ข่าวมหาวิทยาลัย |
อธิการบดี มจรแนะแนวปฏิรูปกิจการพุทธ (เพิ่มไฟล์บันทึกการบรรยาย) | ||
วันที่ ๐๒/๐๘/๒๐๑๗ | เข้าชม : ๑๐๘๘๒ ครั้ง | |
พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้บรรยายพิเศษเรื่อง "การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา" ในการประชุมพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด ระหว่างวันที่ 17-18 มิ.ย. ๕๘ ตามที่มหาเถรสมาคมร่วมกับ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจัด
‘อธิการบดีมจร’แนะแนวปฏิรูปกิจการพุทธ‘อธิการบดีมจร’แนะแนวปฏิรูปกิจการพุทธ ในการประชุมเจ้าคณะภาคและเจ้าคณะจังหวัดวันที่ 18 มิ.ย.2558 ที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้บรรยายพิเศษเรื่อง "การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา" ในการประชุมพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด ระหว่างวันที่ 17-18 มิ.ย. ๕๘ ตามที่มหาเถรสมาคมร่วมกับ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจัด พระพรหมบัณฑิต กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นคณะทำงานติดตามแนวทางการปฏิรูปพระพุทธศาสนาของสภาปฏิรูปแห่ง ชาติ(สปช.) ที่มส.ตั้งขึ้น แนวทางการปฏิรูปพระพุทธศาสนาที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(ครม.)เสนอ ให้พศ. นำไปศึกษานั้น ยังไม่ได้เข้าเป็นวาระที่ประชุมมส.และยังอยู่ในช่วงที่ต้องระดมความคิดเห็น จากทุกภาคส่วน แต่เพื่อไม่ให้เกิดภาวะฝุ่นตลบที่นำไปสู่การถกเถียงที่ไม่จำเป็น ขอสรุปรายงานต่างๆ เกี่ยวกับแนวทางปฏิรูปพระพุทธศาสนา ที่สืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พศ.2557 มาตรา 27 ที่ให้สปช.มีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะแนวทาง เพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่างๆ โดยสปช.ไม่ได้มีหน้าที่ผ่านร่างกฎหมายแต่อย่างใด แต่ภารกิจหลักของสปช. คือ ช่วยกันดูร่างที่รัฐธรรมนูญที่กำลังยกร่างหรือเป็นผู้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ นั่นเอง
ส่วนเรื่องที่สปช.ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อมาศึกษาแนวทางในการปฏิรูปพระพุทธ ศาสนา คณะทำงานชุดดังกล่าวได้มีข้อเสนอให้เก็บภาษีพระและวัด รวมถึงการหมุนเวียนเจ้าอาวาสทุก 5 ปี ซึ่งในระหว่างการระดมความคิดเห็นจากประชาชน เพื่อนำมาแก้ไขร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พศ. 2505 นั้น ทางมส.ได้ตั้งคณะทำงาน 5 รูปเพื่อคอยติดตามเรื่องนี้เช่นกัน โดยหนึ่งในคณะทำงานมีอาตมาด้วย
ทั้งนี้ในระหว่างที่คณะกรรมการปฏิรูปพระศาสนาได้ศึกษาและระดมความคิดอยู่ นั้น ได้มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จนทำให้คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้จบตัวเองลง โดยใช้เวลาศึกษาแนวทางปฏิรูปพระพุทธศาสนาเพียง 20 วัน จากนั้นนายเทียนฉาย กีระนันท์ ประธานสปช.ได้เห็นชอบ และส่งรายงานข้อเสนอชุดนี้เข้าครม. ทางสำนักงานเลขาธิการครม.จึงได้ส่งแนวทางข้อเสนอแนะของสปช.ให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง นำไปศึกษาความเป็นได้ ภายใน 30
เมื่อพศ.ได้รับหนังสือรายงานของสปช. จึงรีบระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงยุติธรรม เป็นต้น เพื่อหารือเรื่อง รายงานผลการพิจารณาการศึกษาการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการ พระพุทธศาสนา จนตกเป็นผลึก แนวทางในการปฏิรูปศาสนาที่สอดคล้องกับภารกิจหลักของคณะสงฆ์ 6 ด้าน คือ การปกครอง การเผยแผ่ การศาสนศึกษา การสาธารณูปการ การสาธารณสงเคราะห์ และการศึกษาสงเคราะห์ ซึ่งทั้ง 9 หน่วยงานต่างเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวและได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะทำงาน 3 รูป ที่มส.ตั้งขึ้นด้วย โดยล่าลุด นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เปรยว่าเห็นชอบกับแนวทางปฏิรูปพระพุทธศาสนา ฉบับของพศ.ด้วย
พระพรหมบัณฑิต กล่าวต่อไปว่า ความสับสนที่เกิดขึ้นในการปฏิรูปพระพุทธศาสนา เกิดจากความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ซึ่งก่อนหน้านี้หลายคนสับสนคิดว่าการปฏิรูปพระพุทธศาสนา เป็นการปฏิวัติ ดังนั้นต้องทำความเข้าใจว่า คำว่าปฏิรูปเป็นการหารือกันเพื่อให้เกิดความก้าวหน้า และสิ่งสำคัญในการปฏิรูปพระพุทธศาสนา ต้องยึดหลักของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ที่ท่านบัญญัติไว้เมื่อ 100 ปีก่อนว่า หากจะปฏิรูปพระพุทธศาสนามีกฎหมายอันพึงอยู่ 3 ประเภท คือ 1.กฎหมายแผ่นดิน 2.พระวินัย และ3.จารีต หากมี 3 สิ่งนี้พ้องต้องกันถึงจะปฏิรูปพระพุทธศาสนาได้
ส่วนเรื่องที่เป็นข้อกังวลของคณะสงฆ์เรื่องเก็บภาษีพระและวัดรวมถึงเรื่อง หมุนเวียนเจ้าอาวาส 5 ปีนั้น ยืนยันว่าถึงแม้มีการเสนอต่อครม.ก็ไม่มีผลในทางปฏิบัติ เพราะไม่มีหน่วยงานใดเห็นด้วย จึงวอนทุกฝ่ายอย่าเอาเรื่องรายละเอียดย่อยมาเป็นข้อพิพาทย์กัน
"ส่วนเรื่องที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ออกมากล่าวว่าสถาบันการศึกษาสงฆ์เน้นเรียนทางโลกมากเกินไปนั้น ไม่มีมูลความจริง เพราะนักศึกษาที่เรียนใน มจร ต่างต้องเรียนแกนพระพุทธศาสนาไม่ต่ำกว่า 50 หน่วยกิต ในส่วนด้านความเหมาะสมนั้น ทาง มจร มีการแบ่งห้องเรียนไม่ให้พระเรียนร่วมกับฆราวาสในระดับปริญาตรี ส่วนปริญญาโทและเอกเรียนร่วมกันได้เนื่องจากมีวุฒิภาวะพอสมควร ในส่วนวิชาอื่นๆ ก็เป็นวิชาที่พระสงฆ์จำเป็นต้องเรียน เพื่อเอาไว้ใช้งานในคณะสงฆ์ เช่น วิชารัฐประศาสนศาสตร์ ที่มีความจำเป็นต้องมีความรู้ เพื่อดูแลจัดการทรัพย์สินภายในวัด ส่วนวิชาอื่นๆ ที่ไม่เหมาะกับสมณสารูปของพระก็จะไม่มีการจัดการเรียนการสอน" อธิการบดี มจร กล่าว
ด้านสมเด็จพระวันรัต(จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) แม่กองธรรมสนามหลวง รักษาการเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ได้กล่าวบรรยายหัวข้อ "การศาสนศึกษา"ภายในงานประชุมพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด และผู้เกี่ยวข้องประจำปี 2558 ว่า ในฐานะที่เป็นแม่กองธรรมสนามหลวง ขอกล่าวถึง 2 เรื่องหลักที่คณะสงฆ์ควรปรับปรุงแก้ไข คือ เรื่องการศึกษาของพระภิกษุสามเณร และเรื่องศรัทธาปสาทะของประชาชนที่มีต่อพระสงฆ์ เหตุที่ 2 เรื่องนี้มีความเกี่ยวเนื่องกันเพราะ เมื่อคราวที่ลงตรวจเยี่ยมสนามสอบธรรมศึกษาทั่วประเทศ 5 ปีก่อนได้เห็นความไม่เรียบร้อยเกิดขึ้นในสนามสอบ ซึ่งปัจจุบันรวมถึงสนามสอบนักธรรมบาลีด้วย สิ่งนี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำลายศรัทธาของประชาชน ที่มาอำนวยความสะดวกในการจัดสถานที่สอบ ยิ่งคนในสมัยนี้มองพระสงฆ์ในด้านลบเยอะ ยิ่งต้องรีบแก้ไข จึงอยากให้พระสังฆาธิการในระดับต่างๆ ลงพื้นที่ไปสำรวจสำนักเรียนในเขตปกครองว่าควรปรับปรุงอย่างไร ดังนั้นพระสังฆาธิการ ต้องดูแลให้ดีและยึดการเรียนการสอนนักธรรมบาลีแบบสมัยโบราณ ที่ไม่ให้พระเรียนร่วมกับฆราวาส เพราะการที่พระเรียนร่วมกับโยมก็เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมได้เช่นกัน
|
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ | ||