ข่าวประชาสัมพันธ์
สรุป งานวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ ๑๒
02 มิ.ย. 58 | ข่าวมหาวิทยาลัย
788
ข่าวมหาวิทยาลัย
สรุป งานวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ ๑๒
วันที่ ๐๒/๐๖/๒๐๑๕ เข้าชม : ๒๑๖๗ ครั้ง

            วิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ ๑๒ ประจำปี ๒๕๕๘ ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง ๒๘ - ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เริ่มต้นขึ้นในวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘  ภาคเช้า สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กล่าวสัมโมทนียกถาว่า "องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้นมาเพื่อนประโยชน์สุขของชาวโลกอย่างแท้จริง คำว่ามนุษยธรรม หมายถึง ทำตนให้เป็นมนุษย์ คือต้องมีศีลธรรม โดยเฉพาะศีล๕ เปรียบเหมือนประมุขของธรรมทั้งปวง เป็นจริยธรรมพื้นฐานที่สังคมมนุษย์ต้องปฏิบัติในการสร้างสันติสุุขให้มวลมนุษยชาติ ถ้าเรารักษาศีล๕ได้อย่างนี้ ก็คือหลักประกันชีวิต ครอบครัว สังคม สุขภาพ และศีลธรรมเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของความดีงามไม่เดือดร้อน ทำให้เกิดความอิ่มใจ สงบใจ ท้ายที่สุดทำให้ใจเป็นสมาธิ เป็นรากฐานของปัญญา "



               
               ต่อด้วยพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดี มจร. ประธานกรรมการดำเนินการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ กล่าวต้อนรับประมุขสงฆ์และผู้นำจาก ๘๕ ประเทศทั่วโลก จากนั้นมีการปาฐกถา เรื่อง " พระพุทธศาสนา กับวิกฤติของโลก " (Buddhism and World Crisis) โดย Prof. Dr. Damien Keown. UK ณ หอประชุม มวก. ๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา


        
             ภาคบ่ายของวัน พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดการประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในงานวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ภายใต้หัวข้อ"พระพุทธศาสนากับวิกฤติโลก" โดยมีพระสังฆราชสังคนายก และผู้นำชาวพุทธจาก ๘๕ ทั่วโลกเข้าร่วมประชุม จากนั้นศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการจัดงานฯ กราบทูลถวายรายงาน ซึ่งปีนี้มีประมุขสงฆ์ นักปราชญ์ คนสำคัญทางพระพุทธศาสนาจาก ๘๕ ประเทศทั่วโลก เข้าร่วมประชุม เพื่อเฉลิมฉลองวิสาขบูชานานาชาติ ประจำปี ๒๕๕๘

         การนี้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มีพระดำรัสตอนหนึ่งว่า "วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของชาวพุทธและองค์การสหประชาชาติก็ได้ประกาศ ยกย่องให้เป็นวันสำคัญสากลของโลกเนื่องด้วยตรงกับวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน เหตุนี้พุทธศาสนิกชนจากประเทศต่างๆ จึงได้มาประชุมพร้อมกันในโอกาสอันสำคัญนี้เพื่อส่งเสริมและเผยแผ่พระพุทธ ศาสนาให้มั่นคง ซึ่งจะทำให้ชาวโลกผาสุขร่มเย็นโดยถ้วนหน้า"
 




                

  ในวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ มีการประชุมกลุ่มย่อย สาระสำคัญของแต่ละกลุ่มมีดังนี้
กลุ่มที่ ๑ พุทธวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม วิกฤติทางสังคม คือความขัดแย้ง เป็นที่น่าสังเกตว่าความขัดแย้งไม่ว่าจะเป็นระดับโลก หรือภายในประเทศ มักเริ่มจากจุดเล็กๆ เหมือนเชื้อโรคร้าย ที่เมื่อ ลุกลามอาจกลายเป็นเนื้อร้ายที่เป็นอันตรายถึงชีวิต  ชาวพุทธจึงต้องร่วมใจป้องกัน ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมเสนอให้เริ่มที่ “บวร” คือ บ้าน วัด ราชการ  ที่จะต้องร่วมมือกัน มองสิ่งที่เกิดขึ้นตามหลักปฏิจจสมุปบาท ทุกเหตุการณ์เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ไม่ได้เกิดขึ้นเอง

กลุ่มที่ ๒ พุทธวิธีในการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม 
           ยกตัวอย่างประเทศศรีลังกา เมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว ผืนป่ายังมีความ สมบูรณ์มากกว่า ๘๐%  แต่เมื่อเวลาผ่านไปเพียง ๑๐ ปี ผืนป่าลดลงเหลือ ๑๑%  นับเป็นวิกฤติ ที่เกิดจากสังคมเมืองขยายตัว สิ่งเหล่านี้เป็นตัวการทำลายผืนป่าและสิ่งแวดล้อม จึงมีการเสนอวิธีเเก้ไข อาทิ การส่งเสริมให้ชุมชนตื่นตัว รับรู้ถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม  สร้างผู้นำเพื่อรณรงค์ ต่อต้านการทำลาย ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างชุมชนและรัฐ

กลุ่มที่ ๓ พุทธวิธีในการแก้วิกฤติทางการศึกษา 
            ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พระพุทธ ศาสนาเป็นเสียงข้างน้อย โดยมากเป็นกลุ่มประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม หรือคริสต์ ฉะนั้น เรื่องของการบริหารจิต และเจริญปัญญาของประชาชนใน ประเทศจึงไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควร จึงมุ่งมาที่ประเทศไทย  เพื่อขอความร่วมมือจากทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยา (มจร) ในการจัดตั้งวิทยาลัยหรือโรงเรียนพุทธศาสนาในประเทศเหล่านั้น

กลุ่มที่ ๔ พระพุทธศาสนากับอาเซียน
           อัตลักษณ์ของอาเซียน คือ รากฐานของพุทธศาสนา พุทธศาสนา ในอาเซียน แม้จะมีความแตกต่างในนิกาย คือมีทั้งเถรวาท และมหายาน แต่ทั้งสองฝ่ายต่างก็เน้นเรื่องของปัญญาและกรุณาเหมือนกัน  ความร่วมมือระหว่างพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องสำคัญ  และสิ่งแรกที่กลุ่มประเทศอาเซียน ควรทำ คือ การตอบแทนสิ่งที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมไว้ อย่าให้ถูกทำลาย

           นอกจากการประชุมใน ๔  กลุ่มหลักดังกล่าวยังมีการประชุมกลุ่มย่อย อีก ๒ กลุ่ม  ได้แก่  กลุ่มที่ ๕ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ พระไตรปิฎกสากล และ กลุ่มที่ ๖ นิติศาสตร์เชิงพุทธ ซึ่งผู้นำชาวพุทธจากประเทศภูฏานมีความเห็นว่า กฎหมายที่บังคับใช้ ถ้าไม่มีรากฐานจากธรรมะ กฎหมายนั้นก็ไม่มีความเป็นธรรม กฎหมายที่เข้มแข็ง จึงเป็นกฎหมายที่เป็นธรรม แต่ฝ่ายบ้านเมืองมักไม่นำมาเป็นหลักในการดูแลบ้านเมือง  ฉะนั้น จึงมีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะเสนอร่างรัฐธรรมนูญแบบพุทธ  เพื่อทำนิติศาสตร์เชิงพุทธ











          
          

            ประชุมผุ้นำพุทธวันสุดท้ายเคลื่อนทัพถกต่อที่ UN มจร สรุปผลดำเนินการจัดประชุมสาขบูชานานาชาติ ครั้งที่ ๑๒ เรื่อง พระพุทธศาสนากับวิกฤติของโลก ตลอดระยะเวลา ๒ วัน ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผ่านมาเป็นไปอย่างราบรื่น

            ในวันที่ ๓๐ พ.ค.๒๕๕๘ .ในช่วงเช้า ๐๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น. ที่ห้องประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพ มีการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง " พระราชกรณียกิจในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" โดยนายศุภชัย เจียรวนนท์ และต่อด้วยพระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) กล่าวในการประชุมวิสาขบูชานานาชาติครั้งที่๑๒เรื่อง "พระพุทธศาสนากับวิกฤติของโลก" และได้กล่าวถึงปฏิญญากรุงเทพฯ ๒๕๕๘ ๑๐ ข้อ >>>> (
ปฏิญญากรุงเทพฯ ๒๕๕๘/๒๐๑๕ )










            เวลา ๑๕.๒๕ น. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กล่าวปิดประชุมและผู้นำชาวพุทธทุกท่านได้เดินทางไปประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเวียนเทียน ณ ลานหน้าองค์พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมนฑลสุทรรศน์ ณ พุทธมลฑล จังหวัดนครปฐม









------------------------------------------
( กองสื่อสารองค์กร มจร รายงาน )

         


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มจร ถวายการปฏิสันถาร และฟังพระธรรมเทศนาพิเศษ H.E.Vairochana Rinpoche และคณะ
    21 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    134
  • ทำบุญปีใหม่ มจร 2568 จับฉลากล ลุ้นรางวัล
    15 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    102
  • พิธีถวายพระพรชัยมงคลและเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่ากับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี พุทธศักราช ๒๕๖๘
    15 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    130
  • "อ.เบียร์ คนตื่นธรรม" ข้ากราบสักการะ "พระเทพวัชรสารบัณฑิต" ปมเปรียบพระเกจิกับสุนัข
    11 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    171
  • พิธีอัญเชิญปัจจัยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม โดย นายกิติภัค เกษรสิริธร ผู้แทนพระองค์
    08 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    163