ข่าวมหาวิทยาลัย |
แผนปฏิรูปกิจการพุทธศาสนา มอบ 2 ม.สงฆ์ทำประชาพิจารณ์ ต้องเสร็จภายใน ธ.ค.นี้ | ||
วันที่ ๒๗/๐๗/๒๐๑๕ | เข้าชม : ๑๔๔๗ ครั้ง | |
พศ.ประชาพิจารณ์แผนปฎิรูปพุทธ สุวพันธุ์ เดินสาย4ภาคก่อนสรุปชง.มส เมือวันที่ ๒๖ รกฎาคม นายชยพล พงษ์สีดา รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ) เปิดเผยว่า หลังคณะรัฐมนตรี (ครม) มีมตืเห็นชอบแผนปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ขณะนี้ พศ.อยู่ระหว่างการจัดทำกรอบการประชาพิจารณ์ว่าจะประชาพิจารณ์หัวข้อใดบ้าง และประชาพิจารณ์ช่วงไหน โดยมหาวิทยาลัยสงฆ์ ๒ แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และ มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย (มมร.) จะเป็นผู้ดำเนินการประชาพารณ์ ส่วน พศ. จัดทำกรอบการดำเนินงาน และสนับสนุนงบประมาณคาดว่าน่าจะประชาพิจารณ์2ครั้ง คือ ช่วงก่อนสิ้นปีงบ ๒๕๕๘ เดือนสิงหาคม หรือเดือนกันยายนและอีกครั้งในเดือนธันวาคม ๒๕๕๘ เพื่อนำไปปฎิบัติในปี ๒๕๕๙ กรอบหรือหัวข้อประชาพิจารณ์ จะเป็นไปตามภารกิจ ๖ ด้าน ซึ่งเกิดจากการนำข้อเสนอของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ สภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) องค์กรชวพุทธ เป็นต้น มาจัดกลุ่มภารกิจ โดยทั้ง ๘ ภารกิจ ได้แก่ การปกครอง การศาสนศึกษา การเผยแพร่ การสาธารณสงเคราะห์ โดยจะรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ ตัวแทน สปช. ตัวแทนสภาภิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) องค์กรชาวพระพุทธศาสนาประชาชน คณะสงฆ์ ราชการ เป็นต้น วาสควรจะปฎิรูปอะไรบ้างในแต่ละด้าน นอกจากนี้ นาย สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ฐานะกำกับดูแลสำนักงาน พศ.จะลงพื้นที่ ๔ ภูมิภาค เพื่อรับฟังประชาพิจารณ์ด้วย ทั้งนี้ หลังจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่งสรุปผลประชาพิจารณ์แล้ว พศ. จพนำเสนอที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) จากนั้น นำไปปฎิบัติได้ทันทีโดยไม่ต้องนำเสนอ ครม.อีก นายชยพลกล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนา หรือ โรดแมป ๓ ระยะที่ผ่านมา ครม.มีดังนี้ ระยะที่ ๑ เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๘ ประกอบด้วย ๑.การรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในภารกิจ ๖ ด้าน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระยะที่ ๒ เดือน มกราคม-ธันวาคม ๒๕๕๙ สรุปการระดมความเห็นจากทุกภาคส่วน ดำเนินการตามภารกิจคณะสงฆ์ทั้ง ๖ ด้าน ขับเคลื่อนสิ่งที่ยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้น และระยะที่ ๓ เดือนมกราคม ๒๕๕๖ – ธันวาคม ๒๕๖๓ จะสรุปประเมินผลการดำเนินการตามระยะที่ 2 พัฒนาปรับปรุงรูปแบบในส่วนที่ยังไม่เสร็จตามแผน และเพิ่มเติมในส่วนอื่นที่มีความจำเป็นที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง
|
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ | ||