินทางไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย โดยสถานกงสุลไทยนครโฮจิมินห์พร้อมที่จะให้ความร่วมมือระหว่างสองประเทศ เพื่อสานสัมพันธ์ในบริบทของพระพุทธศาสนาให้มากขึ้น

ขณะที่ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ในฐานะ ผอ.สถาบันภาษา และหัวหน้าโครงการปริญญาโท หลักสูตรสันติศึกษา ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะในการเดินทางไปจัดงานสัมมนานานาชาติ ที่เวียดนามในครั้งนี้ บอกว่า เรื่องของพระพุทธศาสนาถือว่ามีความสำคัญต่อการเข้าสู่ระชาคมอาเซียนช่วงปลายปี 2558 นี้ จะเห็นได้จากการที่ศาสนาถูกจัดอยู่ในเสาหลักเรื่องประชาคมทางสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนด้วย ขณะเดียวกันประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงจะนับถือศาสนาพุทธ อีกทั้งยังมีพรมแดนเชื่อมติดกันจึงมีวิถีชีวิตด้านภาษาคล้ายกัน การจัดเสวนาครั้งนี้จึงเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พร้อมส่งเสริมให้กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง คือ ไทย ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม มีความเป็นปึกแผ่นและสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองต่อไป

การจัดการสัมมนานานาชาติครั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ยังได้นำนักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรสันติศึกษา รุ่นที่ 2 ไปศึกษาดูงานด้วย ซึ่ง พระมหาหรรษา ให้เหตุผลว่า ต้องการนำนักศึกษาไปชมพิพิธภัณฑ์สงครามเวียดนาม และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเวียดนาม เพื่อให้นักศึกษาได้มาเห็นถึงสาเหตุแห่งความขัดแย้ง และเพื่อให้ศึกษาว่าพระพุทธศาสนาได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอย่างไร ซึ่งจะเห็นได้ว่าในประเทศอย่างเวียดนาม กัมพูชา แม้จะเคยเกิดสงครามในประเทศ แต่พระพุทธศาสนาก็ยังคงอยู่ การที่ได้ศึกษาถึงเหตุแห่งความขัดแย้ง จะทำให้นักศึกษารู้วิธีแก้ปัญหาแห่งความขัดแย้งได้ นอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดรับสมัครนักศึกษา หลักสูตรสันติศึกษา รุ่นที่ 3 ที่เปิดรับสมัครถึงวันที่ 15 พ.ค.นี้ ทั้งยังเตรียมที่จะเปิดหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาเอก ในช่วงปลายปี 2558 ด้วย

 

 

 

 

สิ่งที่ “ทีมข่าวศาสนา” สังเกตเห็นจากเวทีการสัมมนาครั้งนี้ คือ แม้ว่าทั้ง 5 ชาติในลุ่มแม่น้ำโขงจะมีเชื้อชาติ ภาษา และวิถีในการดำเนินชีวิตที่ต่างกัน แต่การที่นับถือ “พระพุทธศาสนา” เหมือนกัน ส่งผลให้มีประเพณี วัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน

และนั่นทำให้ความต่างกันทางด้านเชื้อชาติ สามารถประสานเข้าหากันได้อย่างง่ายดาย โดยมีพระพุทธศาสนาเป็นจุดเชื่อม

ที่สำคัญแต่ละชาติยังพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือกัน ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรทางด้านพระพุทธศาสนาด้วยกัน

เพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ การเสริมสร้างความมั่นคงให้พระพุทธศาสนาคงอยู่ตลอดไป...

ทีมข่าวศาสนาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

 

ลิงค์ http://www.thairath.co.th/content/491440

สนใจศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาขาสันติศึกษา
www.ps.mcu.ac.th
๐๘๑ ๔๕๗ ๖๒๒๖

 


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มจร ถวายการปฏิสันถาร และฟังพระธรรมเทศนาพิเศษ H.E.Vairochana Rinpoche และคณะ
    21 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    149
  • ทำบุญปีใหม่ มจร 2568 จับฉลากล ลุ้นรางวัล
    15 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    105
  • พิธีถวายพระพรชัยมงคลและเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่ากับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี พุทธศักราช ๒๕๖๘
    15 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    140
  • "อ.เบียร์ คนตื่นธรรม" ข้ากราบสักการะ "พระเทพวัชรสารบัณฑิต" ปมเปรียบพระเกจิกับสุนัข
    11 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    174
  • พิธีอัญเชิญปัจจัยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม โดย นายกิติภัค เกษรสิริธร ผู้แทนพระองค์
    08 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    163